Blog นี้สร้างมาเพื่อ เป็นสื่อกลางให้ผู้สนใจในการปฏิบัติ ได้มาศึษาหาความรู้ และ แนะนำสถานที่ปฏิบัติให้แก่ผู้สนใจ และ ช่วยนักปฏิบัติผู้กำลังหลงทาง ให้เจอทางออก และ เข้าถึงซึ่งความเป็นจริงของสภาวะ

21 มกราคม 2553

พระอาจารย์ สมภพ

ประวัติและปฏิปทา
พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
วัดไตรสิกขาทลามลตารามต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร
"กำลังสร้าง ภูเขา ตุงคะวารี"

อัตโนประวัติ “พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ” ประธานสงฆ์แห่งวัดไตรสิกขาทลามลตาราม และวัดนิเพธพลาราม ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร เป็นพระนักปราชญ์ พระนักปฏิบัติ พระนักเทศน์พระผู้เป็นพหุสูตร และพระผู้เสียสละเพียรอุทิศตนทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาแห่งภาคอีสานรูปหนึ่ง ที่ควค่าแก่การยกย่องอย่างยิ่ง


พระอาจารย์สมภพ มีนามเดิมว่า สมภพ ยอดหอ เกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู ณ บ้านแพด ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายจูม และนางสอน ยอดหอ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๒ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ มีชื่อตามลำดับดังนี้


๑. นายสุพัฒน์ ยอดหอ
๒. ด.ญ.สำราญ ยอดหอ (เสียชีวิตเมื่ออายุ ๑๔ ปี)
๓. นางบัวเรียน ยอดหอ
๔. นายวิจิตร ยอดหอ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
๕. พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
๖. นางคำมวล ป้องแสนกิจ
๗. นายบุญฮงค์ ยอดหอ
๘. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
๙. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
๑๐. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
๑๑. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
๑๒. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)



ครอบครัวของท่าน มีต้นกำเนิดที่บ้านนาผาง อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เมื่อครอบครัวประสพกับภาวการณ์ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความขัดสน โยมบิดา-โยมมารดาของท่านจึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานแห่งใหม่ ที่บ้านวังชมพู ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร เป็นที่น่าสังเกตว่าการอพยพครอบครัวมาที่จังหวัดสกลนครนั้น ก็เพื่อให้บุตรธิดามีชีวิตที่สดใส คล้ายๆ กับเป็นนัยยะว่า บุตรชายจะได้เป็นประทีปธรรมที่ส่องแสงสว่างแก่บุคคลผู้มืดมนในกาลข้างหน้า เมื่อคุณพ่อจูมและคุณแม่สอน ได้เล็งเห็นพื้นที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพแล้ว จึงได้อพยพครอบครัวมาที่บ้านวังชมพู จนถึงปัจจุบันนี้


หลวงปู่จูม สุจิตฺโต
โยมบิดาของพระอาจารย์สมภพ คือ คุณพ่อจูม ยอดหอ เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ท่านเป็นผู้มีจิตใจใฝ่ในทางธรรม ปฏิบัติตนเองตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเช่น การไปทำบุญตักบาตร รักษาศีล ๕ และอุโบสถศีลในช่วงเข้าพรรษา เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่และอุดมการณ์ของพุทธศาสนิกชนที่พึงปฏิบัติ เมื่อท่านเลี้ยงดูบุตรธิดาจนกระทั่งเติบโตสามารถเลี้ยงชีพด้วยตนเองได้แล้ว ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้รับนามฉายาว่า “สุจิตฺโต” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีจิตดี, ผู้มีความคิดดี”



หลวงปู่จูม สุจิตฺโต
หลวงปู่จูม สุจิตฺโต ได้ดำเนินชีวิตในเบื้องปลายที่พอเพียงอันควรแก่สมณวิสัย พูดน้อย มักน้อย สันโดษ ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม ปฏิบัติกรรมฐานอย่างมุ่งมั่น จนกระทั่งท่านได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ณ วัดนิพเพธพลาราม ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร โดยอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของพระอาจารย์สมภพ ซึ่งเป็นทั้งประธานสงฆ์และบุตรชาย พระธรรมคำสอนอันเป็นมรดกชิ้นสุดท้ายของหลวงปู่จูม สุจิตฺโต ที่ท่านได้ทิ้งมรดกธรรมไว้ให้แก่อนุชนชาวพุทธได้คบคิดนั้น มีใจความว่า



