Blog นี้สร้างมาเพื่อ เป็นสื่อกลางให้ผู้สนใจในการปฏิบัติ ได้มาศึษาหาความรู้ และ แนะนำสถานที่ปฏิบัติให้แก่ผู้สนใจ และ ช่วยนักปฏิบัติผู้กำลังหลงทาง ให้เจอทางออก และ เข้าถึงซึ่งความเป็นจริงของสภาวะ

9 พฤศจิกายน 2564

๒๓. จิตมุ่งพระนิพพาน

 จิตมุ่งพระนิพพาน




     ทำไมจิตอาตมาตอนนี้ จึงมุ่งความพ้นทุกข์ ปรารถนาพระนิพพาน ก็เพราะได้บรรลุพระโสดาบันแล้ว จัดเป็นผู้ไม่ย้อนกลับ มีแต่จะสูงขึ้น ไป อาตมาจึงปรารถนาแต่ทางพระนิพพาน


พระนิพพานนี้ มนุษย์ชาวโลกพากันสงสัยยิ่งนักว่าเป็นอย่างไร?


สมัยหนึ่งมีความเชื่อถึงกับมีภาษิตขึ้นมาว่า “นิพพานํ ปรมํ สูญญํ นิพพานเป็นของสูญ ไม่เกิด ไม่ตาย” คนไม่เข้าใจก็มักกลัว ไม่คิด จะไปสู่ทางพระนิพพาน


ส่วนผู้ทำบุญให้ทานรักษาศีล ก็ตั้งความปรารถนาในสวรรค์สมบัติ เพียงเท่านั้น เพราะขึ้นชื่อว่าสวรรค์แล้ว ย่อมเป็นแดนบรมสุข สำหรับ ชาวโลกผู้ปรารถนาแต่ความสุข จึงไม่ปรารถนาพระนิพพาน เพราะไม่ อยากถึงความสูญเช่นนั้น ครั้นกาลเวลาผ่านมา ความเชื่อดังกล่าวนี้จึง หายไป และต่างก็ทราบความจริงว่า “นิพพานไม่สูญ”




     เป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน ที่มีเกราะเหล็ก คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ห่อหุ้มอยู่อย่างแน่นหนา ความทุกข์ไม่ ปรารถนา ต้องการแต่ความสุขเพียงประการเดียว แม้นิพพานก็มองเห็น ว่า ไม่ใช่ความสุขที่ตนปรารถนา หากเข้าสู่พระนิพพานแล้ว อะไรก็ สูญสิ้นหมด


อย่างไรก็ตาม ชีวิตมนุษย์ปุถุชน ไม่ใช่จะมีความสุขเพียงอย่างเดียว ความทุกข์ก็ย่อมมีอยู่ด้วยเป็นธรรมดา ไม่มีใครจะเลือกสุขเวทนา โดยไม่ มีทุกข์เวทนาปะปนอยู่ด้วยเลย จะสุขน้อยหรือสุขมาก จะทุกข์น้อยหรือ ทุกข์มาก ก็แล้วแต่ผลกรรมของตนเอง


แต่จะสุขหรือทุกข์อย่างไร ก็ยังเป็นวิสัยของชาวโลก ที่จะพ้นจาก พระไตรลักษณ์ คือ “อนิจจัง” ความไม่เที่ยง “ทุกขัง” ความทนได้ยาก และ “อนัตตา” คือ ความไม่มีตัวตน


เพียงอนิจจังอย่างเดียว ก็เปลี่ยนแปลงชีวิตมนุษย์อย่างตั้งตัวแทบไม่ ติด ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำของมนุษย์ และผลที่ตามมา


มนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ เกิดมา รวย เกิดมาจน เกิดมาสุขสำราญ เกิดมายากจนแสนเข็ญ บางทีตายจาก มนุษย์ไป ก็ยังเกิดเป็น สัตว์ เปรต อสุรกาย เทวดา มีความไม่ยั่งยืน แปรปรวนไปได้ทุกขณะ





     ในเรื่องเหล่านี้ เราจะต้องทำความเข้าใจเรื่องกรรมให้ดี เพราะความ รู้เรื่องกรรม เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง หรือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ถ้าเราไม่ รู้เรื่องกรรม เราก็จะไม่รู้ว่าพระนิพพานเป็นอย่างไร


แม้แต่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็จำเป็นต้องเอาเรื่องกรรมเป็น หลัก และทรงยืนยันว่า “กรรมเป็นสิ่งที่ทรงอำนาจใหญ่ยิ่ง ในการเกิด การตาย การได้ดี หรือการตกยากของมนุษย์เรา”


ในหมู่พุทธบริษัทส่วนมาก ต่างก็ยอมรับว่า แรงใดจะสู้แรงกรรม เป็นไม่มี ดูแต่องค์พระมหาโมคคัลลานะ แม้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ก็ ยังต้องรับผลกรรมที่สืบเนื่องกันมาในอดีตชาติ ขนาดมีฤทธิ์มาก ก็ยัง ต้องรับกรรม ให้พวกโจรทุบตีเอา แม้พระบรมศาสดาของเราท่านทั้ง หลาย ก็ยังต้องทรงรับสนองผลกรรมในบางกรณี




     สำหรับผู้มีความรู้ดีในเรื่องของกรรม ย่อมอดทนในเมื่อต้องเสวยผล ของกรรม ไม่ทำการโต้ตอบ ให้เกิดกิเลสสืบต่อไป ให้มันสิ้นกระแสไป เพียงเท่านั้น


ทั้งนี้ไม่เหมือนสามัญสัตว์ทั่วไป เมื่อได้เสวยผลของกรรมที่ตนทำ ไว้ แทนที่จะรู้สำนึก และยอมรับผลกรรมแต่โดยดี กลับรู้สึกไม่พอใจ แล้วทำกรรมใหม่เพิ่มเติมและโต้ตอบ ทำให้เป็นเวรสืบเนื่องไม่ขาดสาย ลงได้ อาจสืบต่อซ้ำซากกันไปตั้งกัปตั้งกัลป์ ร้อยชาติพันชาติ อย่างอีกา กับนกเค้าแมว หรืออย่างงูกับพังพอน พบกันก็ต้องตีกันกัดกัน ไม่รู้ว่า เป็นศัตรูคู่อาฆาตกันมาแต่ครั้งไหน


