Blog นี้สร้างมาเพื่อ เป็นสื่อกลางให้ผู้สนใจในการปฏิบัติ ได้มาศึษาหาความรู้ และ แนะนำสถานที่ปฏิบัติให้แก่ผู้สนใจ และ ช่วยนักปฏิบัติผู้กำลังหลงทาง ให้เจอทางออก และ เข้าถึงซึ่งความเป็นจริงของสภาวะ

9 มิถุนายน 2565

วัดเขายี่สาร สมุทรสงคราม

 วัดเขายี่สาร อัมพวา สมุทรสงคราม





เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เป็นวัดบนยอดเขาแห่งเดียวใน จังหวัดสมุทรสงคราม






กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาไว้แล้วเมื่อ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ภายในวัดร่มรื่นเต็มไปด้วยต้นไม้มากมาย ยุงค่อนข้างเยอะ ควรพกขวดสเปรย์ฉีดยุงติดตัวมาด้วย




เมื่อมาถึงวัดจอดรถตรงด้านหน้าตีนเขา เดินไปทางป้ายบอกทางมีบันไดปูนขาว เดินขึ้นไปไปประมาณ 80 เมตร ทางด้านขวาจะพบถ้ำพระนอน ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่พระบาทมีเพียง 9 นิ้ว

ว่ากันว่านิ้วที่ 10 อยู่ที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี เพราะที่นั่นมีพระพุทธรูปที่มีพระบาท 11 นิ้ว
ถ้ำพระนอน










พระพุทธไสยาสน์ที่พระบาทมีเพียง 9 นิ้ว





เดินขึ้นไปด้านบนจะพบพระอุโบสถสร้างด้วยปูนขาวตามแบบวัดโบราณ สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างปูนปั้นจากเพชรบุรี





บันไดทางขึ้นสู่พระอุโบสถ






ถัดมาเป็นพระอุโบสถสร้างด้วยปูนขาวตามแบบวัดโบราณ ว่ากันว่าตกแต่งด้วยช่างฝีมือปูนปั้นจากเพชรบุรี เมื่อเดินเข้าไปจะมีทางเดินต่อไปยังวิหาร ระหว่างทางจะมีต้นไม้ใหญ่อายุกว่าร้อยปี เมื่อเอาหูไปแนบ ตั้งจิตให้นิ่ง จะได้ยินเสียงน้ำตก










ศาลาเก่าและหอระฆัง







เดินลึกเข้าไปอีกจะพบบันไดขึ้นไปสู่พระวิหาร ด้านบนเป็นลานกว้าง ซ้ายมือเป็นศาลาทรงไทยโล่งที่เก่ามากแล้ว ท้ายศาลาเป็นหอระฆัง ตรงกลางลานมีแท่นก่ออิฐเตี้ยๆ อยู่สามแถว สันนิษฐานว่าอาจจะเคยใช้เป็นที่วางของใส่บาตร และเจดีย์เก่าๆ หน้าวิหาร


ศาลาเก่า




ศาลานั่งฉันหรือศาลาหอฉันอยู่บนไหล่เขายี่สาร ใช้เป็นสถานที่ทำบุญเลี้ยงพระ



ลานบุญเป็นอิฐก่อเป็นแท่นยาวสำหรับวางสำรับคาวหวาน






วิหารแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอยอันเป็นองค์ประธานของวัด นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อปากแดง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีฐานรอบๆ เป็นลายปูนปั้น และที่ปากเป็นสีแดง





สันนิษฐานว่าเป็นงานช่างฝีมือชาวขอม เนื่องจากสมัยก่อนขอมจะนิยมทาปากพระพุทธรูปเป็นสีแดง พระมณฑปและบานประตูสลักไม้เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายซึ่งเป็นงานประณีตศิลป์ขั้นสูง

บานประตูเป็นไม้จำหลักรูปลายก้านขดกับลายสานอุโบสถ มีลายปูนปั้นสวยงาม

บานประตูสลักไม้ที่วิหารศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ทำเป็นลายเส้นแบบตะแกรง มีลายสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสองอยู่ตรงกลาง