“.....ที่สิ้นสุดของกายคือ สิ้นลมหายใจ ที่สิ้นสุดของจิตคือ ตัวเราไม่มี ของเราไม่มี เมื่อใดพรหมวิหารของเรายังไม่ครบสี่ เมื่อนั้นเรายังวุ่นวายอยู่ เพราะยังวางมันไม่ลง ปลงมันไม่ได้ คนเราเป็นทุกข์อยู่กับธาตุสี่เพราะยังไม่เห็นธาตุรู้ รู้อย่างเดียว ไม่สุข ไม่ทุกข์ จิตนี้มันคือ (เหมือน) น้าม (น้ำ) น้ามมันชอบไหลลงสู่ทางต่ำ ถ้าคนสะหลาด (ฉลาด) กั้นมันไว้ มันก็จะไหลขึ้นที่สูง.....”
นี้คือคำสอนของหลวงปู่จูม ที่ท่านได้เขียนไว้ก่อนสิ้นลมหายใจ ซึ่งค้นพบใต้หมอนหลังจากท่านมรณภาพแล้ว ทั้งนี้ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในวัยชรา เพื่อหาทางพ้นทุกข์ ไม่มุ่งสอนผู้อื่น พูดน้อย มักน้อย สันโดษ ท่านเป็นลูกศิษย์ของพระโพธิ ญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี หลังจากฌาปนกิจศพแล้ว อัฐิของท่านมีสีขาวบริสุทธิ์ดุจปุยฝ้าย ส่วนโยมมารดาคือ คุณแม่สอน ยอดหอ ก็ได้ประพฤติปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตเฉกเช่นสามีและบุตรชาย กล่าวคือ ทำบุญตักบาตร ให้ทาน รักษาศีล ปฏิบัติธรรม เจริญภาวนา ตามสมควรแก่โอกาส จึงเป็นที่รู้จักกันดีของเพื่อนบ้านในตำบลแพด จนกระทั่งถึงปัจจุบัน



ชีวิตปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น พระอาจารย์สมภพเมื่อครั้งยังเยาว์วัยเป็นเด็กที่ ระลึกชาติได้ เมื่ออายุได้ ๔ ปี ได้รบเร้าบิดามารดาให้พากลับไปยังบ้านเกิดเดิม ที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อไปถึงท่านก็ทักทายคนแก่เหมือนกับเป็นรุ่นเดียวกัน โดยใช้คำพูดว่า “กู มึง” ทำให้เป็นที่แปลกใจของคนทั่วไป



สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ได้ว่าท่านจำเรื่องราวในอดีตได้คือ ท่านถามถึงเหล็กขอที่ใช้บังคับช้างที่ท่านเคยในอดีต และเก็บไว้บนหิ้งพระ ถามใครก็ไม่มีใครรู้ ทุกคนจึงบอกให้ท่านค้นหาเอง ท่านก็เจออยู่ที่เดิมบนหิ้งพระ คนทั่วไปจึงเชื่อว่าท่านระลึ กชาติได้ เพราะชาติก่อนท่านเป็นคนเลี้ยงช้าง



ครั้นเมื่อเติบโตถึงเกณฑ์เข้าโรงเรียน ท่านก็ได้รับการศึกษาเล่าเรียน จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ตามยุคของการศึกษาในขณะนั้น เมื่อจบการศึกษาแล้วท่านก็ได้ทำงานช่วยโยมบิดา-โยมมารดา ต่อมาท่านก็ได้ไปเป็นนักมวยสมัครเล่นเพื่อหาประสบการณ์ชีวิต เพราะการศึกษาในยุคนั้นยังลำบาก ไม่มีความเจริญด้านสื่อและอุปกรณ์ทางการศึกษาเหมือนปัจจุบันนี้ การได้รับการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ก็นับว่ามีการศึกษาสูงแล้ว รัฐไม่ได้บังคับให้ศึกษาดังปัจจุบันนี้



แต่ถึงกระนั้นท่านพระอาจารย์สมภพ ก็มิได้ย่อท้อ ได้พยายามพากเพียรจนสามารถนำความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และประสบการณ์ในชีวิต มาถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและพระพุทธศาสนาในกาลเวลาต่อมา


การบรรพชา ท่านได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่รุ่นทวด เพราะต้นกำเนิดบรรพบุรุษของท่านยึดมั่นในการทำบุญ ปฏิบัติธรรม รักษาศีล เป็นประจำ จึงนับได้ว่าเป็นครอบครัวที่เป็นสัมมาทิฎฐิ


ที่ใฝ่ในการปฏิบัติในครองแห่งสัมมาปฏิบัติ มีความใกล้ชิดและซาบซึ้งในหลักคำสอน ดังนั้น เมื่อท่านจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้ว ท่านก็ได้เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า เข้าบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ ขณะนั้นอายุ ๑๓ ปี เพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนอย่างจริงจัง ณ วัดสระแก้ววารีราม อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร โดยมีพระครูคัมภีร์ปัญญาคม เป็นพระอุปัชฌาย์



เมื่อสามเณรสมภพ ยอดหอ ได้รับการบรรพชาแล้ว ก็ได้ศึกษาหลักคำสอนและฝึกหัดปฏิบัติธรรม ศึกษาเล่าเรียนตามโอวาทของพระอุปัชฌาย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศึกษาท่องบทสวดมนต์ หรือเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน และศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม



เมื่อท่านบรรพชาเป็นสามเณรได้ ๔ ปี ท่านก็ได้ลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ ขณะนั้นอายุ ๑๗ ปี เพื่อไปประกอบอาชีพโดยได้ไปทำงานยังต่างประเทศ แถบทวีปแอฟริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง ถึง ๑๓ ประเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นหัวหน้ารับเหมาก่อสร้างถนนและสนามบิน รวมทั้ง ได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าคัมภีร์ไบเบิลของคริสต์ศาสนาด้วย ถึงขั้นอยู่ในระดับแนวหน้าจนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบาทหลวง



เมื่อท่านจะเข้าพิธีล้างบาปเพื่อเป็นบาทหลวง ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ คือน้ำที่จะใช้ในการประกอบพิธีได้เหือดแห้งไปถึงสามครั้ง
ทำให้ท่านได้พิจารณาโดยถ้องแท้ว่าเป็นหนทางที่ไม่ใช่และไม่เหมาะสมกับตนเองแต่อย่างใด ท่านจึงเริ่มหันชีวิตกลับเข้ามาสู่พระพุทธศาสนาอีกครั้ง ซึ่งเป็นศาสนาแรกที่ท่านดำเนินรอยตาม




จากนั้นท่านก็ได้ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกด้วยตนเอง ควบคู่กับการทำงานเลี้ยงชีพไปด้วย โดยใช้เวลาศึกษาพระไตรปิฎกเป็นเวลานานถึง ๑๑ ปี จนเข้าใจในพุทธธรรมอย่างลึกซึ้งแจ่มแจ้ง หลังจากนั้นท่านก็ได้รวบรวมปัจจัยจากค่าจ้างการทำงาน มาชื้อที่ดินเพื่อสร้างวัดบนเนื้อที่ ๕๐ ไร่ เพื่อจัดทำเป็นที่พักสงฆ์ แล้วนิมนต์พระสงฆ์ให้มาพำนักจำพรรษาแต่การทำประโยชน์ก็ไม่มากเท่าที่ควรตามเจตนารมณ์ ท่านเลยตัดสินใจลาออกจากงานเพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพื่อทำหน้าที่ศาสนทายาทและพุทธบุตร ดังปรากฏอย่างประจักษ์แจ้งในปัจจุบันนี้

การอุปสมบท
ครั้นเมื่อนายสมภพ ยอดหอ มีอายุได้ ๓๘ ปี ก็เกิดความคิดขึ้นว่า “การที่เราลงทุนไปสร้างวัดจะให้ได้ประโยชน์มากเราจะต้องบวช” จึงได้ตัดสินใจเดินทางกลับสู่ประเทศไทยอันเป็นมาตุภูมิ



เพื่อเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดเนินพระเนาวนาราม (วัดเนินพระเนาว์) ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ โดยมีพระครูภาวนาปัญญาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า “โชติปัญโญ” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีปัญญาอันโชติช่วงประดุจดวงประทีป” หลังจากอุปสมบท ก็ได้เข้าปฏิบัติกรรมฐานเป็นเวลา ๑ ปี (กล่าวคือ ปิดวาจา ไม่พูดคุยกับใคร นั่งสมาธิ เดินจงกรม ปฏิบัติกรรมฐานตลอดเวลา)
ครั้งแรกตั้งใจว่าจะปฏิบัติอย่างน้อย ๓ ปี แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามความประสงค์ เพราะพอครบ ๑ ปี หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ก็ได้เรียกท่านให้ไปแปลธรรมะภาคภาษาอังกฤษเป็นเล่ม และเทศน์ให้ชาวต่างชาติฟัง ทีแรกปฏิเสธ หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ก็ว่า “เฮา (เรา) กินข้าวเขาอยู่เด้” ก็เลยต้องปฏิบัติตามหลวงพ่ออย่างขัดไม่ได้ ในช่วงนั้นชาวฝรั่งได้ให้ความสนใจจะปฏิบัติธรรมเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นจำนวนมาก


