Blog นี้สร้างมาเพื่อ เป็นสื่อกลางให้ผู้สนใจในการปฏิบัติ ได้มาศึษาหาความรู้ และ แนะนำสถานที่ปฏิบัติให้แก่ผู้สนใจ และ ช่วยนักปฏิบัติผู้กำลังหลงทาง ให้เจอทางออก และ เข้าถึงซึ่งความเป็นจริงของสภาวะ

10 พฤศจิกายน 2564

ประวัติพระอาจารย์บุญมี เมธางกูร

 ข้าพเจ้าได้รู้จักพระอาจารย์บุญมีเมธางกูร ครั้งแรก จากการได้อ่านหนังสือของท่าน โดยพระวิปัสสนาจารย์ ได้ให้หนังสือ ตีแผ่ไสยศาสตร์ , ซอกแซกไปตามภพภูมิ,พลังงานในพระพุทธศาสนา และอื่นๆ ให้ข้าพเจ้าได้อ่านศึกษา



ขณะที่อ่านหนังสือของท่านอาจารย์บุญมี ข้าพเจ้าเองรู้สึกถึงธรรมะที่ท่านได้สอน ได้อธิบายไว้ รู้สึกว่า พออ่านไป อ่านไป แต่ละประโยค แต่ละคำ ก็วิ่งเข้ามาสู่ใจ เหมือนท่านมาอธิบาย มาสอนให้เราฟังจริงๆ 

นี่คงจะเป็นพลังบารมีคงพระผู้ปฏิบัติปฏิบัติชอบ เมื่อเราได้อ่านหนังสือ หรือ ได้ฟังเสียงของท่านก็ดี ก็สามารถสัมผัสได้ถึงบารมีธรรมของท่าน จึงรู้สึกเหมือนท่านมาอธิบาย มาสอนเราจริงๆ 

เหมือนพลังบารมีของพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า แม้ท่านปรินิพพานไปแล้ว แต่เราก็สามารถสัมผัส หรือเข้าถึงบารมีธรรมของท่านได้ เป็นพุทธานุภาพ ธรรมมานุภาพ สังฆานุภาพ นั้นเอง


ด้วยความเคารพและศรัทธาในพระอาจารย์บุญมี เมธางกูร

Nakasena 4999


รำลึกถึง ประทีปดวงเอก





พระอาจารย์บุญมี เมธฺงกุโร บ.ช.,บ.ม.

นามเดิม บุญมี เมธางกูร เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พศ. ๒๔๕๑ ปีวอก ที่จังหวัดอยุธยา เป็นบุตรคนแรกของคุณปู่เกา และคุณย่าแก้ว เมธางกูร มีพี่น้องรวม ๔ คน คือ

๑. นายบุญมี เมธางกูร
๒. นายมาโนช เมธางกูร
๓. นายบุญเชิด เมธางกูร
๔. นายบุญชู เมธางกูร


ปี พศ. ๒๔๘๔ สมรสกับคุณแม่สุรีย์ ศศะสมิต มีบุตร ธิดา ๖ คน คือ


๑. นายบุญชัย เมธางกูร
๒. นางพัทยา ชมพูนุท ณ. อยุธยา
๓. นายสุมน เมธางกู
๔. นายโสภณ เมธางกูร
๕. นายโกศล เมธางกูร
๖. นางสาวบุษกร เมธางกูร

อุปสมบท

ครั้งแรก เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ณ. พัทธสีมาวัดพนัญเชิง จังหวัดอยุธยา


ครั้งที่ ๒ เมื่อพศ. ๒๕๓๐ ณ. พัทธสีมาวัดศรีประวัติ จังหวัดนนทบุรี มีพระมหาแสวง โชติปาโล เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ได้ตั้งปณิธานว่าจะถือเพศบรรพชิตตลอดชีวิต




การศึกษา

จบหลักสูตรวิชาครูประถมศึกษา (ป.ป.) ท่านยังได้ศึกษาวิชาศิลปะวาดเขียน และช่างปั้นเพิ่มเติมโดยศึกษากับ ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี


ปี พศ. ๒๔๗๒หลังจบการศึกษา ได้เข้ารับราชการครูที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย




ปี พศ. ๒๔๘๒ ได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่กรุงเทพ ฯ ท่านจึงย้ายมาสอนที่ โรงเรียนมัธยมวัดศรีสะเกศ


ระหว่างนี้ท่านได้ คิดค้นส่วนผสมผลิตชอรค์เขียนกระดานดำ โดยทำเป็นแท่ง ไม่เปราะหักง่าย เขียนลื่น ลบแล้วไม่ติดกระดานดำ ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย จนประสบความสำเร็จ ทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เปิดร้านผลิตจำหน่ายแถวบางลำภู ชื่อร้านศรีอยุธยา