พระพุทธเจ้าทรงทราบชัด เรื่องกรรมสนองกรรมอย่างชัดเจน จึง ทรงสอนมิให้สืบต่อเวรกรรมต่อไป ให้อดทนและยอมรับผลกรรม เพื่อ ให้หมดสิ้นกันไป ทรงดำรัสเป็นใจความว่า


“ในกาลไหนๆ เวรในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย แต่จะระงับ ได้ด้วยการไม่จองเวรเท่านั้น”




     กรรมนั้นมีอยู่สองประเภท อย่างหนึ่งเป็นกรรมของคนฉลาด เป็น ความดีที่มีอำนาจ สามารถบังคับความชั่วและล้างความชั่วได้ ท่านเรียก ว่า “กุศลกรรม” หรือ “บุญกรรม”


อีกอย่างเป็นกรรมที่ทำด้วยความโง่ เป็นความชั่วที่มีอำนาจเผาลน ให้ร้อนรุ่มดับถูกไฟเผาไหม้ เรียกว่า “อกุศลกรรม” หรือ “บาปกรรม” มีลักษณะทำให้สกปรกเศร้าหมอง


บางแห่งท่านเรียกกรรมดีว่า “สุกกะ” (ขาว) และเรียกกรรมชั่ว ว่า “กัณหะ” (ดำ) ดังนั้นบัณฑิตพึงละ “กรรมดำ” เสีย พึงเจริญแต่ “กรรมขาว” เมื่อละกรรมทั้งหลายหายกังวลแล้ว ย่อมยินดียิ่งในพระ นิพพาน อันเงียบสงัด





    อย่างไรก็ตาม การกระทำกรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม เมื่อพูดถึง ความรู้สึก เราย่อมทราบว่า เป็นกิริยาของจิตใจ และจิตใจนี้เองเป็นตัว การทำกรรมขึ้น โดยพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า


“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนาเป็นกรรม การจงใจทำ พูด คิด คือ เจตนาของจิตใจ และจิตใจนั้นเอง จะต้องรับผิดชอบการกระทำ ของตนเอง จะปัดความรับผิดชอบนั้นไม่ได้”


ธรรมดา เจตนาในการทำ พูด คิด นั้นมีน้ำหนักแตกต่างกัน ถ้า ความรู้สึกมีกำลังดันแรงที่สุด เจตนาก็ย่อมแรงที่สุด ถ้าแรงพอประมาณ เจตนาก็แรงพอประมาณ ถ้าแรงเพลาๆ ก็ย่อมเพลาตามกัน สังเกตได้ จากผู้มีโทสะแรงกล้า ก็อาจฆ่าคนได้ทันที จนแทบไม่รู้สึกตัว ถ้ามี โทสะแรงพอประมาณ แม้คิดจะฆ่า ก็ยังคิดก่อนทำ ถ้าเพลาเบาลง ก็ เพียงคิดแต่ไม่ฆ่า


ผลของกรรมก็เช่นเดียวกัน ย่อมให้ผลสนองตอบ ตามกำลังของ เจตนานั้นๆ ถ้ารู้สึกแรง ผลก็มาแรง เช่น อนันตริยกรรม ๕ มีการ ฆ่าบิดามารดา ผู้ที่จะทำเช่นนั้นได้ ต้องมีความรู้สึกฝ่ายกิเลสแรงกล้า เจตนาที่ทำก็แรงด้วย และมักให้ผลในขณะที่ทำนั้นเอง


เพราะแรงกรรมแตกต่างกันดังนี้ ท่านจึงแยกกรรมและผลของกรรม ไว้ดังนี้


๑. กรรมที่สามารถให้ผลให้ปัจจุบันชาติ ที่เรียกว่าให้ผลทันตา ได้แก่ กรรมประเภทประทุษร้ายผู้ทรงคุณ เช่น บิดา มารดา พระอรหันต์ แม้แต่เพียงการด่าว่าติเตียนท่านผู้ทรงคุณเช่นนั้น ก็เป็นกรรมที่แรง สามารถ ห้ามมรรคผลนิพพานได้


ด้วยเหตุนี้เมื่อ องคุลิมาล จะฆ่ามารดาเป็นคนสุดท้าย จึงจะ ครบพันคนตามที่อาจารย์สั่งฆ่า พระพุทธเจ้าจึงต้องเสด็จไปยับยั้งไว้ เพราะการเบียดเบียนสัตว์ หรือทรมานสัตว์บางจำพวก ก็มักให้ผลใน ปัจจุบันทันตาได้เหมือนกัน เช่น การเบียดเบียนแมว เป็นต้น นี่เป็น กรรมฝ่ายอกุศล ฝ่ายกุศลก็สามารถให้ผลทันตาเช่นกัน




     อย่างผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งยังมีศีลบริสุทธิ์ ผลที่มองเห็นก็คือ ได้รับการอภิวาทกราบไหว้ ได้รับการยกเว้นภาษีอากรจากรัฐบาล ได้รับ การคุ้มครองจากรัฐบาล ได้รับปัจจัยที่เขาถวายด้วยศรัทธา เลี้ยงชีพเป็น สุขในปัจจุบัน ได้รับความเงียบสงัดใจ ความแช่มชื่นเบิกบานใจ ความสุข สบายทั้งกายและใจ เพราะใจสงบเป็นสมาธิ ได้ฌานสมาบัติ ได้ไตร วิชชาหรืออภิญญา สิ้นอาสวะในปัจจุบันชาติ แต่ถ้ายังมีกิเลสอยู่ ก็จะ เข้าถึงโลกที่มีสุขเมื่อตายไป