ครั้นต่อมา มีชาวไทยที่มีความประสงค์จะฟังธรรมและปฏิบัติธรรม เข้าไปกราบหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์คือพระครูภาวนาปัญญาภรณ์ จะขอนิมนต์พระอาจารย์สมภพให้แสดงธรรมแก่ชาวไทยบ้าง มีชาวบ้านพูดกันว่า “พูดกับชาวฝรั่งก็ยังพูดได้ ทำไมไม่สั่งสอนคนไทยบ้าง” ก็เลยขัดศรัทธาญาติโยมไม่ได้


หลังจากนั้นท่านพระอาจารย์สมภพก็ได้รับภาระและธุระในพระพุทธศาสนา ด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับพระอุปัชฌาย์ในสถานที่ต่างๆ คือ พรรษาที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๒๘) ณ วัดเนินพระเนาวนาราม (วัดเนินพระเนาว์), พรรษาที่ ๒-๑๘ (พ.ศ.๒๕๒๙-๒๕๔๐) ณ วัดนิเพธพลาราม และพรรษาที่ ๑๙-ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๔๑-ปัจจุบัน) ณ วัดไตรสิกขาทลมลตาราม


สร้างวัดไตรสิกขาทลามลตาราม
พระอาจารย์สมภพ ได้เริ่มการประกาศตนเอง ในการเป็นผู้นำปฏิบัติและเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ โดยได้ดำเนินตามรอยพระบาทพระศาสดาอย่างน่าอนุโมทนา


ท่านยอมละทิ้งความสุข ความสบาย ที่ได้รับอย่างพรั่งพร้อมในชีวิตฆราวาส โดยไม่มีความอาลัยในสิ่งเหล่านั้น หันหลังให้กับโลกที่เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา อย่างไม่ท้อถอย ด้วยปณิธานที่มุ่งมั่นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา



"เฉกเช่นพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จหนีออกจากพระราชวัง เพื่อค้นหาพระสัจธรรมท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพร "


***ท่านกำลังสร้าง ภูเขาตุงคะวารี คลิกด้านใน***


****************************************

16 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12.2.55

    กมลวรรณ สายทอง
    โรงเรียนชุมชนวัดบางขัน
    ๖๘ หมู่ ๘ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ๗งปทุมธานี ๑๒๑๒๐
    ขออนุโมทนาบุญ ขอcd และ mp3 ของท่านพระอาจารย์สมภพ ด้วยค่ะ
    ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ18.7.55

    อีก 1 เส้นทางเลือกสำหรับท่านผู้ใฝ่ธรรมบรรยายของท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ ...
    ท่านเข้าไปเว็บกูเกิลพิมพ์คำว่า เว็บธรรมะไทย ท่านสามารถเลือกดาวน์โหลดธรรมบรรยายของท่านพระอาจารย์
    ได้เลยตามอัธยาศัย ส่วนโตข่ะน้อยเปิดฟังสุมื้อมักแฮงหลายแท้ ๆ และ ณ วันนี้เราจะหาพระคุณเจ้าเช่นท่านแทบจะไม่
    มีเลย ท่านเทศน์ฟังเข้าใจง่ายปฏิบัติตามก็ไม่ยากเหลือวิสัย เหมาะกับทุกเพศทุกวันโดยไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้
    หรือไม่มีก็ตาม ผมน้อมคารวะบูชาท่านพระอาจารย์มากที่สุด ขอภาวนาให้ท่านมีสุขภาพพลานามัยกลับเป็นปกติ
    และอยู่เป็นร่มโพธิ์ทองของชาวพุทธบริษัทสี่ทั้งคนไทยและพี่น้องทั่วทั้งโลกไปตลอดกาลเทอญ ... ลาวหมกฮวก

    ตอบลบ
  3. จัดส่งให้แล้วครับ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ24.7.55

    เพิ่งได้มาอ่าน blog ของคุณ
    ขอบคุณมากๆ นะคะ สำหรับการแบ่งปันสิ่งดีๆ
    ขออนุโมทนาบุญด้วยนะคะ ^_________^