กิจการดำเนินมาด้วยดี จนในปี พศ. ๒๕๐๕ สามารถจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลศรีอยุธยา และปัจจุบันจดทะเบียนเป็น บริษัท ศรีอยุธยาผลิตภัณฑ์ จำกัด


นอกจากจะประสบความสำเร็จด้านอุตสาหกรรมแล้ว ท่านยังมีความสนใจในด้านเกษตรกรรมด้วย ได้เปิดฟาร์มเลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ ชื่อฟาร์มศรีอยุธยา ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สร้างโรงฟักไข่ ได้รับเชิญไปสาธิตการทำฟาร์มในงานที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นประจำ


ท่านได้ทุ่มเทดำเนินธุรกิจทั้งด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมอย่างหนัก ทำให้สุขภาพเสื่อมลง ท่านป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารพิการ เกิดความทรมาน และเบื่อหน่ายในธุรกิจการงานที่ทำอยู่

นั่นเป็นสาเหตุชักนำให้ท่านมาพบ และศึกษาในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ได้ประจักษ์ในเรื่องบาป บุญ จนทำให้ท่านเลิกกิจการฟาร์มเลี้ยงไก่ในเวลาต่อมา



ย้อนหลังกลับไปเมื่อห้าสิบปีก่อน.......


ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ อาจารย์บุญมี เมธางกูร ผู้ซึ่งเป็นกรรมการธรรมศึกษาของพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เนินการเปิด “โรงเรียนบรรยายพระอภิธรรมปิฎก” ขึ้นในพุทธสมาคมฯ โดยได้เชิญคณาจารย์หลายท่านมาร่วมเป็นอาจารย์สอนพระอภิธรรม ได้แก่ อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ และคุณพระชาญบรรณกิจ เป็นต้น ในขณะนั้น พุทธสามาคมฯมีสำนักงานอยู่ที่มหามงกุฎราชวิทยา หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ เนื่องจากเกิดปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมการสอนและการกำหนดนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา



งานศึกษาและเผยแผ่พระศาสนา

ในปี พศ. ๒๔๙๔ ระหว่างที่ท่านเกิดความเบื่อหน่ายการงาน อันเนื่องจากโรคกระเพาะอาหารอยู่นั้น ท่านได้ตระเวนไปในที่ต่าง ๆ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด วันหนึ่งท่านได้เดินผ่านหน้าวัดบวรนิเวศน์วิหารเห็นป้ายประกาศของพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเรื่อง การบรรยายพระอภิธรรม มีการซักถาม ตอบข้อข้องใจต่าง ๆ จึงได้แวะเข้าไปฟังการบรรยาย ได้พบกับท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ หลังจากสนทนากับท่านอาจารย์แนบ ฯ ได้เกิดความสนใจ และซาบซึ้งในพระอภิธรรมอย่างยิ่ง ท่านอาจารย์แนบ ฯ จึงได้ชวนให้มาศึกษาอย่างจริงจัง

อาจารย์บุญมี เมธางกูร จึงได้ก่อตั้งอภิธรรมมูลนิธิขึ้น เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ณ บ้านเลขที่ ๓๐๑ ต.บางยี่ขัน จ.ธนบุรี ซึ่งเป็นบ้านของตนเอง และบริจาคเงินส่วนตัวจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท เป็นทุนสำหรับจดทะเบียนมูลนิธิ ส่วนสถานที่บรรยายธรรมยังคงขอใช้สถานที่ของพุทธสามาคม ฯ ดังเดิม


ประมาณปีพ.ศ.๒๕๐๔ พุทธสมาคมฯ ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนพระอาทิตย์ การบรรยายพระอภิธรรมของอาจารย์บุญมีก็ได้ย้ายติดตามมาดำเนินอยู่ในที่เดียวกันนี้ และในปีดังกล่าว อภิธรรมมูลนิธิก็ได้บรรจุอาจารย์สอนพระอภิธรรมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งท่าน คือ อาจารย์วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี ซึ่งเป็นนักเรียนที่เข้ามาเรียนพระอภิธรรมกับอาจารย์บุญมี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๒

ครั้นต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๗ โรงเรียนบรรยายอภิธรรมก็ประสบกับมรสุมลูกใหญ่ มีอันต้องปิดการเรียนการสอนที่พุทธสมาคมฯลงโดยฉับพลัน ในระหว่างที่จัดหาสถานที่ตั้งโรงเรียนบรรยายธรรมอยู่นั้น

ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ คุณสด สังขพิทักษ์ กรรมการเลขานุการของมูลนิธิ ก็ได้มอบที่ดินจำนวน ๕ ไร่ ให้แก่อภิธรรมมูลนิธิ




อาจารย์บุญมี เมธางกูร จึงได้ก่อตั้งอภิธรรมมูลนิธิขึ้น เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ณ บ้านเลขที่ ๓๐๑ ต.บางยี่ขัน จ.ธนบุรี ซึ่งเป็นบ้านของตนเอง และบริจาคเงินส่วนตัวจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท เป็นทุนสำหรับจดทะเบียนมูลนิธิ ส่วนสถานที่บรรยายธรรมยังคงขอใช้สถานที่ของพุทธสามาคม ฯ ดังเดิม






ประมาณปีพ.ศ.๒๕๐๔ พุทธสมาคมฯ ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนพระอาทิตย์ การบรรยายพระอภิธรรมของอาจารย์บุญมีก็ได้ย้ายติดตามมาดำเนินอยู่ในที่เดียวกันนี้ และในปีดังกล่าว อภิธรรมมูลนิธิก็ได้บรรจุอาจารย์สอนพระอภิธรรมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งท่าน คือ อาจารย์วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี ซึ่งเป็นนักเรียนที่เข้ามาเรียนพระอภิธรรมกับอาจารย์บุญมี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๒

ครั้นต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๗ โรงเรียนบรรยายอภิธรรมก็ประสบกับมรสุมลูกใหญ่ มีอันต้องปิดการเรียนการสอนที่พุทธสมาคมฯลงโดยฉับพลัน ในระหว่างที่จัดหาสถานที่ตั้งโรงเรียนบรรยายธรรมอยู่นั้น




ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ คุณสด สังขพิทักษ์ กรรมการเลขานุการของมูลนิธิ ก็ได้มอบที่ดินจำนวน ๕ ไร่ ให้แก่อภิธรรมมูลนิธิ ระยะเวลา ๑๘ ปี ที่ท่านอาจารย์บุญมี ใช้อาคารแห่งนี้เป็นที่ถ่ายทอดความรู้ และผลิตบุคลากรทางพระศาสนาที่ทรงคุณภาพรวมทั้งการให้ความสงเคราะห์แก่ผู้ทุกข์ยากทั้งหลาย


ทั้งครอบครัวของท่านอาจารย์เอง
ก็มาร่วมฟังธรรมด้วย

คุณปู่เกา คุณย่าแก้ว
อาจารย์บุษกร (บุตร)
คุณสุรีย์ (ภรรยา)
อาจารย์บุษกร (บุตรคนเล็ก) ได้ใช้ชีวิตอุทิศเพื่อพระพุทธศาสนา ร่วมกับท่านอาจารย์บุญมีอย่างไม่ย่อท้อ


ตั้งแต่เริ่มบุกเบิก จนเป็นที่ยอมรับของพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ เสมอมา


พระธรรมราชานุวัตร (หลวงเตี่ย)

พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล)


พระอาจารย์สุนทร ฐิตกาโม (สุขเถื่อน)



ผู้สนับสนุนกิจกรรมของมูลนิธิ ฯ มาตลอด

การบรรยายธรรม และการแสดงบทพิสูจน์ต่างๆเพื่อให้มีความเชื่อในเรื่องกรรม เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด การล้างความเห็นผิดที่คิดว่าตายแล้วสูญนั้น ได้ก่อตำนานขึ้น ณ อาคารแห่งนี้อย่างยาวนาน


คณะบุคคล ผู้ร่วมอุดมการณ์ สายธารธรรม
(จากซ้ายใส่แว่นตา) พระมหาชม ภูริปัญโญ
พระอาจารย์สุนทร ฐิตกาโม(สุขถื่อน)
อาจารย์บุญมี เมธางกูร
อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
อาจารย์วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี
(ด้านหลัง)คุณเยาวเรศ บุญนาค

(ขวาสุด) อาจารย์สมพร ศรีวราทิตย์
สายธรรมทาน ศิษย์แต่ละท่าน ที่เป็นผู้หว่านโปรยเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ด้วยมือของตนเองบ้างแล้ว คือ

ด้วยการเชิญชวนให้มาเป็นครูผู้สอนพระอภิธรรม หรือสนับสนุนให้แยกย้ายไปตั้งสถานที่ศึกษาต่างหากตามความต้องการ มีนักศึกษาจำนวนมากติดตามมาฟังคำบรรยาย และซักถามปัญหาที่ข้องใจ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับภพภูมิ และการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งบรรยากาศการเรียนการสอนในขณะนั้นเต็มไปด้วยความเข้มข้นในการพิสูจน์จากนักวิชาการ เช่น ศ.ดร.ระวี ภาวิไล เป็นต้น


ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ หลังจากอุปสมบทได้เพียงปีเศษ สุขภาพของพระอาจารย์บุญมีเริ่มทรุดโทรมลง เนื่องจากการตรากตรำทำงานด้านการเผยแพร่พระอภิธรรมทั้งโดยการบรรยายภายในสถานที่ของมูลนิธิ คือ ศาลาเสือพิทักษ์ และสำนักปฏิบัติวิปัสสนาอ้อมน้อย


(จากซ้ายใส่แว่นตา) พระมหาชม ภูริปัญโญ

พระอาจารย์สุนทร ฐิตกาโม(สุขถื่อน)
อาจารย์บุญมี เมธางกูร
อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
อาจารย์วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี
(ด้านหลัง)คุณเยาวเรศ บุญนาค
(ขวาสุด) อาจารย์สมพร ศรีวราทิตย์


สายธรรมทาน ศิษย์แต่ละท่าน ที่เป็นผู้หว่านโปรยเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ด้วยมือของตนเองบ้างแล้ว คือ


อาจารย์วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี
อาจารย์ประณีต ก้องสมุทร
อาจารย์สุเทพ โพธิสัทธา อาจารย์นิยม ฤทธิ์เสือ
อาจารย์วินัย อ.ศิวะกุล
อาจารย์สรรคชัย พรหมฤาษี ศจ.นพ.จำลอง หะริณสุต
คุณพูลศรี เจริญพงษ์
คุณสุนีย์ พิรัถโยธิน


ด้วยการเชิญชวนให้มาเป็นครูผู้สอนพระอภิธรรม หรือสนับสนุนให้แยกย้ายไปตั้งสถานที่ศึกษาต่างหากตามความต้องการ มีนักศึกษาจำนวนมากติดตามมาฟังคำบรรยาย และซักถามปัญหาที่ข้องใจ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับภพภูมิ และการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งบรรยากาศการเรียนการสอนในขณะนั้นเต็มไปด้วยความเข้มข้นในการพิสูจน์จากนักวิชาการ เช่น ศ.ดร.ระวี ภาวิไล เป็นต้น


ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ หลังจากอุปสมบทได้เพียงปีเศษ สุขภาพของพระอาจารย์บุญมีเริ่มทรุดโทรมลง เนื่องจากการตรากตรำทำงานด้านการเผยแพร่พระอภิธรรมทั้งโดยการบรรยายภายในสถานที่ของมูลนิธิ คือ ศาลาเสือพิทักษ์ และสำนักปฏิบัติวิปัสสนาอ้อมน้อย





และปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ ขณะที่ท่านมีอายุ ได้ ๘๑ ปี


ทางครอบครัวได้นำท่านเข้ารับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลธนบุรีโดยละเอียด และได้ตรวจพบมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจได้แนะนำให้ทำการผ่าตัดโดยด่วน หลังการผ่าตัดแล้ว ท่านได้พักรักษาตัวอยู่ประมาณ ๒ เดือน แล้วจึงได้กลับมาจำพรรษาที่สำนักวิปัสสนาอ้อมน้อย ตามสถานที่ต่างๆที่ได้เชิญมาต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลธนบุรีอีกครั้ง จากการตรวจเลือดครั้งสุดท้าย พบว่ามะเร็งได้ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองและลามมาที่สะโพก แต่เนื่องจากวัยชราและร่างกายทรุดโทรมมาก แพทย์จึงไม่แนะนำให้ผ่าตัดอีกแล้ว แต่ทำการรักษาโดยส่งไปฉายรังสีที่ศูนย์มะเร็งกรุงเทพฯ


วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ พระอาจารย์มีอาการไข้ขึ้นสูง และถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลธนบุรีเป็นครั้งสุดท้าย โดยต้องเข้าพักรักษาในห้อง I.C.U. ต้องให้อาหารทางสายยาง ให้เลือด น้ำเกลือและออกซิเจนตลอด เวลาจนกระทั่ง วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ ความดันโลหิตเริ่มลดลงเรื่อยๆ เมื่อเวลา ๐๐.๔๕ น. ท่านก็ได้จากไปด้วยอาการสงบ


คือประทีปดวงงามยามแรกเริ่ม
คือผู้เพิ่มทางปัญญาพาผ่องใส
คือผู้นำอภิธรรมให้ก้าวไกล
คือผู้ใช้ชีพนี้พลีเพื่อธรรม


 
............................................
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม