Blog นี้สร้างมาเพื่อ เป็นสื่อกลางให้ผู้สนใจในการปฏิบัติ ได้มาศึษาหาความรู้ และ แนะนำสถานที่ปฏิบัติให้แก่ผู้สนใจ และ ช่วยนักปฏิบัติผู้กำลังหลงทาง ให้เจอทางออก และ เข้าถึงซึ่งความเป็นจริงของสภาวะ

4 กุมภาพันธ์ 2553

แนะนำสถาที่ปฏิบัติธรรม




ศูนย์ปฏิบัติธรรม ตาณัง เลณัง เฉลิมราช ๖๐ ปี
เลขที่ 91 หมู่ 4 ตำบลสำราญราษร์ อำเภอดอยสะเก็ด
จังหวัดเชียงใหม่ 50220     tel..053-887210 ,Tel.053-0427056


.
โดย พระครูปลัดประจาก สิริวัณโณ

ตาณัง หมายความว่า นิพพานปกป้องบุคคลให้พ้นจากอบาย
เลณัง หมายความว่า ธรรมเป็นที่หลบซ่อน หรือหลีกจากภัยในสงสาร



เเนวทางการปฏิบัติ
เจริญวิปัสสนา สติปัฏฐาน ๔ ( พองหนอ-ยุบหนอ) สถานที่ที่นี่เป็นระเบียบ สงบ เรียบร้อย มีการจัดเเยกเป็นคอร์สการปฏิบัติ สำหรับผู้เริ่มต้น สำหรับผู้ที่เคยฝึกมาเเล้วหรือมีพื้นฐานการปฏิบัติเเล้ว คอร์สการฝึกปฏิบัติสำหรับ พระภิกษุสามเณร




สถานที่
มีห้องพักที่สะดวก สบาย มีห้องน้ำในตัว เเยกพักห้องละ 1 คน



เนื่องจากพระครูปลัดประจากเป็นวิปัสนาจารย์สอนทั้งที่ศูนย์ปฏิบัติธรรม ตาณัง เลณัง , ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย สาขา เพชรเกษม

(ศูนย์ ๑ ) ยุวพุทธเฉลิมพระเกียรติ สาขา ปทุมธานี (ศูนย์ ๒) และที่อื่นๆ หากท่านใดสนใจไปปฏิบัติธรรมกับท่านสามารถตรวจดูตารางการสอนปฏิบัติธรรมก่อนได้ เพื่อความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติธรรม 




ข้อมูลการอบรมและกฏระเบียบ ข้อมูลเบื้องต้นของการอบรมหลักสูตรวิปัสสนากัมมัฏฐาน สติปัฏฐาน ๔ การอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน สติปัฏฐาน ๔ ตามหลักสูตรของศูนย์ เหมาะแก่ผู้ที่เปี่ยมด้วยความศรัทธาในการปฏิบัติ เนื่องจากการปฏิบัติแม้จะใช้ห้องปฏิบัติธรรมรวม แต่ผู้ปฏิบัติจะต้องเดินจงกรมนั่งสมาธิและกำหนดอิริยาบถย่อยด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และรักษาเวลาในการเดินจงกรมนั่งสมาธิแต่ละบัลลังก์ให้ลื่นไหลไปได้ด้วยตนเอง


ในช่วงเช้าของวันแรกของการปฏิบัติทางศูนย์จะปฐมนิเทศเพื่อชี้แจงให้เข้าใจถึงกฎระเบียบในการปฏิบัติ และบริการต่างๆ ที่ทางศูนย์ได้จัดเตรียมเพื่อให้บริการแก่ผู้ปฏิบัติ พร้อมทั้งเปิดวีดีโอสาธิตวิธีการปฏิบัติ ส่วนในช่วงบ่ายจะมีพิธีสมาทานกรรมฐาน หลังจากนั้นพระวิปัสสนาจารย์จะบรรยายธรรมให้กรรมฐานเบื้องต้น และสอนวิธีปฏิบัติ ได้แก่ วิธีเดินจงกรม วิธีนั่งสมาธิ และวิธีกำหนดอิริยาบถย่อย เช่น การรับประทานอาหาร เป็นต้น
หลังจากนั้นโยคีต่างคน ต่างปฏิบัติเอง บริหารเวลาเอง และ รักษาวินัยด้วย ตนเอง เนื่องจากพื้นฐานจริตนิสัยและอินทรีย์ที่แตกต่าง กันของโยคีแต่ละท่าน การปรับการปฏิบัติให้เหมาะสมกับตนเอง ตามคำแนะนำของพระวิปัสสนาจารย์ ทำให้เกื้อกูลต่อการปฏิบัติธรรมของโยคีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในหลักสูตรนี้โยคีจะได้รับการสอบอารมณ์ทุกวันโดยพระวิปัสสนาจารย์ เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการปฏิบัติ และท่านจะได้ช่วยแก้ปัญหาในการปฏิบัติเป็นรายบุคคล พระวิปัสสนาจารย์จะบรรยายธรรมทุกวันเพื่อปลูกศรัทธาและเพื่อให้เข้าใจหลักการปฏิบัติมากขึ้น
โยคีถือศีล 8 โดยรับประทานอาหาร เพียง 2 มื้อเท่านั้น (ยกเว้นผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ หรือต้องรับประทานยาหลังอาหารมื้อเย็น ต้องแจ้งให้ทางศูนย์ทราบเพื่อจัดเตรียมอาหารให้ท่าน




