Blog นี้สร้างมาเพื่อ เป็นสื่อกลางให้ผู้สนใจในการปฏิบัติ ได้มาศึษาหาความรู้ และ แนะนำสถานที่ปฏิบัติให้แก่ผู้สนใจ และ ช่วยนักปฏิบัติผู้กำลังหลงทาง ให้เจอทางออก และ เข้าถึงซึ่งความเป็นจริงของสภาวะ

14 มกราคม 2565

หลวงปู่นพ อินฑโชโต

พระสุปฏิปันโน สังขารไม่เน่าเปื่อย



หลวงปู่นพ อินทโชโต (ภูวุฑฒิ)

วัดมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพ




ชาตะ พ.ศ.๒๔๓๐ เป็นพระสงฆ์ที่ดำรงตนอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างงดงามน่าเลื่อมใสและท่านได้มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ สิริรวมอายุได้ ๗๓ ปี




ซึ่งหลังจากท่านมรณภาพได้แล้วถึง ๒๙ ปี ก็ได้มีการเปิดศพของท่านขึ้นมา และปรากฏว่าสรีระสังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย ดังนั้นทางวัดจึงเก็บสรีระท่านไว้บรรจุในโลงแก้ว ให้คนได้สักการบูชา






วัดมหาพฤฒารามเป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของคลองผดุงกรุงเกษม แต่เดิมในช่วงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น




ศาลาเก็บสรีระสังขารหลวงปู่นพ

วัดนี้แต่เดิมชื่อว่า "วัดท่าเกวียน" เนื่องจากเคยเป็นที่พักแรมของกองเกวียน ที่เดินทางเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ แต่ต่อมาชาวบ้านก็พากันเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดตะเคียน" สันนิษฐานว่า เรียกชื่อวัดตามต้นตะเคียนที่ขึ้นหนาแน่นอยู่รอบบริเวณวัดที่มีอาณาบริเวณถึง 14 ไร่


ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เคยอยู่ในเพศบรรพชิตได้เสด็จมาพระราชทานผ้าป่าที่วัดนี้ ในคราวนั้น พระอธิการแก้วเจ้าอาวาสได้ทูลถวายพยากรณ์ว่า "จะได้เป็นเจ้าชีวิตในเร็วๆนี้" พระองค์จึงมีรับสั่งว่า "ถ้าได้ครองแผ่นดินจริงจะมาสร้างวัดให้อยู่ใหม่"

หลังจากนั้นหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่ ในเวลาต่อมาจึงโปรดให้พระราชทานสมณะศักดิ์ พระอธิการแก้วเป็น "พระมหาพฤฒาจารย์"

และโปรดให้สร้างพระอารามใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2397 จนถึง พ.ศ. 2409 โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองในการสถาปนา ต่อมาเมื่อทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงโปรดฯ ให้สถาปนาขึ้นในพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า "วัดมหาพฤฒาราม"

พระพุทธไสยาสน์





เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน)ของวัดพระมหาพฤฒารามใหญ่โตมากทีเดียว

ในหมู่พระปางไสยาสน์ด้วยกัน จะเป็นรองก็แค่พระพุทธไสยาสน์ที่วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)เท่านั้น


สำหรับพระพุทธไสยาสน์นี้ มีมาแต่ครั้งยังเป็น วัดท่าเกวียน และ วัดตะเคียน แต่เดิมนั้น พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ไม่ได้ใหญ่ยาวดังในปัจจุบัน แต่เนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปให้ใหญ่ขึ้น เป็นขนาดความยาวจากพระบาทถึงพระเกตุมาลา 19.25 เมตร และ พระอุระกว้าง 3.25 เมตร พระนาภีกว้าง 2 เมตร





จากนั้นจึงทรงโปรดฯ ให้สร้างพระวิหารไว้เป็นที่สถิตย์ของ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ท่านจึงมีลักษณะใหญ่โตดังที่เห็น พระพุทธไสยาสน์องค์นี้เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านทั่วไป โดยเฉพาะ ผู้ที่เกิดวัน อังคารเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปบูชาสำหรับผู้ที่เกิดวันอังคาร
พระอุโบสถ





พระวิหาร เดิมที วัดนี้มีการสร้างแต่พระอุโบสถ แต่รัชกาลที่ ๓ นั้นทรงให้เจ้าหน้าที่กรมการเมืองของเมืองเหนือ เสาะหาพระพุทธรูปที่งดงามมาประดิษฐานยังวัดมหรรณพาราม แล้วก็ได้พบ หลวงพ่อพระร่วงทองคำ ที่ประดิษฐานยังวัดโคกสิงคาราม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย




แต่เนื่องจากหลวงพ่อพระร่วงทองคำนั้นเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ การอัญเชิญในสมัยนั้นลำบาก จึงมีการสร้างพระประธาน เพื่อเป็นพระประธานในพระอุโบสถไปก่อน เพื่อให้ทันพิธีสมโภชวัด เมื่อหลวงพ่อพระร่วงมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว จึงมีการสร้างพระวิหารให้ภายหลัง


หลวงพ่อพระร่วงทองคำ เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีเนื้อทองคำผสมอยู่ถึง ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ที่วัดไตรมิตร มีเนื้อทองคำผสม ๗๕ เปอร์เซ็นต์



ระหว่างพระอุโบสถ และพระวิหาร ประดิษฐานพระปรางค์ใหญ่สี่องค์ ที่สร้่างขึ้นเพื่ออุทิศถวายพระพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้ทั้งสี่พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้ว คือ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ พระพุทธเจ้ากัสสปะ และพระพุืทธเจ้าโคตมะ (พระพุทธเจ้าของเรา)

วัดมหาพฤฒาราม วรวิหาร ตั้งอยู่ 5/7 ถ.มหาพฤฒาราม แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ : 0-2236-5678 0-2266-2844 รถประจำทางสายที่ผ่านได้แก่สาย 1,16,35,36,75, 93 รถปรับอากาศสาย 93 สามารถโดยสารทางเรือด่วนเจ้าพระยามาลงที่ ท่ากรมเจ้าท่า ท่าสี่พระยา หรือเรือข้ามฝาก ท่าสี่พระยาได้ การเข้าชมวัดมหาพฤฒารามไม่เสียค่าเข้าชม โดยโบสถ์ของวัดเปิดให้เข้าชมเวลา 8.00-18.00น.

________________________________________________________________


4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ19.1.65

    สาธุๆๆๆ..กราบพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ28.3.65

    กราบพระสุปฏิปันโน
    และอนุโมทนาบุญกับผู้จัดทำ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ28.3.65

    ขอบคุณที่แชร์ เรื่องดี ๆ ครับ แต่มองว่าขาดในเรื่องประวัติความดีของท่าน ถ้าหาได้จะเพิ่มความน่าสนใจครับ

    ตอบลบ
  4. มีประวัติที่พอหาได้เพียงเท่านี้คร้าบ หาแล้วมีเพียงเท่านี้ เนื่องด้วยท่านละสังขารไปตั้งแต่ พ.ศ.2503 ในยุคนั้นการบันทึกข้อมุลประวัติ ไม่ค่อยจะมีให้ได้สืบหาสืบค้นคร้าบ

    ถ้ามีเพิ่มเติมจะนำมาให้ได้รับทราบ และอนุโมทนาความดี และคุณธรรมของท่านพระผู้ปฏิบัติคร้าบ

    ตอบลบ

บทความที่ได้รับความนิยม