พระพุทธรูปยืนหน้าพระวิหาร





พระอุโบสถวัดเขายี่สารบูรณะใหม่ประดับลวดลายปูนปั้นด้วยฝีมือช่างเมืองเพชร






ภายในมีภาพจิตรกรรมฝีมือเดิมที่บานหน้าต่างเป็นรูปบุคคลในพงศาวดารจีน
ประวัติ ปู่ศรีราชา และ ชุมชนยี่สาร





จีนขาน ผู้ก่อตั้งชุมชนยี่สารในตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่าชาวจีนผู้นี้ล่องเรือสำเภามากับพี่ชายและน้องชายอีกสองคน แล้วบังเอิญ แล่นเข้ามาชนภูเขาจนเรือแตก ทำให้พี่น้องสามคนต้องแยกย้ายกันไปตั้งหลักปักฐานอยู่ที่ต่างๆ จีนเครา พี่คนโตไปอยู่ที่เขาตะเครา จีนกู่น้องคนเล็กไปอยู่ที่เขาอีโก้ ส่วนจีนขานคนกลางก็ตัดสินใจลงหลักที่ยี่สาร
ซึ่งก็เป็นคุณปู่ศรีราชาบรรพบุรุษคนยี่สารที่คนเคารพนับถือและเป็นที่ยึดเหนี่ยวของชาวยี่สารมาจนถึงทุกวันนี้


กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เล่าถึงยี่สารเมื่อครั้งเสด็จตรวจราชการหัวเมืองในปี 2442 พอจะเห็นภาพประวัติศาสตร์ยี่สาร คนยี่สารไม่เคยยอมแพ้ ในตอนแรกเริ่มที่ตั้งถิ่นฐาน แม้จะตัดสินใจปักหลักที่นีเพราะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจอันคึกคัก แต่คนยี่สารก็พร้อมจะรับมือกับความลำบากยากแค้นที่ไม่มีน้ำใช้ ด้วยการรองนำฝนและออกเรือไป “ล่มน้ำ” หรือไปหาน้ำจืดบรรจุใส่เรือกลับมาจากแม่น้ำเพชรบุรี แม้ที่ดินในยี่สารจะไม่สามารถเพาะพืชพันธุ์ได้มากนัก แต่คนยี่สารก็รู้จักประยุกต์เอาวัชพืชริมทางชื่อ ชะคราม มาประกอบอาหารจนกลายมาเป็นของขึ้นชื่อของยี่สารในภายหลัง





ขณะเดียวกันก็ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่พอจะปลูกได้ในผืนดินของตัวเองโดยการปลูกป่าโกงกาง ในตอนแรกก็เพียงตัดเป็นฟืนไปส่งขายที่เมืองหลวงเท่านั้น แต่ต่อมาก็ได้รับความช่วยเหลือจากชาวจีนอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ผู้เข้ามายี่สารในปี 2480 พร้อมความรู้ในการสร้างเตาเผาถ่าน และเปลี่ยนไม้โกงกางให้เป็นถ่านชั้นเลิศ จนปัจจุบันถ่านของยี่สารกลายเป็นสินค้าส่งออกที่ส่งขายทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฯลฯ เพจ ถ่านไม้โกงกาง ถ่านอัดแท่งไม้โกงกาง-บ้านยี่สาร






ตำนานคุณปู่ศรีราชาเป็นเรื่องเล่าท้องถิ่นในแถบตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เล่าต่อกันมาว่า “คุณปู่ศรีราชาเป็นคนจีนที่ล่องเรือสำเภามาค้าขาย โดยมากันสามคนพี่น้อง พี่คนโตชื่อว่า “จีนเครา” คนรองชื่อว่า “จีนขาน” ส่วนคนสุดท้องชื่อว่า “จีนกู่”