๒. กรรมที่สามารถให้ผล เมื่อเกิดใหม่ในชาติหน้า ถ้าเป็นกุศลกรรม ก็อำนวยผลให้มีความสุขตามสมควรแก่กรรมในคราวใดคราวหนึ่ง ถ้า เป็นอกุศลกรรมก็ให้ผลเป็นทุกข์เดือดร้อน ตามสมควรแก่กรรมในคราวใด คราวหนึ่ง สมมติชาติปัจจุบันเราเกิดเป็นมนุษย์ ได้กระทำกรรมไว้หลาย อย่าง ทั้งบุญและบาป ตายแล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ด้วยอำนาจ กุศลกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถแต่งกำเนิดได้ในชีวิตใหม่นี้ ที่เราได้รับ สุขสมบูรณ์เป็นครั้งคราว เพราะกุศลกรรมในประเภทนี้ให้ผล เราได้รับ ความเดือดร้อนเป็นบางครั้ง นั่นคืออกุศลกรรมในประเภทนี้ให้ผล


๓. กรรมที่สามารถให้ผลสืบเนื่องไปหลายชาติ ตัวอย่างในข้อนี้มีมาก


ฝ่ายกุศลกรรม เช่น พระบรมศาสดาทรงแสดงบุพกรรมของ พระองค์ไว้ว่า ทรงบำเพ็ญเมตตาภาวนาเป็นเวลา ๗ ปี ส่งผลให้ไปเกิด ใน พรหมโลก นานมาก แล้วมาเกิดเป็น พระอินทร์ ๓๗ ครั้ง มา เกิดเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ ๓๗ ครั้ง


ฝ่ายอกุศลกรรม เช่น พระมหาโมคคัลลานะเถระในอดีตชาติ หลง เมียและฟังคำยุยงของเมียให้ฆ่าบิดามารดาผู้พิการ ท่านทำไม่ลง เพียงแต่ทำ ให้มารดาลำบาก กรรมนั้นส่งผลให้ไปเกิดในนรกนาน ครั้นมาเกิดเป็น มนุษย์ ถูกเขาฆ่าตายมาตามลำดับทุกชาติถึง ๕๐๐ ชาติ ทั้งชาติปัจจุบัน ที่บรรลุพระอรหันต์แล้ว ก็ถูกโจรฆ่า


๔. กรรมที่ไม่มีโอกาสจะให้ผล เพราะไม่มีช่องที่จะให้ผล เลย หมดโอกาส และสิ้นอำนาจสลายไป เรียกว่า “อโหสิกรรม”



     ในฝ่ายอกุศล เช่น องคุลิมาล ได้หลงกลของอาจารย์ จึงได้ฆ่า คนเกือบพัน เพื่อนำไปขึ้นครูขอเรียนมนตร์


พระพุทธองค์ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ผลมีอยู่ ทรงเกรงว่า จะฆ่ามารดา แล้วทำลายอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์เสีย จึงรีบเสด็จไปโปรด และตรัสพระวาจาเพียงว่า“เราหยุดแล้ว แต่ท่านซิยังไม่หยุด”


องคุลิมาลเกิดรู้สึกตัว จึงเข้าเฝ้าขอบรรพชาอุปสมบท



๕. ชนกกรรม กรรมที่สามารถแต่งกำเนิดได้ กำเนิดของสัตว์ใน ไตรโลก มี ๔ อย่างด้วยกันคือ ชลาพุชะ เกิดจากน้ำสัมภะของมารดาบิดาผสมกัน เกิดเป็นสัตว์ ครรภ์ แล้วคลอดออกมาเป็นเด็ก ค่อยเจริญเติบโตขึ้นโดยลำดับกาล ฝ่ายดีเกิดเป็นมนุษย์ ฝ่ายไม่ดีก็เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานบางจำพวก อัณฑชะ เดิมเป็นฟองไข่ก่อน แล้วจึงเกิดเป็นตัวออกจากกะเปาะ ฟองไข่ แล้วเจริญเติบโตโดยลำดับกาล ฝ่ายดีได้แก่กำเนิดดิรัจฉานที่มี ฤทธิ์ เช่น นาค ครุฑ ฝ่ายชั่วได้แก่กำเนิดดิรัจฉาน เช่น นกทั่วๆไป สังเสทชะ เกิดจากสิ่งโสโครก เหงื่อไคล ฝ่ายดี เช่น นาค ครุฑ ฝ่ายชั่ว ได้แก่ กิมิชาติ มีหนอนที่เกิดจากน้ำครำ เป็นต้น รวมทั้งเลือด ไร หมัด เล็น ที่เกิดจากเหงื่อไคลหมักหมม เป็นต้น


โอปปาติกะ เกิดขึ้นเป็นวิญญูชนทันที ฝ่ายดี เช่น เทวดา ฝ่าย ชั่ว เช่น สัตว์นรก เปรต อสุรกาย รวมความว่ากรรมดีแต่งกำเนิดดี กรรม ชั่วแต่งกำเนิดชั่ว นี้เป็นกฎแห่งกรรมที่ตายตัว ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไป


๖. อุปปัตถัมภกรรม เป็นกรรมที่คอยสนับสนุนกรรมอื่นซึ่งเป็น ฝ่ายเดียวกัน กรรมดีก็สนับสนุนกรรมดี กรรมชั่วก็สนับสนุนกรรมชั่ว เช่น กรรมดีแต่งกำเนิดดีแล้ว กรรมดีอื่นๆ ก็ตามมาอุดหนุนส่งเสริมให้ได้รับ ความสุขความเจริญยิ่งขึ้น กรรมชั่วแต่งกำเนิดทราม กรรมชั่วอื่นๆ ก็ตาม มาอุดหนุนส่งเสริมให้ได้รับทุกข์เดือดร้อนในกำเนิดนั้นยิ่งๆ ขึ้น อย่างที่ เราเห็นๆกัน คนทำดี เช่น ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิ ความดีก็จะ ส่งเสริมให้ได้ดีมีความสุขยิ่งขึ้น บางคนเกิดมายากจน ชีวิตก็ยิ่งได้รับ ความยากจนตลอดมา



