Blog นี้สร้างมาเพื่อ เป็นสื่อกลางให้ผู้สนใจในการปฏิบัติ ได้มาศึษาหาความรู้ และ แนะนำสถานที่ปฏิบัติให้แก่ผู้สนใจ และ ช่วยนักปฏิบัติผู้กำลังหลงทาง ให้เจอทางออก และ เข้าถึงซึ่งความเป็นจริงของสภาวะ

2 พฤศจิกายน 2564

ผู้ปฏิบัติธรรมคือผู้ที่ตัดช่องน้อยไปแต่ผู้เดียวหรือไม่

 



ผู้ปฏิบัติธรรมคือผู้ที่ตัดช่องน้อยไปแต่ผู้เดียวหรือไม่
โดย เจ้าคุณโชดก

   
            ( ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นผู้ตัดช่องน้อยไปแต่ผู้เดียว) ที่เข้าใจอย่างนั้นผิดมากทีเดียว เพราะพระศาสนาสอนให้แก้ตัวเอง มิได้สอนให้แก้คนอื่น สมมุติว่ามีคนอยู่ ๕ คนด้วยกัน คนที่หนึ่งก็จะคิดแก้คนที่สอง คนที่สองก็จะคิดแก้คนที่หนึ่งต่างฝ่ายต่างคิดแก้กันและกันอยู่อย่างนี้ตลอกไป แม้คนที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ก็จะคิดโดยทำนองนี้ มิได้คิดแก้ตัวเอง คอยจับผิดแต่ผู้อื่นอยู่ หารู้ไม่ว่ามือ ๕ นิ้วที่ชี้ไปหาผู้อื่นนั้น อันที่จริงชี้ไปเพียงนิ้วเดียวเท่านั้น ที่เหลืออีก ๔ นิ้ว กลับชี้เข้าหาตัวเองทั้งนั้น ถ้าไม่เชื่อลองชี้เองก็แล้วกัน
 


     ทั้งหมดนี้ก็เพราะความผิดของเรามีมากกว่าผู้อื่นหลายหมื่นหลายแสน แต่เรามองไม่เห็นต่างหาก เข้าหลักที่ว่า “ โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย ฝ่ายของตนเห็นได้ยาก ” ผลที่สุดคนทั้ง ๕ คนนั้นก็หาคนดีเสียมิได้แม้สักคนเดียว

     ถ้าคนทั้ง ๕ คนนั้นคิดแก้ตัวเอง คิดฝึกตัวเอง สร้างตัวเองให้เป็นแม่พิมพ์ที่ดีของผู้อื่นก่อน แล้วจึงค่อยสอนผู้อื่นภายหลัง มิใช่ตัดช่องน้อยไปแต่ผู้เดียว การปฏิบัติอย่างนี้แหละยิ่งเป็นการทำให้พระศาสนาแผ่รัศมีรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ ไพศาลทวีคูณขึ้นเป็นลำดับๆดุจพระจันทร์เพ็ญลอยเด่นอยู่กลางนภาฉะนั้น





ปฏิบัติแล้วเห็นพระพุทธเจ้าคือบรรลุธรรมใช่หรือไม่
            ถ้านั่งภาวนาไปได้เห็นพระพุทธเจ้า จับมือถือแขนได้ พูดได้ คุยได้ บางคนนั่งไปเห็นพระอรหันต์บ้าง เห็นพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบ้าง เห็นเทวดาบ้าง บางคนนั่งไปก็เห็นจระเข้ เห็นเสือ เห็นงู เห็นคนตายมาขอส่วนบุญบ้าง แต่ลืมตาแล้วก็ไม่เห็น อันนี้ท่านเรียกว่าญาณหลอก เป็นสมถะ แต่ที่เป็นวิปัสสนาก็มี ท่านเรียกว่าวิปัสสนูปกิเลสอยู่ในญาณที่ ๓ อย่างแก่ เรียกว่า สัมมสนญาณ เข้าเขตญาณ ๔ อ่อนๆ เป็นสมถะ ถ้าเป็นวิปัสสนาก็อยู่ในเขตสมถะ ยังไม่ใช่ตัววิปัสสนาแท้ ผู้ที่เจริญสมถะก็เห็นได้ ผู้ที่เจริญวิปัสสนาก็เห็นได้


            แล้วจะแก้อย่างไรจึงจะเป็นวิปัสสนา ไม่ยาก ถ้าเห็นเป็นพระพุทธเจ้ามาให้กำหนดดู “เห็นหนอ เห็นหนอ” ก็จะหายไป ถ้าลืมตาก็ไม่มีภาพนิมิตทั้งหลายเหล่านี้แล้ว นี่เป็นอุปกิเลสอย่างหนึ่งที่เข้าไปกวนให้วิปัสสนาเศร้าหมอง ตัววิปัสสนาแท้ๆ คือ ขันธ์ ๕ รูปกับนาม พองหนอ ยุบหนอ ท้องพอง ท้องยุบ ตัวนี้เป็นวิปัสสนา กำหนดตรงนี้ ดูความเกิดและดับของรูปนามตรงนี้ แต่ในขณะนั้นมันแทรกเข้ามา นั่นเขาเรียก “กรรมฐานรั่ว” จิตมันออกไปยึดเรื่องอื่นเสีย ไม่อยู่ในอารมณ์ จึงชื่อว่าเป็นอุปกิเลส