เมื่อสามพี่น้องแล่นเรือมาจนถึงบริเวณเขายี่สารซึ่งในอดีตเป็นทะเล เรือสำเภาได้พุ่งชนกับเขาจนเรือแตก พี่น้องทั้งสามคนจึงต้องพลัดพรากจากกัน โดยพี่คนโตที่ชื่อจีนเคราได้ไปอยูที่ “เขาตะเครา” คนรองที่ชื่อจีนขานอยู่ที่ “เขายี่สาร” ส่วนน้องคนเล็กชื่อจีนกู่ได้ไปอยู่ที่ “เขาอีโก้” ทั้งสามพี่น้องได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่ต่างๆ ทำให้เกิดเป็นหมู่บ้านอยู่กันสืบมาจนทุกวันนี้” ชื่อ “ยี่สาร” สันนิษฐานว่ามากจาก “ยี่สาน” ซึ่งน่าจะมีรากมาจากคำว่า “ปสาน” หรือ “บาซาร์” ในภาษาเปอร์เซีย ที่หมายถึงตลาด เชื่อว่ายี่สารเคยเป็นชุมชนการค้ามาก่อน






ชาวยี่สารมีความเชื่อความศรัทธาต่อ “คุณปู่ศรีราชา” หรือชาวบ้านเรียกสั้นๆ ว่า “คุณปู่” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน เชื่อว่าคุณปู่เป็นสิ่งที่คอยปกป้องคุ้มครองหมู่บ้านให้แคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ เช่น ทำให้โจรไม่สามารถเข้าปล้นหมู่บ้านได้ในอดีต บนบานศาลกล่าวให้คุณปู่ช่วยปกป้องคุ้มครองในการเดินทางค้าขายที่

ในอดีตชาวบ้านต้องใช้การเดินทางทางเรือ คุณปู่ยังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในเรื่องต่างๆ เช่น สิ่งของสูญหาย การเจ็บไข้ได้ป่วย การสอบ การเกณฑ์ทหาร สารพัดปัญหาของชาวบ้านที่จะขอให้คุณปู่ช่วยเหลือ



ศาลเดิมของคุณปู่ศรีราชาตั้งอยู่บริเวณอู่ตะเภา มีลักษณะเป็นศาลไม้ยกพื้นเตี้ย ภายในบรรจุไม้เจว็ดเป็นสัญลักษณ์แทนคุณปู่ศรีราชา ทำจากไม้ตะเคียนขนาดราว 150 ซม. ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งศาลเนื่องจากศาลเดิมทรุดโทรม มาตั้งอยู่ที่บริเวณหน้าวัดเขายี่สาร และยังมีการบวชคุณปู่ศรีราชาเป็นพระและสร้างศาลให้ใหม่ โดยจัดงานบวชคุณปู่ในงานประจำปีคุณปู่กลางเดือนอ้ายหรือราวเดือนธันวาคม ราวปี พ.ศ. 2516 โดยใช้พระพุทธรูปปางประทานพรแทนไม้เจว็ด กลายสถานภาพเป็น “หลวงพ่อปู่ศรีราชา”






และสร้างศาลถาวร ในปี พ.ศ. 2517 ตั้งอยู่บริเวณหน้าสถานีอนามัยในปัจจุบัน เป็นอาคารหลังคาทรงจัตุรมุข ผนังด้านหลังทึบ ตกแต่งด้วยฝีมือช่างเมืองเพชร ประดิษฐานหลวงพ่อปู่ แต่ไม้เจว็ดก็ยังได้รับการดูแลและเก็บรักษาไว้ที่ศาลใหม่ด้วย เพราะคนเก่าคนแก่คนหมู่บ้านยังคงนับถือคุณปู่ที่เป็นไม้เจว็ดแบบเดิม เพราะเชื่อว่าคุณปู่เป็นคนจีนแก่ที่นุ่งขาวห่มขาว ไม่ใช่เป็นพระแต่อย่างใด พิพิธภัณฑ์วัดเขายี่สาร ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเขายี่สาร โดยใช้อาคารศาลาการเปรียญของวัดเป็นพิพิธภัณฑ์ เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2539 โดยรวบรวมข้าวของเครื่องใช้และโบราณวัตถุจากวัดเขายี่สาร รวมทั้งสิ่งของที่รับบริจาคมาจากชาวบ้านในชุมชนยี่สาร เพื่อให้ผู้สนใจ ได้มีความรู้ทางด้านโบราณคดี วิถีชีวิต ความเป็นมา ของชุมชนยี่สาร พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้ชมเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์สามารถเข้าชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.
เมื่อราว ๕๐ ปีมาแล้ว มีพระสงฆ์ธุดงค์มาจากสุพรรณบุรีมาจำวัดที่วัดเขายี่สารแล้ว หลับฝันเห็นคนจีนแก่ๆ นุ่งขาวห่มขาว ถักผมเปียยาวไว้หนวดไว้เครายาวมาหาพระท่าน