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ29.8.55

    รัชนีภรณ์ โกศัลวัฒน์ 2/139 หมู่ 13 ต.วัดไทรย์ อ.เมืองฯ จ.นครสวรรค์ 60000 ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ และขอ cd + mp3 ของพระอาจารย์สมภพด้วยค่ะ ถ้าจะร่วมทำบุญด้วยจะโอนเงินเข้าบัญชีอย่างไรดีคะ

    ตอบลบ
  6. จัดส่ง CD ให้แล้วน่ะครับ.. ส่วนเรื่อง ทำบุญก็โอนเงินเข้าบัญชีทางวัดเลยครับ..เลขที่บัญชี..และเบอร์โทรทางวัดอยู่ด้านบนครับ..ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ6.11.55

    ได้รับ CD แล้วครับ ขอบคุณมากครับ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
    ให้ท่าน จงประสพโชคดีมีชัยชนะ พ้นอุปสรรค ปัญหา พญามาร
    ให้มีความสุขความเจริญ รุ่งเรืองมั่นคง ทั้งทรัพย์สินเงินทอง ลาภ ยศ สรรเสริญ ปรารถนาสิ่งหนึ่งประการใด
    ได้สมดังใจปรารถนาทุกสิ่ง ทุกประการ ให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้งปัจจุบัน และอนาคตทั้งชาตินี้และชาติหน้า และให้ได้ทำนุบำรุงรักษาพระพุทธศาสนา
    ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน เทอญ

    ทินกร ยาทะเล

    ตอบลบ
  8. ได้รับเเลัวครับ อนุโมทนาสาธุ

    ตอบลบ
  9. โมทนาสาธุกับมหาบุญวาสนาบารมีของท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปัญญา ที่ได้ทุ่มเททั้งชีวิตจิตใจทำงานรับใช้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์มาโดยตลอด แม้เหน็ดเหนื่อยมากแค่ไหนก็อดทนอดกลั้นต่อความทุกข์ยากลำบาก ไม่ยอมนอนหลับพักผ่อน ร่างกายรับไม่ไหวก็อาพาธไม่สามารถทำงานตามปกติต่อไปได้จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเหลือเกิน
    การเทศน์ของท่าน และผลงานของท่านทำประโยชน์ให้แก่ชาติ และพระพุทธศาสนามากเกินกว่าที่จะประมาณได้ ได้ฟังแล้วได้เห็นแล้ว ก็เกิดปีติ ยินดี อิ่มอก อิ่มใจเหลือเกิน ขอกราบอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยบันดาลให้ท่านหายเป็นปกติสุขโดยเร็วด้วยเทอญ... กราบนมัสการพระอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูง..ครอบครัวปิยพงศ์วิวัฒน์ จังหวัดเชียงใหม่

    ตอบลบ
  10. กิตธิยา วงค์สามารถ20.11.55

    สาธุค่ะ ชื่อ นส.กิตธิยา วงค์สามารถ 92/6-7 แฟลตไพรินทร์ สพานใหม่ สายใหม กทม.20220 ข้าพเจ้าขอสีดี อ.สมภพ เรื่องกรรมเก่าของท่านจะได้ไหมคะ...กราบอนุโมทนาบุญท่านที่ดูแลเรื่องนี้ล่วงหน้าด้วยเจ้าค่ะ...สาธุ

    ตอบลบ
  11. จัดส่งแล้วครับ

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ23.1.57

    ไม่ทราบว่ายังทันไหมค่ะ อยากได้ ไม่เคยฟังธรรมของใดรแล้วร้องไห้ตามเหมือนของท่าน กชพร กาฬหว้า รพ หนองสูง อ. หนองสูง จ.มุกดาหาร 49160

    ตอบลบ
  13. จัดส่งแล้วครับ

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ3.7.57

    ขอบคุณมากค่ะ ได้รับ ซีดีของพระอ.สมภพ จำนวน 2 แผ่น แล้วค่ะ ด้วยอำนาจของพระรัตนตรัย ขอผลบุญที่คุณรงฤทธิ์ได้ทำแล้ว ขอเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะค่ะ

    ตอบลบ
  15. ไม่มีประวัติตอนปฏิบัติกรรมฐานเลย

    ตอบลบ
  16. ไม่มีประวัติตอนปฏิบัติกรรมฐานเลย

    ตอบลบ

บทความที่ได้รับความนิยม