๗. กรรมที่เป็นปรปักษ์ต่อกรรมอื่นที่ต่างฝ่ายกับตน คอยเบียดเบียน ให้ฝ่ายตรงข้ามมีกำลังอ่อนลง ให้ผลไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เช่น เกิด เป็นมนุษย์ แล้วมีกรรมชั่วเข้ามาขัดขวางริดรอนอำนาจของกรรมดีลง เช่น ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ให้มีอันเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน มี แต่ความทุกข์โศกสูญเสีย พลัดพราก ทั้งนี้ก็เพราะกรรมชั่วแต่งให้เกิด มาทราม แต่ยังมีกรรมดีเข้ามาสนับสนุน ให้มีผู้เมตตาสงสารช่วยเหลือ ถึงเกิดเป็นสัตว์ ก็มีผู้เลี้ยงดูรักใคร่อุปถัมภ์ อย่างหมามีปลอกคอ


๘. กรรมที่เป็นปรปักษ์กับกรรมอื่น แต่มีอำนาจรุนแรงกว่า เช่น เกิดเป็นมนุษย์ แต่ไปฆ่าเขาตาย ก็เสียความเป็นมนุษย์ไป ดูเหมือน เป็นยักษ์มารชั่วร้ายป่าเถื่อน



     นั่นคือ กรรมดีให้มาเกิดเป็นมนุษย์ แต่กรรมชั่วทำให้เสียความเป็น มนุษย์ หรือเกิดมาเป็นเพศชาย แต่ประพฤติอย่างเพศหญิง หรือเพศหญิง อยากเป็นชาย ซึ่งมีให้เห็นกันมาอย่างทุกวันนี้ ในพุทธกาลเคยมีตัวอย่าง เช่น โสเรยยะบุตรเศรษฐี ไปหลงใหลพระมหากัจจายน์ ว่าท่านรูปงาม อย่างผู้หญิง มีจิตคิดเอาเป็นภรรยา ผลกรรมทำให้กลับเพศเป็นหญิง ต้องหนีจากบ้านไปอยู่เมืองอื่น ไปได้สามี มีบุตรด้วยกัน ภายหลังมาขอ อโหสิกรรมจากพระเถระ ท่านอภัยโทษให้ จึงได้กลับเป็นชายตามเดิม เรื่องของพระอรหันต์จะไปล้อเล่นไม่ได้ บางคนไปเกิดเป็นเปรต ได้มีผู้ อุทิศบุญให้ ต่อมาได้ไปเกิดเป็นเทวดา


๙. กรรมที่หนักมาก สามารถให้ผลในทันทีทันใด หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า “ครุกรรม” ฝ่ายกุศล ได้แก่ ฌานสมาบัติ ฝ่ายอกุศล ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อนันตริยกรรมนี้มีผลร้ายแรงมาก แม้เป็นผู้มี อุปนิสัยจะได้สำเร็จมรรคผลถึงขั้นพระอรหันต์ แต่ถ้าไปทำผิดเข้า ก็จะ ตัดมรรคตัดผล ต้องไปเสวยกรรมอีกช้านาน



๑๐. กรรมอีกอย่างเรียกพหุกรรม หรืออาจิณกรรม คือต้องทำ เป็นประจำจนเคยชิน เป็นกรรมหนักรองจากครุกรรมลงมา ทางฝ่ายดี เช่น เป็นผู้บำเพ็ญทาน ถือศีล เจริญสมาธิ มีเมตตาภาวนา เป็นต้น แต่ยังไม่ถึงได้ฌานสมาบัติ กรรมนี้ก็จะเป็นปัจจัยให้มีกำลังในจิต ที่จะ ทำดีอยู่เสมอ สามารถให้ผลต่อเนื่องไปนาน ถ้าไม่ประมาท ในชาติ ต่อไปก็จะทำเพิ่มเติมอยู่เป็นอาจิณ ตัดโอกาสไม่ให้กรรมเล็กน้อยมาตัด รอนได้




     ทางฝ่ายอกุศลก็เช่นเดียวกัน เช่น พรานป่าล่าสัตว์ หรือชาวประมง ทำปาณาติบาตอยู่เป็นประจำ แม้แต่คนมีอาชีพฆ่าหมูขาย เชือดไก่ เชือดเป็ด หรือขายสัตว์เป็นประจำ คนพวกนี้แม้จะมีกรรมดีอยู่บ้าง ก็ ยากที่จะเข้ามาช่วยได้ เพราะกรรมชั่วติดสันดานเสียแล้ว เวลาใกล้ตาย ก็จะส่งเสียงร้องเหมือนสัตว์ที่ตนฆ่า พอสิ้นใจก็ไปนรกทันที โรงงาน ใหญ่ๆ ที่ฆ่าไก่ส่งนอกวันละเป็นพันเป็นหมื่น เขามักจะจ้างคนอิสลาม มาฆ่า ก็ไม่มีผลอะไรในเรื่องของบุญบาป เพราะเจ้าของผู้ให้ฆ่า และคน ฆ่า จะนับถือศาสนาอะไร ก็ต้องรับผลทั้งนั้น


เจ้าของผู้ให้ฆ่าหรือจ้างวานให้ฆ่า จะว่าไปแล้วก็ถือว่าเป็นบาปกว่า คนฆ่าเสียอีก เขาเหล่านี้ แม้จะร่ำรวยเป็นพันเป็นหมื่นล้าน เมื่อถึง คราวจะสิ้นชีวิต ทรัพย์นั้นก็จะละลายหายสูญ เช่นเดียวกับที่ถูกเผาไหม้ อยู่ในนรก




     ยังมีกรรมอีกสองประเภท กรรมแรกเรียก “อาสันนกรรม” เป็น กรรมที่ให้ผลในเวลาใกล้ตาย ไม่ว่าจะเป็นกรรมหนักหรือกรรมเบา



ตัวอย่างในสมัยพุทธกาลเล่าว่า มีบุรุษคนหนึ่งโดยสารไปในเรือเดิน ทะเล แล้วเกิดพายุทำให้เรือแตกอับปางลง จึงได้สมาทานศีลก่อนตาย เพียงเล็กน้อย เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ มีนามว่า สตุลลปายิกาเทวา


ตัวอย่างการอาราธนาศีลก่อนตาย คนไทยชาวพุทธแต่โบราณมา ยึดถือปฏิบัติกันทั่วไป บิดามารดาก็ดี ญาติพี่น้องก็ดี เมื่อเห็นว่าใกล้จะ สิ้นใจ เขาจะบอกให้ผู้ใกล้ตายระลึกถึงสิ่งที่ดีงาม เช่น บอกให้ระลึกถึงคุณ พระพุทธเจ้า เช่น พุทโธ หรือ สัมมาอรหัง เมื่อสิ้นใจแล้วจะได้มีสติ ไปจุติในที่ดีเอาไว้ก่อน



แต่บางทีถ้าทำบาปเอาไว้มาก จะบอกอย่างไรก็ไม่มีสติจะระลึกได้ เพราะเจ้ากรรมนายเวรที่เขาอาฆาตได้ปิดบังเอาไว้


พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนนักหนาว่า “ขึ้นชื่อว่าบาป ไม่ทำเสียเลย ดีกว่า” แต่ถึงจะเคยทำบาปมา ภายหลังสำนึกได้ กลับทำความดี ให้ทาน รักษาศีล บำเพ็ญสมาธิภาวนา ก็ยังพอเอาตัวรอดได้ โดยเฉพาะการทำ สมาธินั้น เป็นเหตุให้มีสติดี เมื่อมีสติดี ก็สามารถจะระลึกถึงความดี เช่น พุทโธ ได้ก่อนสิ้นใจ


ดังนั้นท่านทั้งหลายจึงไม่ควรจะตายอย่างคนเลอะเทอะ หาสติมิได้ จะเป็นการเสียชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์


กรรมอีกประเภทหนึ่ง เรียก “กตัตตากรรม” เป็นกรรมที่เบา ที่สุด หรือจะเรียกว่า กรรมเล็กกรรมน้อย ทำด้วยเจตนาอ่อนๆ แทบไม่มี เจตนาเลย เช่น การฆ่ามดแมลงโดยไม่เจตนา หรือการที่เด็กแสดงคารวะต่อพระ รัตนตรัย ตามที่ผู้ใหญ่สอนให้ทำ เด็กก็จะทำด้วยเจตนา ที่ชื่อว่าสักแต่ ว่าทำ ถ้าไม่มีกรรมอื่นให้ผลเลย กรรมชนิดนี้ก็ให้ผลได้บ้าง



อย่างไรก็ตาม กรรมต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด แสดงว่าพระพุทธ ศาสนาไม่ได้สอนแบบกำปั้นทุบดิน อย่างที่บอกว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ได้แยกแยะกรรมต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ทำดีขนาดไหน ทำอย่างไร ทำชั่วขนาดไหน ทำอย่างไร และให้ผลอย่างไร ท่านแสดงไว้หมด ผู้ที่ วิตกว่า ได้ทำบาปมามาก กลัวจะใช้กรรมไม่หมด ก็ไม่ต้องกลัวขนาด นั้น เมื่อรู้ตัวว่าทำบาปมาก ก็ยังมีทางแก้อยู่ คือ หันมาทำบุญให้มาก ท่าน ศีล ภาวนา ต้องทำให้มากกว่าบาปที่ทำมาแล้ว ก็อาจแก้ไขให้ร้าย กลายเป็นดีได้ แต่ต้องทำให้มาก ชนิดที่กรรมชั่วตามไม่ทัน



อย่างองคุลิมาลได้ฆ่าคนมาร่วมพัน ยังได้บรรลุอรหันต์ พอบรรลุ อรหันต์ก็เป็นผู้เหนือโลก พ้นโลกเสียได้แล้ว กรรมอื่นก็เป็นอันพ้นไป หมดทางที่จะชดใช้อีกแล้ว เว้นแต่กรรมบางชนิด แม้เป็นอรหันต์แล้ว ก็ยังต้องใช้ อย่างที่กล่าวมาแล้ว



ยังมีผู้เข้าใจผิดในเรื่องของกรรมอีกมาก เช่น ทำดีได้บาป หรือทำบาปแล้วยังได้ดี ถ้าทำความเข้าใจเรื่องกรรมที่กล่าวมาแล้วให้ดี ก็จะ เห็นว่า ที่ทำบาปกลับได้ดีนั้น เขายังมีกรรมอื่นสนับสนุนอุปถัมภ์อยู่ บุญกุศลที่เคยทำไว้ในอดีต ยังมีเหลืออยู่ บาปในชาตินี้ยังส่งผลให้ไม่ได้ ส่วนทำดีได้บาปนั้น ก็เช่นเดียวกัน บาปเก่ายังส่งผลอยู่ กรรมดีก็เข้าไป สนับสนุนไม่ได้ ต้องรอจนบาปเก่าสิ้นไป จึงจะได้รับผลดีตอบแทน จึง เชื่อว่าจะไม่สับสนในเรื่องของกรรม หรือรู้เรื่องกรรมแบบกำปั้นทุบดิน



นอกจากนี้ยังมีลักษณะของกรรมที่อยากให้รู้ไว้ให้ชัดอีก ๖ ประการ คือ





๑. กรรมจากการฆ่าสัตว์ ย่อมส่งผลให้ไปสู่อบายภูมิ ครั้นกลับมา เกิดเป็นมนุษย์อีก ก็เป็นคนอายุน้อยหรืออายุสั้น ตายเสียก่อนวัยอันควร


ส่วนกรรมที่ไม่ฆ่าสัตว์ มีเมตตาปรานีในสรรพสัตว์ ตายแล้วย่อมไป สู่สุคติโลกสวรรค์ เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นคนอายุยืน



๒. กรรมจากการเบียดเบียนสัตว์ ด้วยการตบตี ขว้างปา แทง ฟัน ส่งผลให้ไปสู่อบายภูมิ ครั้นได้กลับมาเป็นมนุษย์อีก ก็เป็นคนมีโรคภัย ไข้เจ็บมาก