ปฏิบัติธรรมมุ่งให้เรา หลุดพ้นจากวัฏจักร เมื่อใดก็ตามที่เราจะปฏิบัติธรรม เราจะต้องมุ่งให้การปฏิบัติธรรมของเราเป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระปณิธานไว้ ว่าเพื่อให้เราหลุดพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เพื่อให้พ้นจากวัฏจักร เพื่อตัดกระแสของวัฏจักร ด้วยเหตุนี้ เบื้องแรกของการประพฤติปฏิบัติธรรม เราจะต้องตั้งใจให้ตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระทัยไว้ กิเลสอื่นๆ จะค่อยๆ ถอยหลังไป แต่หากเราไปปรารถนาอย่างโน้นอย่างนี้เสียแล้วกิเลสกลับจะวิ่งนำหน้ามาเลย ที่เราปฏิบัติอยู่ก็จะมิใช่เพื่อพ้นจากวัฏจักร แต่กลายเป็นปฏิบัติธรรมเพื่อลาภสักการะหรืออย่างอื่น จากหนังสือ พระพุทธเจ้าองค์จริง พระพุทธเจ้าองค์แทน หลวงพ่อประจาก สิริวณฺโณ



กำหนดรู้สภาวะธรรมโดยเริ่มจากสิ่งที่เห็นได้ชัดก่อน สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่อาจไม่สามารถกำหนดสภาวธรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด จึงควรกำหนดสภาวธรรมที่เห็นได้ชัดก่อน ดังข้อความว่า “ยถาปากฏฺ วิปสฺสนาภินิเวโส.” “ควรเจริญวิปัสสนา ตามอารมณ์ที่ปรากฏชัดเจน” เราสามารถกำหนดรู้สภาวธรรมโดยเริ่มจากสิ่งที่เห็นได้ชัดก่อน โดยทั่วไปการเคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่ปรากฏชัด เห็นได้ง่าย ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า ควรเริ่มกำหนดรู้รูป (กาย) ก่อน ให้เริ่มจาก มหาภูตรูป ๔ ที่ประกอบอยู่ในร่างกาย โดยกำหนดรู้รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในมหาภูตรูป ๔ ก็ได้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในสติปัฏฐานสูตร ได้แสดงถึงการกำหนดวาโยธาตุไว้ว่า “คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ” เป็นต้น จึงควรเริ่มด้วยการกำหนดรู้วาโยธาตุ คือธาตุลมเป็นอันดับแรก เวลานั่งอยู่นิ่งๆ ก็กำหนดรู้ว่า “นั่งหนอ” โดยรับรู้ความตึงของวาโยธาตุ ที่ทำให้ร่างกายตั้งตรงอยู่ได้ แต่หากกำหนดรู้การนั่งเพียงอย่างเดียว สมาธิก็จะมีกำลังมากกว่าวิริยะ และทำให้วิริยะอ่อนลง จึงขอแนะนำว่าในขณะนั่งกรรมฐาน แทนที่จะกำหนดรู้การนั่งเพียงอารมณ์เดียว ผู้ปฏิบัติควรกำหนด การพองและยุบของท้องซึ่งเกิดจากความกดดันของลมในท้องร่วมไปด้วย ดังนั้น เมื่อท้องพองขึ้น ให้กำหนดว่า “พองหนอ” เมื่อท้องยุบลง ให้กำหนดว่า “ยุบหนอ” ควรกำหนดโดยบริกรรมในใจ ไม่ต้องออกเสียง จุดประสงค์คือให้ผู้ปฏิบัติรับรู้สภาวธรรมที่เกิดขึ้น เราอาจใช้คำว่า “กำหนดรู้” “ระลึกรู้” “รู้” หรือ “ใส่ใจ” ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกัน

บางคนตั้งกฎเกณฑ์ว่า “ไม่ควรบริกรรมอย่างนั้น” หรือ “ควรบริกรรมอย่างนี้” แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ “ให้รับรู้สภาวธรรมที่เกิดขึ้น” การบริกรรมว่า “รู้หนอ” เพื่อแสดงการรับรู้ หรือ หากจะบริกรรมว่า “พิจารณาหนอ” ก็เพื่อแสดงการรับรู้เหมือนกัน การบริกรรมเป็นการแสดงถึงการรับรู้ ถ้าบริกรรมว่า “คิดหนอ” ก็เป็นการรับรู้ว่ามีความคิดเกิดขึ้น คำเหล่านี้มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ในที่นี้ เราจะใช้คำว่า “กำหนดรู้” เพื่อให้เข้าใจง่าย เมื่อท้องพองให้กำหนดรู้ว่า “พองหนอ” ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดการพอง และเมื่อท้องยุบให้กำหนดรู้ว่า “ยุบหนอ” ไม่พึงบังคับจังหวะการหายใจให้เปลี่ยนไป ควรหายใจปกติ ไม่พึงหายใจให้ช้าลง หรือเร็วขึ้น ไม่จำเป็นต้องหายใจแรงๆ แต่พึงหายใจตามปกติ เพียงกำหนดรู้ตามไปในขณะที่หายใจเท่านั้น การปฏิบัติวิปัสสนาหมายถึง ไม่กำหนดรู้สิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยสร้างหรือทำให้เกิดขึ้น แต่หมายถึงเป็นการกำหนดรู้ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและดับไปตามปกติ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะกำหนดรู้สภาวะพองขึ้นของท้องในขณะท้องพอง และสภาวะของยุบในขณะท้องยุบ หากจิตล่องลอยไป ในขณะกำหนดรู้ ก็ให้กำหนดรู้การล่องลอยของจิตด้วยการกำหนดว่า “ใจลอยหนอ” ถ้าใจลอยไปถึงสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ก็ให้กำหนดว่า “คิดถึงหนอ” ถ้าคิดวางแผนก็ให้กำหนดว่า “วางแผนหนอ” หรือ “คิดหนอ” การกำหนดรู้ทำได้ไม่ยากเลย เรียกว่า “จิตตานุปัสสนา” หลังจากนั้นให้มากำหนดรู้สภาวะพองยุบของท้องต่อไป

หากรู้สึกเมื่อย ร้อน หรือ เจ็บปวด ก็ให้กำหนดความรู้สึกนั้นๆ ด้วย ถ้าเมื่อยให้กำหนดว่า “เมื่อยหนอ” โดยพุ่งจิตไปยังจุดที่ๆ รู้สึกเมื่อย ถ้ารู้สึกร้อนให้กำหนดว่า “ร้อนหนอ” ส่งใจไปยังบริเวณที่รู้สึกร้อน ถ้ารู้สึกเจ็บให้กำหนดว่า “เจ็บหนอ” นี้เรียกว่า “เวทนานุปัสสนา” หลังกำหนดรู้เช่นนั้นแล้ว ให้กลับมากำหนดสภาวะพองยุบของท้องอย่างเดิม ถ้าได้ยินเสียงให้กำหนดว่า “ได้ยินหนอ” แล้วกลับมากำหนด สภาวะพองยุบของท้องต่อไป การกำหนดเพียงอารมณ์เท่านี้ในการนั่งเพียงชั่วครู่ก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้ว ในกรณีที่นั่งกรรมฐานตลอดทั้งวัน ผู้ปฏิบัติก็ควรกำหนดสภาวะเหยียดหรือคู้ และสภาวะเคลื่อนไหวอื่นๆ ของร่างกายด้วย พึงกำหนดรู้สภาวธรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมด การกำหนดรู้สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นขณะนั่งแต่ละครั้งนี้ เป็นเพียงการลิ้มรสธรรมะเท่านั้น คล้ายกับการลิ้มรสเกลือ จากหนังสือวัมมิกสูตร โดย พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ)

หมายเหตุ : มหาภูตรูป คือ รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธานของรูปทั้งหลาย มี ๔ ได้แก่ ธาตุดิน (ปฐวีธาตุ) ธาตุน้ำ(อาโปธาตุ) ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) ธาตุลม (วาโยธาตุ)



.........................................

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ7.5.54

    ถ้าอยากจะไปปฏิบัติที่นี่ต้องทำอย่างไรบ้างคะ รบกวนหน่อยนะคะ
    supara_1221@hotmail.com

    ตอบลบ
  2. ถ้าจะไปปฏิบัติที่ ตาณังเลณัง ต้องโทรไปจองล่วงหน้าครับ เพราะที่นี้คนเยอะ เลยต้องจองคิวกันไว้ล่วงหน้า เขาจารับคอร์ส หนึ่งประมาณ 30 คนครับ ถามรายระเอียด และ โทรจองได้ที่เบอร์โทร ด้านบนครับ

    แต่ถ้าต้องการจะปฏิบัติเลย ก็มีที่วัด มหาธาตุท่าพระจันทร์ กรุงเทพครับ ไปได้เลยตลอดเวลาไม่ต้องโทรจอง

    หรือ ถ้าต้องการทราบสถานที่อื่น ติดต่อได้ที่ฝ่ายข้อมูลของ บล็อกเราครับ โทร.085-3614882 (คุณ นาคเสน55)

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ2.12.55

    เดือนธันวาคมปี 2555 และเดือนมกราคม 2556 โครงการเต็มหรือยังค่ะขอทราบวันเวลาค่ะ ขอบคุณค่ะ









    ตอบลบ
  4. ต้องโทรไปสอบถามเจ้าหน้าที่ครับ เบอร์ Tel 053-887210 เราแค่นำเสนอข้อมูล ครับ






    ตอบลบ

บทความที่ได้รับความนิยม