จึงได้จ้างช่างเข้ามาเขียนรูปคุณปู่ที่เห็นในฝันนำไปเก็บไว้ในศาลแล้วเรียกนามว่า ปู่ขาวศรีราชา ในปัจจุบันมีผู้นำทองมาปิดจนมองไม่เห็นรูปวาดเลย จนต้องขอร้องให้เว้นพื้นที่กระจกบริเวณใบหน้าไว้




ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ทางวัดทำเหรียญคุณปู่ออกมาให้บูชาไว้ให้คนในชุมชนห้อยคอ ครั้งแรกทำเป็นรูปไม้เจว็ดมีเทวดายืนอยู่ด้านใน ต่อมาก็สร้างรุ่น พ.ศ.๒๕๒๓ และในระยะปีหลังๆ ก็มีการจัดทำขึ้นแทบทุกปีเพื่อแจกผู้บริจาคเงินสมโภชน์หรือผู้ที่เข้ามาขอทั่วไปโดยไม่เกี่ยงว่าจะทำบุญเท่าใด หลังจากออกเหรียญเป็นไม้เจว็ดเทวดาไปได้หนึ่งปี ในปีพ.ศ. ๒๕๑๗ พระครูสมุทรวิสุทธิคุณหรือหลวงพ่อผินเจ้าอาวาสรูปต่อมา จึงตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์และคัดเลือกรูปแบบของพระพุทธรูป โดยไปซื้อพระพุทธรูปปางประทานพรแถวๆ เสาชิงช้า แทนการหล่อที่คิดว่าคงสิ้นเปลืองเงินทองมากเกินไป เหตุที่เลือกพระพุทธรูปปางประทานพรแทนไม้เจว็ด เพราะเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงคุณปู่ที่ผู้คนนิยมมาขอพรกันอยู่เสมอ

ส่วนไม้เจว็ดที่เคยเป็นสัญลักษณ์แทนตัวคุณปู่ศรีราชา เป็นแผ่นไม้ยาวปลายรูปเหลี่ยมข้าวหลามตัดที่ด้านบน ขนาดของไม้ที่ตั้งอยู่ในศาลยาวประมาณ ๑๕๐ ซม. เล่ากันว่ามีช่างไม้จากที่อื่นเข้ามาซ่อมหลังคาพระอุโบสถนานกว่า ๘๐ ปีมาแล้วได้แกะสลักไม้เจว็ดให้มีสัญลักษณ์ เป็นรูปเทวดายืนถือพระขรรค์อยู่ด้านใน
ตำนานคุณปู่ศรีราชา ลักษณะของตำนานในบริเวณประเทศไทยโดยสังเขป โดย ปรานี วงศ์เทศ ในอดีต เนื่องจากยี่สารอยู่ในเขตห่างไกลจึงเป็นแหล่งหลบซ่อนของพวกชุมโจรดังๆ หลายก๊ก เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งโจรกลุ่มหนึ่งจะเข้าปล้นบ้านยี่สาร ชาวบ้านเตรียมตัวพร้อมกับบนบานให้คุณปู่ช่วยเหลือ ทำให้โจรไม่สามารถเข้าปล้นได้ ในอดีต เนื่องจากหมู่บ้านยี่สารอยู่ชายทะเลดกดื่นด้วยป่าโกงกางอยู่ในเขตห่างไกลความเจริญจากตัวเมือง จึงเป็นแหล่งหลบซ่อนของพวกชุมโจรดังๆ หลายก๊ก



เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งโจรกลุ่มหนึ่งจะเข้าปล้นบ้านยี่สาร ชาวบ้านเตรียมตัวพร้อมกับบนบานให้คุณปู่ช่วยเหลือ ทำให้โจรไม่สามารถเข้าปล้นได้และแม้บริเวณนี้จะเป็นแหล่งที่อยู่ชุมโจร แต่บ้านยี่สารไม่เคยถูกเข้าปล้นแม้สักครั้งเดียว หรือเป็นกำลังใจเมื่อเดินทางออกไปนอกชุมชน หรือการออกไปทำมาหากินต่างถิ่น




หมายเหตุ
ป้ายไม้เจว็ด เจว็ด หรือเรียกว่า ตระเว็ด หรือ เตว็ด ในบางแห่ง ความหมายตามพจนานุกรมหมายถึง “รูปเทพารักษ์ที่ประดิษฐานไว้ในศาลเจ้าหรือศาลพระภูมิ” เป็นแผ่นป้ายที่ทำจากไม้เรียบๆ ส่วนใหญ่ทาสีแดงแต่ก็ถูกปิดทองจนไม่เห็นสีที่ทาอยู่ ลักษณะเป็นยอดแหลมหรือป้านด้านปลายเรียวกว่า ขนาดและความยาวของแผ่นป้ายขึ้นอยู่กับขนาดของศาลด้วย เจว็ดหลายๆ แห่งแกะลงในเนื้อไม้หรือเขียนเป็นรูปเทวดาก็มี แต่ก็มักสืบทราบได้ว่าเป็นการทำขึ้นในภายหลังทั้งนั้น หากเป็นศาลผีหรือศาลเจ้าในชุมชน ลักษณะเป็นศาลาขนาดเล็กๆ สี่เสา ส่วนใหญ่ทาสีแดง แผ่นป้ายไม้เจว็ดมักมีขนาดใหญ่ตามขนาดศาลและวางไว้ที่มุมๆ หนึ่ง เพราะไม่มีแท่นรองรับ หากอยู่ในศาลพระภูมิเจ้าที่ซึ่งเป็นศาลเสาเดียวขนาดเล็ก แผ่นป้ายไม้เจว็ดก็จะมีขนาดเล็กลงไปด้วย ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า “เจว็ด” เป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนของ “ผี” หรือ “เจ้า” ที่สถิตอยู่ในศาลนั้นๆ อย่างไรก็ตาม ป้ายไม้เจว็ดมีลักษณะเช่นเดียวกับองค์ประกอบในศาลเจ้าจีน ที่มีป้ายสถิตวิญญาณตั้งไว้บนแท่นบูชา เช่นเดียวกับศาลเจ้าประจำบ้านที่มักตั้งไว้บนพื้น ก็มีป้ายวิญญาณเช่นเดียวกัน ซึ่งมักเป็นวิญญาณบรรพบุรุษ ดังนั้น สิ่งที่เรียกกันว่า “เจว็ด” ในวัฒนธรรมไทยแถบภาคกลางจึงน่าจะสืบเนื่องมาจากแผ่นป้ายวิญญาณในศาลเจ้าของวัฒนธรรมจีน พระพุทธรูปปางประทานพร



พระพุทธรูปปางประทานพร "หลวงพ่อปู่ศรีราชา" สัญลักษณ์ของคุณปู่ศรีราชา ที่เปลี่ยนโดยเจ้าอาวาสวัดเขายี่สารเมื่อราว ๓๐ กว่าปีมาแล้ว

_______________________________________________________________________________________________________

บทความที่ได้รับความนิยม