๓. กรรมจากความมักโกรธ ถูกว่าเล็กน้อยก็โกรธพยาบาทปอง ร้าย แสดงความโกรธ ความดุร้าย ความน้อยใจให้ปรากฏออกมา ส่ง ผลไปสู่อบายภูมิ ครั้นมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นคนผิวทราม ส่วนคน ที่ไม่มักโกรธ เกิดมาเป็นมนุษย์ก็ผิวงาม น่าเลื่อมใส ผ่องผุด เกลี้ยงเกลา





๔. กรรมจากความมีใจริษยา อยากได้ เข้าไปขัดขวางในลาภ สักการะของผู้อื่น หรือผู้อื่นมีใจนับถือ ไหว้ผู้อื่น ก็ไปขัดขวางเขา ต้องการให้นับถือตัวผู้เดียว ตายไปก็ลงสู่อบายภูมิ ครั้นเกิดเป็นมนุษย์ อีก ก็เป็นคนมีศักดาต่ำ ไม่ค่อยมีใครยกย่องนับถือ ส่วนตรงกันข้าม ก็ไปสู่สวรรค์ เกิดเป็นมนุษย์มีศักดาใหญ่ ได้รับความนับถือจากผู้อื่น


๕. กรรมจากการไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ของหอม ที่อาศัยหลบนอน ให้แสงสว่าง แกสมณะและคนดี เพราะความตระหนี่ เหนียวแน่น ตายไปก็ส่งผลให้ไปสู่อบายภูมิ ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อีก ย่อมเป็นคนมีโภคะน้อย หรือมีสมบัติน้อย ส่วนตรงกันข้ามย่อมเป็นผู้มี โภคะมาก





๖. กรรมจากความกระด้างถือตัว ไม่ไหว้คนควรไหว้ ไม่ลุกรับคน ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนควรให้ ไม่หลีกทางแก่คนควรหลีก ไม่ สักการะคนควรสักการะ ไม่เคารพคนควรเคารพ ไม่นับถือคนควรนับถือ ไม่บูชาคนควรบูชา ทั้งนี้ก็สามารถส่งผลดีและผลร้ายได้เช่นเดียวกัน



ดังนั้น จะเห็นได้ว่า กรรมที่กล่าวมานี้ เป็นเรื่องของจิตใจโดยตรง เป็นกรรมทางจิต ก็จิตของมนุษย์เรานั้น ถ้าปล่อยให้จิตเศร้าหมอง ขุ่นมัว ด้วยกรรมต่างๆ กัน ย่อมเป็นพิษภัยแก่ตัวเองทั้งสิ้น ท่านจึง สอนให้ทำจิตให้สะอาด สว่าง และสงบ เป็นจิตบริสุทธิ์ ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นจิตใจที่อ่อนโยน



๗. กรรมอีกอย่างหนึ่ง คือ การไม่เข้าหาเพื่อศึกษา หรือไต่ถาม สมณะพราหมณ์ หรือผู้รู้มีปัญญาในสิ่งที่ควรถาม เช่น กุศล อกุศล สิ่งมีโทษ ไม่มีโทษ สิ่งควรเสพ ไม่ควรเสพ กรรมที่เป็นไปเพื่อทุกข์ กรรมที่เป็นไปเพื่อสุข หรือสิ่งที่ส่งผลไปสู่อบาย หรือกรรมที่ส่งผลไปสู่ สุคติโลกสวรรค์ นิพพาน








     การที่ท่านบัญญัติกรรมนี้ไว้ ก็เพราะถือว่า มนุษย์ที่เกิดมา จะทำดี หรือไม่ดี ก็เพราะความไม่รู้ที่เรียกว่า “อวิชชา” การไม่แสวงหาความรู้ จึงเป็นต้นเหตุแห่งกรรมดีกรรมชั่วของมนุษย์ ผลที่เห็นได้ง่ายก็คือความ โง่เขลา และความเฉลียวฉลาดมีปัญญา



เมื่อได้รู้เรื่องกรรม ตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ท่านผู้มีปัญญา ย่อมจำแนกแยกแยะ ความหยาบ ความละเอียด หนักเบาของกรรม นั้นๆ ได้ และเป็นจริง



แสดงให้เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน มีกรรมเป็นผู้ ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเครื่องจำแนกแยกให้เห็นว่า มนุษย์ จะดีหรือจะชั่ว จะร่ำรวยหรือยากจนเข็ญใจ จะรูปงามหรือต่ำทราม จะลง นรกหรือขึ้นสวรรค์ จะเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ หรือจะหลุดพ้น ไปสู่พระนิพพาน แดนแห่งจิตอมตะก็ด้วยกรรม คือ การกระทำของตน เองทั้งสิ้น




     ทั้งนี้ไม่มีพระเจ้าองค์ใดจะบันดาลให้ได้ แม้พระพุทธเจ้าผู้รู้แจ้งโลก ทั้ง ๓ ก็เป็นแต่ผู้แนะนำสั่งสอน ชี้ให้เห็นทางถูกผิด กุศล อกุศล ให้ เท่านั้น ตัวเรา มนุษย์เรา จะเป็นผู้เลือกทางเดินของตนเอง จะเลือกอย่าง คนโง่ดักดาน หรือจะเลือกอย่างคนฉลาดมีปัญญา ก็เป็นเรื่องของมนุษย์ เองทั้งสิ้น


พระพุทธศาสนา ไม่มีคำสอนให้คนหลงใหลงมงาย แต่สอนให้รู้จัก ความเป็นตัวของตัวเอง เชื่อตนเอง และให้พยายามค้นหาความเป็น จริง ในกายในจิตของตนเอง มากกว่าดูจากภายนอก เพราะภายนอกนั้น ยังเป็นสิ่งลวงตาอยู่


เมื่อรู้จักเรื่องของกรรมแล้ว ก็ย่อมจะเข้าใจนิพพานได้ถูกต้องขึ้น ว่า แท้จริงแล้ว “นิพพาน” มิได้สูญหายไปไหน คำว่า “นิพพานํ ปรมํ สูญญํ” นิพพานสูญนั้น ได้สร้างความเข้าใจผิด หวาดกลัวมาสมัยหนึ่ง ใครๆ ก็ไม่อยากไปนิพพาน ไปทำไมเมื่อมีความสูญสลาย สู้เป็น มนุษย์อยู่อย่างนี้ไม่ได้ บริบูรณ์ด้วยรูป รส กลิ่น เสียง หรือไม่ได้เป็น มนุษย์ ไปสวรรค์ยังดีเสียกว่า