            บาลีเรียกว่าจินตามยปัญญา ปัยญาอันนี้มันเกิดจากการคิด เป็นปัญญา แต่สำเร็จมาจากจิตคิด แต่นักปฏิบัติร้อยทั้งร้อยจะเข้าใจว่าตัวไม่ได้คิด มันมาเอง…..ใช่ เพราะสติอ่อน จิตนี้มีกำลังกล้า มันเกิดมานาน คิดแล้วเรารู้ไม่ทัน สติไม่ทันก็เลยนึกว่าตัวไม่ได้คิด แต่ที่แท้คิด ถ้าไม่คิด ลืมตาก็ยังอยู่ แต่นี่ลืมตาแล้วก็ไม่มีอะไร นี่เขาเรียกว่าญาณหลอก เพราะจิตมันสร้างมดนภาพขึ้นมาเอง



“พองหนอ ยุบหนอ” มาจากไหนมีในพระไตรปิฎกหรือไม่

            มีผู้สงสัยว่า “พองหนอ ยุบหนอ” ไม่มีในพระไตรปิฎกจริงหรือไม่ ….จริง ก็เพราะพระไตรปิฎกไม่ได้เขียนเป็นภาษาไทย “พองหนอ ยุบหนอ” เป็นภาษาไทย พระพุทธเจ้าไม่เคยเทศน์ภาษาไทย พระพุทธเจ้าเทศน์เป็นภาษาบาลีเพราะฉะนั้น “พองหนอ ยุบหนอ” ไม่มีในพระไตรปิฎก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะพระพุทธเจ้าไม่ใช่คนไทย พระพุทธเจ้าเป็นแขก เป็นคนอยู่เมืองอินเดียโน่น

            แต่ทีนี้แปลมาจากพระไตรปิฎกเล่มไหน ถามต่อไปอย่างนั้นสิ “พองหนอ ยุบหนอ” แปลมาจากคำบาลีว่า อัสสาสะ แปลว่า หายใจเข้า ปัสสาสะ แปลว่า หายใจออก นั่นแหละ พอหายใจเข้า หายใจออก ท้องมันก็นูน ท้องนูนแล้วจะเรียกว่าอะไร นูนนี่เขาเรียกว่าพองขึ้นใช่มั๊ย หรือว่าสูงขึ้น แล้วแต่จะเรียก โยมจะว่าท้องนูนก็ถูก จะว่าท้องสูงก็๔ก โป่งก็ถูก พองก็ถูก มันหนีไม่พ้นหรอก…

            ท้องพองถ้าไม่ได้มาจากบาลีบทนี้จะมาจากบทไหน ในพระไตรปิฎกนั่นแหละ เล่มที่ ๑๐ เล่มที่ ๑๒  มีทั้งนั้น หน้าที่ ๓๒๕ อัสสาสะ ปัสสาสะ ในหลักสูตร ( เปรียญธรรม ) ประโยค ๗ ก็มี อัสสาสะ ปัสสาสะ ถัมเถ ท่านว่าให้ผูกสติไว้ที่เสา คือ พองและยุบ มีอยุ่แล้ว เพราะฉะนั้นอัสสาสะตัวนี้แหละแปลว่าพอง ปัสสาสะแปลว่ายุบ อยู่ในพระไตรไตรปิฎกมหาสติปัฏฐานสูตร

            พระไตรปิฎกเป็นของพระพุทธเจ้าไหม เชื่อหรือเปล่าถ้าเชื่อว่าเป็นของพระพุทธเจ้า ก็แปลมาจากบทนั้นแหละ




ควรมีคำว่า “หนอ” หรือไม่

        การเจริญวิปัสสนานั้นจะมี “หนอ” ต่อท้ายหรือไม่มีก็ได้ข้อสำคัญอยู่ที่ผล เมื่อใส่แล้วได้ผลดีกว่าไม่ใส่ เราก็ควรใส่ ถ้าใส่แล้วไม่ได้ผลดี เราก็ตัดออกได้ ทั้งนี้แล้วแต่อัธยาศัย ขอให้ผู้ปฏิบัติทดลองดูเอาเองเถิด จึงจะได้รู้อย่างแน่นอน ถ้าจะมาพูดมากถกเถียงกันด้วยวาจาอยุ่เฉยๆจะไม่มีวันถึงพระธรรมได้เลย เพราะพระธรรมไม่ได้อยู่ที่การพูดมากเรียนมาก อยู่ที่การปฏิบัติถูก แม้จะเรียนมาน้อยๆ เพียงคำสองคำ แต่ทำถูก ทำบ่อยๆ ทำเสมอๆ ก็ได้ผลดี


ข้อนี้มีบาลีรับรองไว้ว่า

น ตาวตา ธมมธโร ยาวตา ภาสติ
โย จ อปปปิ สุตวาน ธมม กเยน ปสสติ
ส เว ธมมธโร โหติ โยธมม นปปมชชติ

            บุคคลไม่เป็นผู้ทรงธรรมด้วยการเรียนมาก จำได้มาก พูดมาก ส่วนผู้ใดฟังธรรมแม้น้อยนิดเดียว แต่เห็นธรรม คือ อริยสัจ ๔ ด้วยนามกาย ผู้นั้นแหละชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรมแท้ ผู้ใดไม่ประมาณในธรรม คือลงมือเจริญกรรมฐานผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าทรงธรรม    
............................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม