หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์
คง ธมฺมโชโต
วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต ท่านเกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2407 ณ ตำบลบางสำโรง อำเภอบางคณฑี จังหวัดสุมทรสงคราม โยมบิดาชื่อ เกตุ โยมมารดาชื่อ นางทองอยู่ นามสกุลเดิม คือ จันทร์ประเสริฐ เล่ากันว่าท่านเกิดในเรือนแพ ซึ่งเรือนหลังนี้มีอาถรรพ์ คือถ้าใครถือกำเนิดในห้องเล็กที่ใต้เรือน จะต้องเป็นผู้ชาย และครองเพศเป็นพระตลอดชีวิต ซึ่งหลวงพ่อทิม วัดเหมืองใหม่ก็เกิดในเรือนนี้เช่นเดียวกัน ก่อนหน้าหลวงพ่อทิมก็มีคนเกิดในเรือนหลังนี้ซึ่งดำรงอยู่ในสมณเพศตลอดชีวิตเช่นเดียวกัน
ต่อมาโยมบิดามารดาของหลวงพ่อคงได้ซื้อเรือนนี้มาอีกทอดหนึ่ง พออายุได้ 12 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เพื่อเล่าเรียนอักษรไทยและขอม ต่อมาเมื่อมีอายุได้ 19 ปี ท่านได้ลาสิกขาบทเพื่อไปช่วยบิดาและมารดาของท่านประกอบอาชีพ
ครั้นเมื่อมีอายุครบ 20 ปี โดยบริบูรณ์ ท่านได้อุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2427 โดยมีพระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจุ้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พร้อมพระในที่ประชุมสงฆ์ 25 รูป เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้รับฉายาทางธรรมว่า ธมฺมโชโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองในธรรม
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาคำภีร์มูลกัจจายซึ่งเป็นตำราเรียนบาลีไวยากรณ์ในสมัยโบราณ มีความลึกซึ้งมากเต็มไปด้วยสูตรสนธิต่าง ๆ หลวงพ่อคงท่านศึกษาพระคำภีร์นี้กับพระอาจารย์นกซึ่งเป็นอุบาสกในละแวกนั้นเป็นเวลา 13 ปี จนมีความคล่องแคล่วสามารถแปลธรรมบทตลอดจนคำภีร์ต่าง ๆได้
นอกจากนี้หลวงพ่อคงท่านยังสนใจการศึกษาพระเวทย์วิทยาคม โดยท่านได้ศึกษากับปรมจารย์ชื่อดัง เริ่มแรกท่านได้ศึกษาคำภีร์นี้กับพระอาจารย์ด้วง ซึ่งท่านเชี่ยวชาญการลบผงวิเศษ เป็นที่นับถือในสมัยนั้น ท่านได้เล่าเรียนกับหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง ในยุคนั้นไม่มีใครรู้จักหลวงพ่อตาด เพราะท่านเป็นพระเถระผู้ที่มีวิทยาคมอันแก่กล้าโดยเฉพาะวิชานะปัดตลอดของท่านนับว่าเป็นยอด ขนาดที่ว่าสามารถเป่าศีรษะทะลุถึงกระดานนั่งได้ วิชานี้ หลวงพ่อทองสุข ก็ได้ไปรำเรียนมา
หลวงพ่อคง ยังได้ไปศึกษากับหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือกผู้เชี่ยวชาญในพระกัมฐาน ท่านนั่งสมาธิยามมรณภาพ พระสมัยก่อนเวลาใครจะออกรุกขมูลต้องไปขอให้หลวงพ่อคุมให้
ในพรรษาที่ 19 ท่านอาพาธจึงได่หยุดพักผ่อนไปศึกษาเล่าเรียน แต่ท่านหันมาสอนสมถะกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากรรมฐานให้กับลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ หลวงพ่อคง ท่านยังเอาใจใส่การดูแลก่อสร้างเสนาสนะ เนื่องจากหลวงพพ่อมีฝีมือในเชิงช่าง ในเบื้องต้นของหลวงพ่อได้ซ่อมแซมหอไตรที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพที่ดีขึ้น พร้อมกับนั้น ท่านได้สร้างปั้นพระป่าเลไลย์ด้วยฝีมือของท่านเอง
ในพรรษาที่ 21 ชาวบ้านได้อาราธนาหลวงพ่อคง ให้ไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ซึ่งในขณะนั้นในวัดบางกะพ้อมไม่มีวัดปกครองและวัดก็อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม หลวงพ่อท่านตกลงรับคำอาราธนา
หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต ท่านได้อาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากว่า ท่านมีงานอยู่หลายอย่างต้องทำเพราะเป็นกิจของสงฆ์ ทั้งผลงานการสร้างพระพุทธรูป การสร้างวัตถุมงคล จึงทำให้ท่านไม่ได้มีเวลาพักผ่อนเลย จนภายหลังเป็นเจ้าอาวาสบริหารวัดรับภาระมากแล้ว
ในเดือน 4 ของทุก ๆ ปี ท่านจะไปปักกลดในป่าช้าข้างวัดเป็นเวลาราว 1 เดือน เรียกกันว่า “รุกขมูลข้างวัด” โดยถือว่าเป็นการชำระจิตใจให้สะอาดหลังจากมายุ่งกับเรื่องทางโลกเกือบทั้งปี
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 ขณะท่านนั่งร้านเพื่อตกแต่งพระขนงพระประธานองค์ใหม่ เมื่อท่านสวมพระเกตุพระประธานเสร็จ ท่านก็เกิดเป็นลม แต่ก็มีสติดี เอามือประสานในท่านั่งสมาธิจนหมดลมถึงแก่มรณภาพในอาการอันสงบสมกับเป็นผู้ฝึกจิตมาดีแล้ว ศิษย์เห็นท่านนั่งอยู่นานจึงประคองร่างลงมาจากร่างร้าน จึงรู้ว่าท่านมรณภาพแล้ว รวมอายุได้ 78 ปี 58 พรรษา
วัตถุมงคล
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ถือเป็นพระเกจิที่โด่งดังและทรงอภิญญาที่สุดอีกรูปของเมืองแม่กลอง วัตถุมงคลของท่านล้วนมีคุณวิเศษ ยากที่จะหาใดเสมอเหมือน นอกจากนี้เหรียญปั๊มรุ่นแรกของท่านยังถูกจัดอยู่ในชุดเหรียญเบญจภาคีอีกด้วย
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ท่านได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลต่างๆตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา โดยวัตถุมงคลที่ท่านสร้างมีทั้งเหรียญหล่อต่างๆ พระเนื้อดิน เนื้อผง ลูกอม เสื้อยันต์ และตะกรุด ซึ่งเป็นวิชาที่หลวงพ่อคง ร่ำเรียนมากจากพระอาจารย์ยุคเก่าของลุ่มน้ำแม่กลองทั้งสิ้น
เดิมมีแผ่นเงินหุ้มแต่ถูกขโมยไปเมื่อครั้งสงครามโดยรอยพระพุทธบาทที่ซ้อน เล็กและลึกที่สุดนั้นเป็นไม้ประดับมุกยังคงหลงเหลือลวดลายที่งดงาม วิหารหลวงพ่อดำ
พบร่องรอยของพระเจดีย์ ปัจจุบันอยู่ในสภาพชํารุดทรุดโทรมมากมีต้นไม้ปกคลุม แต่ยังคงสามารถมองเห็นรูปทรงได้ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ฐานด้านล่างเป็นฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ก่อด้วยไหเคลือบสีนํ้าตาล
พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ที่ วิหารหลวงพ่อพระนอน มีความยาว 9 เมตร สูงจากพื้นที่ไสยาสน์ 1 เมตร และพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดงจํานวนหนึ่ง วิหารขาว เป็นวิหารหลังเล็กๆ มีช่องทางเข้าออกทางเดียวคือประตูหน้า มีหน้าต่างพอให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย บริเวณด้านหลังพระวิหารมีเก๋งจีนก่ออิฐถือปูนทรง กลม จํานวน 2 หลัง พระวิหารแกลบ ตั้งอยู่ด้านข้างพระเจดีย์ ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพาไลยื่นออกมา 1 ห้อง มีเสาไม้กลมขนาดเล็กรองรับโครงหลังคา 2 ต้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายแดงลงรักปิดทอง ขนาดใหญ่ ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัยศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย – รัตนโกสินทร์ตอนต้น จํานวน 1 องค์ ด้านหน้าวิหารแกลบ มีระเบียงก่ออิฐถือปูน เตี้ย ๆ ด้านข้างวิหารแกลบพบพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปในวิหารแกลบอีก หนึ่งองค์ การเดินทาง วัดบางกะพ้อม ตั้งอยู่ที่ ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ห่างจากตัวจังหวัดสมุทรสงครามประมาณ 5 กิโลเมตร มีพื้นที่ 4 ไร่ 1 งาน 62 ตารางวา โทร.0-3475-1334
วัดบางกะพ้อมเป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2312 สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้างมีตำนานเล่าขานกันมาว่า มีตระกุลคหบดีมีฐานะดีตระกูลหนึ่ง ได้ลงเรือพาครอบครัวพร้อมทั้งทรัพย์สินหนีข้าศึก เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา รอมแรมถึงแหลมบางกะพ้อมแห่งนี้ เห็นเป็นที่เหมาะสมร่มรื่น จึงได้พักแรม สร้างที่อยู่อาศัยอยู่ โดยอาศัยการสานกระบุง ตระกร้า เสื่อลำแพน และกะพ้อมใส่ข้าว เป็นสินค้านำไปขายเพื่อเป็นค่ายังชีพ
ต่อมามีคนมาบอกว่ากองทัพข้าศึกยกมา กำลังทำการสู้รบกันอยู่ที่ค่ายบางกุ้งให้รีบหนี แต่คหบดีผู้นั้นเห็นว่าคงหลบหนีไม่ทัน จึงได้เข้าไปแอบอยู่ในกะพ้อมที่สานเอาไว้เพื่อจะขาย พร้อมกันนั้นได้ตั้งสัตยาธิษฐานต่อ พระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า "ขออย่าให้ทหารข้าศึกพบเลย หากรอดพ้นไปได้จะจัดการสร้างวัดและวิหารขึ้นตรงนี้" ซึ่งทหารข้าศึกก็ผ่านไปโดยมิได้พบเห็น
ต่อมาจึงได้จัดสร้างวิหารวัดบางกะพ้อมขึ้น ตามที่ตั้งสัตยธิษฐานไว้ โดยตั้งชื่อวัดว่า "วัดบังกับพ้อม" ต่อมาคงเพี้ยนไปบ้าง หรือเพื่อความเหมาะสมจึงชื่อ "วัดบางกะพ้อม" มาจนถึงปัจจุบัน
ครอบครัวของผู้สร้างวัดนี้ ร่วมด้วยพุทธศาสนิกชนในสมัยนั้นได้สร้างอุโบสถเรือนไม้ มีพระพุทธรูปศิลาแลง สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นพระประธาน และได้สร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐ์รอยพระพุทธบาท 4 รอย เดิมสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย
มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่ามีเชื้อพระวงศ์ในพระราชวงศ์จักรีทรงผนวช และจำพรรษา ณ วัดนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเถระผู้ใหญ่และเป็นเจ้าอาวาสวัด ท่านได้บูรณะภาพปูนปั้นฝาผนังนูนต่ำ อันเป็นภาพฝาผนังที่สร้างด้วยฝีมืออันประณีตงดงาม
หลักฐานทางโบราณคดี
พระวิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาท กล่าวกันว่าเจ้านายในราชวงศ์จักรีองค์หนึ่งมา
บวชจําพรรษาอยู่ที่วัดนี้แล้วสร้างขึ้น ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมีอิทธิพลของสถาปัตยกรรมจีนหลังคาทรงทึบมุงกระเบื้องเผา หน้าบันปูปั้นรูปบุคคลขนาดใหญ่แต่งกายคล้ายทหารฝรั่ง และลายพันธ์พฤกษาผนังวิหารก่ออิฐถือปูนทึบกว้างไม่มีเสา
ด้านหน้าและหลังมีประตูทางด้านหน้าและด้านหลังมีประตูทางเข้าด้านละ ประตู ซุ้มประตูปูนปั้นทาสีลักษณะคล้ายเก๋งจีน กรอบประตูเป็นรูปวงกลม ด้านข้างประตูทางด้านหน้ามีรูปตุ๊กตาทหารปูนปั้น ด้านหลังมีชิ้นส่วนของตุ๊กตาอับเฉาตัังอยู่ทั้งสองข้าง ผนังด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ ช่อง ซุ้มหน้าต่างตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นลายเทศ กรอบหน้าต่างเป็นรูปไข่
สำหรับภาพจิตกรรมฝาผนังปูนปั้นที่นี่มีทั้งเป็นภาพนูนสูง นูนต่ำ และภาพเขียนสีแซมในบางส่วน
ภายในวิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไม้ประดับมุก 4 รอยซ้อนกัน มีจารึกคําว่า”ขุนรองจ่า
เมืองและอุบาสิกาทรัพย์เข้าด้วย 1 ชั่ง บริเวณฝาผนังด้านในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านล่างจะมีซุ้มโค้ง
ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น แสดงปางต่างๆ อยู่โดยรอบ
ด้านบนมีภาพปูนปั้นนูนสูงทาสีปิดทองตกแต่ง โดยเป็นภาพเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ดังนี้
ด้านที่ 1 ภาพพระพุทธบาท 5 แห่งประดิษฐานอยู่สถานที่ต่าง ๆ คือ
ภูเขาสุวรรณมาลิก ภูเขาสุวรรณบรรพต ที่ภูเขาสุมนกูฏ ที่เมืองโยนกนคร และ และที่หาดทรายแม่นํ้านัมทานที
ด้านที่ 2 ภาพราตรีสุดท้ายก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ที่สาละโวทยาน มีพระพุทธบริษัทเข้ารับปัจฉิมโอวาท และภาพโปรดสุภัททปริพาชก ปัจฉิมสาวก
ด้านที 3 ภาพหีบพระบรมศพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหากัสปะพร้อมด้วยพระสงฆ์และพุทธบริษัทเข้าถวายพระเพลิง
ด้านที่ 4 ภาพพุทธประวัติรวมๆ หลายปาง เช่น ปางชักผ้าบังสกุล ฯลฯ
การกําหนดอายุสมัยของพระวิหาร จากรูปแบบของสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่3-4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
รอยพระพุทธบาท
เป็นรอยพระพุทธบาทจำลองขนาดใหญ่ซ้อนกันสี่รอยลดหลั่นกันไป สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรี
เดิมมีแผ่นเงินหุ้มแต่ถูกขโมยไปเมื่อครั้งสงครามโดยรอยพระพุทธบาทที่ซ้อน เล็กและลึกที่สุดนั้นเป็นไม้ประดับมุกยังคงหลงเหลือลวดลายที่งดงาม วิหารหลวงพ่อดำ
ศาลาเรือหลวงพ่อคง อยู่หลังวิหารหลวงพ่อคง เป็นส่วนหนึ่งของเรือที่หลวงพ่อคงใช้เดินทางในอดีต สมัยนั้นการเดินทางใช้เรือเป็นหลัก
วิหารพระนอน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระสังกัจจายน์ หลวงปู่ฤๅษีอุตตะโม อยู่ในหลังเดียวกัน
พระเจดีย์และพระพุทธไสยาสน์
พบร่องรอยของพระเจดีย์ ปัจจุบันอยู่ในสภาพชํารุดทรุดโทรมมากมีต้นไม้ปกคลุม แต่ยังคงสามารถมองเห็นรูปทรงได้ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ฐานด้านล่างเป็นฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ก่อด้วยไหเคลือบสีนํ้าตาล
พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ที่ วิหารหลวงพ่อพระนอน มีความยาว 9 เมตร สูงจากพื้นที่ไสยาสน์ 1 เมตร และพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดงจํานวนหนึ่ง วิหารขาว เป็นวิหารหลังเล็กๆ มีช่องทางเข้าออกทางเดียวคือประตูหน้า มีหน้าต่างพอให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย บริเวณด้านหลังพระวิหารมีเก๋งจีนก่ออิฐถือปูนทรง กลม จํานวน 2 หลัง พระวิหารแกลบ ตั้งอยู่ด้านข้างพระเจดีย์ ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพาไลยื่นออกมา 1 ห้อง มีเสาไม้กลมขนาดเล็กรองรับโครงหลังคา 2 ต้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายแดงลงรักปิดทอง ขนาดใหญ่ ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัยศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย – รัตนโกสินทร์ตอนต้น จํานวน 1 องค์ ด้านหน้าวิหารแกลบ มีระเบียงก่ออิฐถือปูน เตี้ย ๆ ด้านข้างวิหารแกลบพบพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปในวิหารแกลบอีก หนึ่งองค์ การเดินทาง วัดบางกะพ้อม ตั้งอยู่ที่ ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ห่างจากตัวจังหวัดสมุทรสงครามประมาณ 5 กิโลเมตร มีพื้นที่ 4 ไร่ 1 งาน 62 ตารางวา โทร.0-3475-1334
วิ่งจากถนนพระรามสอง (หมายเลข35) ไปตามทาง
จนถึงกิโลเมตรที่ 37 – 38 ขับไปตามทางหลวงหมายเลข 325 มุ่งหน้าไปอัมพวา(สมุทรสงคราม-บางแพ)
_________________________________________________________________
ได้ความรู้มากคะ
ตอบลบสาธุ🙏🙏🙏🙏🙏
ตอบลบขอชื่นชมผู้จัดทำค่ะ ที่ให้ข้อมูลอย่างละเอียดครบถ้วน ถ้ามีโอกาสก็จะเดินทางไปกราบและขอพรด้วยค่ะ
ตอบลบสาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ตอบลบขอบคุณที่ทำธรรมะดีๆ มาเผยแพร่นะคะ
ตอบลบสาธุๆๆๆคร้าบ
ตอบลบ