ก็นี่แหละมนุษย์ ที่ยังติดรูป รส กลิ่น เสียง มีความโลภ โกรธ หลง เป็นเจ้าเรือนอยู่ ไม่ใช่จะสละละวาง ไปนิพพานกันได้ง่ายๆ เองเพียง แค่ไม่ทำบาป ก็เป็นของยากแสนเข็นเสียแล้ว ก็ยากที่จะเอาชนะกิเลสได้





คำบาลีมีอีกประโยคหนึ่งว่า
 
“นิพพานํ ปรมํ สุขํ” แปลว่า 

“นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง” ซึ่งมีความหมายที่ถูกต้องที่สุด ความสุขอย่างยิ่ง เป็นลักษณะของพระนิพพาน แต่สุขอย่างยิ่งอย่างไร จึงจะเป็นสุขของ พระนิพพาน


ธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีทุกขเวทนาเป็นพื้น ฐาน เกิดก็ทุกข์ แก่ก็ทุกข์ เจ็บก็ทุกข์ ตายก็ทุกข์ เพียงความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ครั้งหนึ่งก็พอทน แต่มันมีคำว่าเวียนว่ายตายเกิดเพิ่มขึ้นมา ชีวิต มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ต่างเวียนว่ายตายเกิดเช่นนี้ นับภพนับชาติไม่ ถ้วน เกิดแต่ละภพแต่ละชาติ ต่างก็ต้องทนทุกขเวทนาซ้ำแล้วซ้ำอีก



ผู้มีปัญญา ได้สร้างทานบารมี ศีลบารมี สมาธิบารมี จนเป็นผู้ มีปัญญา มีจิตเป็นกุศล ย่อมเห็นทุกขเวทนาในการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย เวียนว่ายตายเกิด ซ้ำซาก ย่อมเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด แสวงหาความพ้นทุกข์ หวังมรรคผลนิพพาน



ส่วนผู้มีอวิชชาครอบงำอยู่ ย่อมไม่รู้สึกรู้สา ต่อการละวางกิเลส ตัณหา ยังติดอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง ซึ่งเป็นธรรมดาโลก ทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับผลกรรมของตน ใครทำกรรมใดไว้ จะดีหรือชั่ว ย่อมเป็นไปตาม กรรมนั้น




     นิพพานที่ว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง ต้องทราบก่อนว่า ธรรมชาติจิตเป็น ธาตุอมตะ ไม่ใช่ของสูญได้ จิตย่อมเวียนว่ายตายเกิดตามกรรมของตน การที่เราจะเข้าถึงนิพพานที่เป็นสุขอย่างยิ่ง คือ ทำให้จิตไม่ต้องเกิดตาย ต่อไป เป็นจิตที่สุขอย่างเดียว เหนือธรรมชาติของจิตธาตุอมตะธรรมดา ขึ้นไปอีก และเป็นจุดสุดยอดที่พระพุทธเจ้าทรงเข้าถึง และเป็นจุดสุดยอด ของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ใช่จะเข้าถึงได้โดยง่าย อย่างที่คนโดยมากคิดกัน ต้องอาศัยบารมีที่สร้างสมมาหลายภพหลายชาติ เกื้อกูลส่งเสริมด้วย


ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่มนุษย์สามัญชนเรา จะมานั่งกลัวว่า ตน จะต้องไปนิพพาน ที่เข้าใจว่าเป็นการสูญ




     มนุษย์สามัญชนผู้ไม่รู้อดีตชาติ ไม่รู้กรรมดีกรรมชั่วที่เคยกระทำมา ถ้าเรามีจิตเป็นกุศล เราอาจปรารถนานิพพานได้ แต่จะช้าหรือเร็ว ก็ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง สุดแต่วาสนาบารมีที่เราเคยกระทำมา ซึ่งไม่ทราบว่ามี แค่ไหน


แต่เมื่อปรารถนานิพพาน แล้วตั้งใจทำกรรมดี ก็จะต้องได้สักวัน หนึ่ง หรือในชาติหนึ่งจนได้ ข้อสำคัญในปัจจุบัน เราทำอะไรอยู่ ถ้าเราทำ ในสิ่งที่เป็นกุศล เช่น ให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิ ทำไปจนเคยชินเป็น ปกติ ไม่ให้ตกไปอยู่ในความชั่วหรืออกุศลกรรม แม้ไม่ปรารถนาสวรรค์ นิพพาน ก็ย่อมไปถึงจนได้ เพราะกุศลกรรมความดีนั้น เปรียบเหมือน เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ เมื่อได้น้ำดี ดินดี ก็จะมีแต่ความงอกงาม เจริญ ยิ่งๆ ขึ้นไป




     ดังนั้น แต่ละชีวิต แต่ละจิตวิญญาณ ก็ใช่ว่าเมื่อเกิดมาในภพใดภพ หนึ่งหรือชาติใดชาติหนึ่ง ซึ่งต่างก็ผ่านมานับภพนับชาติไม่ถ้วน จะมีโอกาส สร้างสมกุศลบารมี ทุกชาติทุกภพก็หาไม่ บางชาติบางภพ ก็มีโอกาส สร้างสมกุศลบารมีติดต่อกันมา แต่บางชาติบางภพ ก็มีอกุศลกรรม มาทำ ให้หลงผิดเป็นชอบ สร้างบาปกรรมทำลายตนเองมากมาย เพียงผิดศีล ๕ ก็ทำให้ตกนรกภูมิ เสียเวลาไปนับเป็นกัปเป็นกัลป์ เพราะอวิชชา ครอบงำ และส่วนมากก็ตกอยู่ในสภาพที่จะต้องรับผลจากอกุศลกรรม มากกว่ากุศลกรรมด้วยซ้ำไป เราเรียกเจ้าตัวอุปสรรคขัดขวางว่าเป็น มาร หรือกิเลสมาร อันเป็นฝ่ายอกุศล



ด้วยเหตุนี้ทำให้เห็นว่า ทุกชีวิตผู้มีจิตวิญญาณ ต่างก็ต้องพบกับ การทำความดี และการทำความชั่วสลับกันไป ข้อสำคัญอยู่ที่เราทำกรรมดี หรือกรรมชั่วมากกว่ากัน มันขึ้นอยู่กับชีวิตความคิดของเราเอง



เคยมีพระนักปฏิบัติบางรูป ท่านปรารภให้ฟังว่า ถ้าท่านเกิดทันใน พุทธกาล คือ ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงดำรงพระชนม์อยู่ ก็คงจะบรรลุ เป็นพระอรหันต์ไปแล้ว




     คำที่ท่านปรารภออกมานี้ มันไม่แน่เสมอไป เพราะผู้ที่เกิดทันพระพุทธเจ้า ได้สนทนากับพระพุทธเจ้า ไม่ได้เป็นแม้เพียงโสดาบันก็มี ส่วนผู้ ที่เกิดภายหลังพระพุทธเจ้านับเป็นพันๆปี เมื่อปฏิบัติตามพระธรรมคำ สอนอย่างจริงจังแล้ว ได้บรรลุพระอรหันต์ก็มี มันขึ้นอยู่กับกุศลบารมี ได้สร้างสมมาเต็มเปี่ยมหรือยัง







     ดูแต่ อุปกาชีวก ซิ เขาเดินสวนทางกับพระพุทธเจ้า ไดทักถาม สนทนากับพระพุทธเจ้า ตอนที่มุ่งหน้าไปโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อพบพระองค์กลางทาง เขาทักว่า



“ดูกร อาวุโส…อินทรีย์ทั้งหลายของท่านผ่องใสพิเศษแล้ว พรรณนา แห่งผิวบริสุทธิ์ผุดผ่องโดยรอบ ท่านได้บรรพชาเฉพาะซึ่งผู้ใด ใครหนอ เป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของผู้ใด”






    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “เราเป็นผู้ครอบงำซึ่งธรรมทั้งปวงในภูมิ ๓ เราตรัสรู้แจ้งด้วยตนเอง เราละเสียซึ่งเตภูมิกรรม เป็นผู้น้อมไปแล้ว ซึ่งอารมณ์พระนิพพาน อันเป็นที่สิ้นตัณหา เป็นผู้มีวิมุตติหลุดพ้นจาก อาสวะทั้งปวง เราตรัสรู้เองแล้ว จะพึ่งใครเป็นศาสดาเล่า”



แต่อุปกาชีวก กลับแสดงอาการเย้ยหยัน ไม่เชื่อ แล้วหลีกไปเสีย นี่ก็แสดงว่าการพบพระพุทธเจ้า ไม่ได้ทำให้เขาบรรลุมรรคผลแต่อย่างใด แทนที่จะทูลซักถามให้ละเอียด และขอฟังธรรมของผู้สิ้นอาสวะแล้ว




     การแสดงความไม่เชื่อ เย้ยหยันพระพุทธเจ้านั้น ก็อาจทำให้เขา ตกนรกได้ เพราะพระพุทธศาสนานั้น ถือเรื่องความคิดเป็นเรื่องสำคัญ คนที่มีทิฐิ แสดงความไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ว่ามีอยู่จริง หรือไม่เชื่อบาปอกุศล ไม่เชื่อกุศลบารมี ทำให้ตกนรกอวจี ได้เหมือนกัน


“จิตมนุษย์” ล้วนมีความโลภ โกรธ หลง กิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นสัญชาติญาณประจำตัวก็ว่าได้ จึงเท่ากับมีทุนทางอกุศล เป็นทุนอยู่ แล้ว เรื่องการทำชั่วทำบาป จึงกระทำกันได้ง่าย จนกระทั่งถือเป็นธรรมดา ไปก็มี คือ ทำกันจนเคยชิน เช่น การฆ่าสัตว์ เมื่อทำเป็นอาจิณ ผู้ทำก็ไม่ รู้สึกถึงความผิดบาปแต่อย่างใด หรือการพูดโกหกมดเท็จ บางคนพูดจน กลายเป็นนิสัย วันไหนไม่ได้พูดมุสา จะรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ คล้ายขาด อะไรไปอย่างหนึ่ง


ที่ท่านกล่าวว่าบาปทำได้ง่าย ก็เพราะมันมีบาปมากมาย ให้เลือก ทำได้ทุกโอกาส ผิดกับการทำกุศลหรือการทำบุญสร้างความดี ต้องฝืนทำ ต้องพากเพียร ต้องตั้งใจให้จริง จึงจะทำได้




     อันที่จริง การระลึกชาติได้นี้ มีคนในโลกระลึกได้ไม่น้อย เป็น การระลึกในลักษณะแตกต่างกันไป บางคนก็ระลึกได้ในชาติที่แล้ว สามารถ บอกเล่าตรงกับความเป็นจริงได้ บางคนก็ระลึกได้ด้วยฌาน อันปฏิบัติ ธรรมดีแล้ว ที่เรียกว่า “อตีตังสญาณ” จะระลึกได้น้อยชาติหรือมาก ชาติ ก็ขึ้นกับปัญญาบารมีของแต่ละคน



     พระอรหันต์ระลึกได้น้อยกว่าพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ สามารถย้อนหลังระลึกชาติไปไม่มีสุด

สำหรับอาตมา ที่เล่าการระลึกชาติมานี้ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตน เพื่อ ยืนยันว่า ชาตินี้ชาติหน้า การเวียนว่ายตายเกิด เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง แต่ ไม่อาจเปิดเผยนามได้ และนามนั้นก็สมมติขึ้น ชีวิตก็เป็นอนัตตา เพียง ให้รู้ว่าเราท่านไม่ควรประมาทในชีวิต ก็น่าจะจบได้แล้ว...

.....................................................................................


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม