Blog นี้สร้างมาเพื่อ เป็นสื่อกลางให้ผู้สนใจในการปฏิบัติ ได้มาศึษาหาความรู้ และ แนะนำสถานที่ปฏิบัติให้แก่ผู้สนใจ และ ช่วยนักปฏิบัติผู้กำลังหลงทาง ให้เจอทางออก และ เข้าถึงซึ่งความเป็นจริงของสภาวะ

9 พฤศจิกายน 2564

๑๙. สร้างศรัทธาด้วยญาณหยั่งรู้

 สร้างศรัทธาด้วยญาณหยั่งรู้





     หลังจากแน่ใจว่า การปฏิบัติธรรมจะไม่ย้อนกลับไปเป็นทางของ กิเลสตัณหา มีแต่เดินไปข้างหน้า ข้ามพ้นชาติชรามรณะทุกข์ไปแล้ว อาตมา จึงกลับสู่วัดเดิม หลวงพ่ออาจารย์และมหาจำเริญยังอยู่ หลวงพ่ออาจารย์ ท่านชราลงไปมาก แต่ก็ยังมีราศีผ่องใส การออกบิณฑบาตเป็นวัตร ซึ่งเป็นธุดงค์ข้อหนึ่ง ท่านก็ยังปฏิบัติอยู่ ทั้งที่ลูกศิษย์ลูกหาชาวบ้าน เขาขอร้องให้หยุดได้แล้ว ท่านว่าสังขารยังใช้ได้อยู่ ก็ต้องใช้เขาไปก่อน





     ท่านทั้งสองได้ช่วยกันพัฒนาวัด ให้เจริญขึ้นเป็นอันมาก โดยเฉพาะ ท่านมหาจำเริญนั้น เมื่อศิษย์ที่ได้นักธรรมเปรียญมีมากขึ้น ก็ทำให้วาง มือในการสอนไปได้ หันมาปฏิบัติและพัฒนาอย่างเต็มที่ ทางถาวรวัตถุก็ ได้บูรณะซ่อมแซมโบสถ์ศาลาให้ดีขึ้น ทางโรงเรียนปริยัติ ก็มีผู้มา บรรพชาอุปสมบทเพิ่มขึ้น แม้ฆราวาสก็มาเรียนและสมัครสอบได้ ส่วน สำนักกรรมฐานก็ได้จัดขึ้นเป็นสัดส่วน ตามความมุ่งหมายของหลวงพ่อ อาจารย์ มีศาลาฝึกปฏิบัติธรรม แล้วก็มีกุฏิสำหรับพระเณรปฏิบัติธรรม ประมาณ ๓๐ หลัง

ส่วนของอุบาสกอุบาสิกานั้น ก็ได้จัดที่ไว้ให้เป็นสัดส่วน อุบาสก อุบาสิกาบางคนมาอยู่ปฏิบัติธรรม ก็มาสร้างเรือนเล็กๆไว้ อาศัยปฏิรูป ตามใจชอบ เมื่อสร้างขึ้นแล้ว เจ้าของเลิกราไป ผู้อื่นก็เข้ามาพักปฏิบัติ แทนสลับกันไปอย่างนี้





     เมื่ออาตมากลับถึงวัด หลวงพ่ออาจารย์กับท่านมหามีความยินดี มาก เพราะท่านหวังว่าอาตมาจะมาช่วยกันอีกแรงหนึ่ง ญาติโยมที่มา จากที่อื่นในระยะหลังๆ ไม่มีใครรู้จักอาตมาเลย แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ คุณวิเศษที่มีอยู่ในตนต่างหาก ที่จะช่วยเขาได้

พระหนุ่มบวชได้ ๕ พรรษา แต่แรกก็ไม่มีใครศรัทธา เพราะเขา เห็นแต่ร่างกาย แต่จิตนั้นเขาเห็นไม่ได้ จะประภัสสรเพียงใดเขาก็ไม่รู้

เมื่อเริ่มต้นการสอนครั้งแรก อาตมาจึงจำเป็นต้องแสดงให้เขารู้ว่า ใครคิดอะไรอยู่ ทั้งที่เกี่ยวกับตัวเขาเอง หรือตัวอาตมา สร้างความแปลกใจ ให้โยมไปตามๆกัน บางทีก็ทักไปถึงทางบ้าน ที่โยมกำลังเป็นห่วงอยู่


“โยมมาวัดทำไม ลูกสาวคนโตกำลังป่วยอยู่ มาแล้วก็มีความห่วง กังวล ทำจิตให้สงบไม่ได้”

โยมถามว่า “ท่านรู้ได้อย่างไรคะว่า ลูกสาวกำลังป่วย”






“รู้อย่างไรก็ช่างเถอะ แต่อยากจะเตือนว่า ไม่ต้องวิตกกังวล ทำจิต ให้สงบ ปล่อยวางความห่วงใยให้หมด เวลานี้ลูกสาวโยมหายป่วยแล้ว”

“จะเป็นไปได้อย่างไรเจ้าคะ เขาป่วยมาเป็นปี รักษาเท่าไรก็ ไม่ดีขึ้น หมอที่มารักษานั้นนับไม่ถ้วนแล้วเจ้าค่ะ”






“นั่นแหละหายแล้ว กลับไปนี้ โยมไปทำสังฆทาน อุทิศส่วน บุญกุศลให้เจ้าเวรนายกรรมเขาเสีย คนเรายังไม่ถึงเวลาตาย ถึงเวลา จะหายมันก็หายเอง ถ้าโยมอยากรู้ว่าลูกสาวหายอย่างไร ก็ไปถามลูก สาวดู”

วันต่อมา โยมท่านนั้นมาพร้อมด้วยลูกสาว พอเห็นอาตมาเข้า ก็ตรงเข้ามากราบ พูดว่า





“หากไม่ได้อาจารย์ไปช่วยรักษา ลูกคงนอนซมอยู่อย่างนั้น”

แล้วหันไปบอกมารดาว่า

“อาจารย์รูปนี้แหละค่ะ ท่านไปรักษาลูกที่บ้าน” ทุกคนในที่นั้น ต่างแปลกใจไปตามๆกัน บางคนซักว่า

“ท่านไปรักษาแม่หนูตั้งแต่เมื่อไร” “เมื่อวานตอนบ่ายๆแหละจ้ะ”


“เอ๊ะ…เมื่อวานตอนบ่าย ท่านก็อยู่ที่นี่ จะไปรักษาได้อย่างไรกัน”


“ฉันก็ไม่ทราบเหมือนกัน ที่ทราบก็คือท่านไปรักษาฉันจริงๆ จำท่านได้แม่นยำ พอมาเห็นก็จำได้”

“ท่านไปรักษาอย่างไร”

“ฉันกำลังนอนลืมตาอยู่บนเตียง อยู่ๆ ท่านก็มายืนอยู่ หลับตา พนมมือ พูดอะไรปากขมุบขมิบอยู่พักหนึ่ง แล้วท่านก็ใช้มือโบกจาก ศีรษะไปหาเท้าสามครั้ง ฉันก็รู้สึกว่าตัวเบาสบาย เหมือนไม่เป็นอะไร ปกติทุกอย่าง อย่างที่เห็นนี่แหละ”


ตั้งแต่นั้น ญาติโยมที่มาปฏิบัติก็พากันศรัทธาเชื่อถือ จะแนะนำ สั่งสอนอะไร ก็ตั้งใจปฏิบัติตาม แต่อาตมาก็ต้องช่วยเหลือชาวบ้าน ทั้งใกล้และไกลมากขึ้น ด้วยกิตติศัพท์มันแพร่กระจายออกไป





     สำหรับการช่วยสงเคราะห์ความป่วยเจ็บของชาวบ้านนั้น ก็ไม่มี การให้คนป่วยมารักษากันที่วัด เพราะดูเป็นการเอิกเกริก หรือรบกวน ผู้ที่กำลังปฏิบัติอยู่ เพียงให้ญาติพี่น้อง เขามาแจ้งสถานที่อยู่ให้ทราบ และโรคที่เป็นอยู่เท่านั้น เมื่อตรวจดูทางจิตแล้ว เห็นว่าเขามีทางจะหายได้ ก็ส่งจิตไปช่วยรักษาให้ ส่วนที่ไม่มีทางจะหาย ถึงเวลาหมดอายุแล้ว ก็จะบอกไปตามที่มองเห็น



บางรายเจ้าเวรนายกรรมเขากำลังมาทวงถาม ขืนไปรักษา เขาก็จะ ต่อว่า หาว่าขัดขวางทางกรรมที่เขาจะได้รับการชดใช้ ในกรณีเช่นนี้ ก็ต้อง ถามความพอใจของเจ้าเวรนายกรรมดูก่อนว่า ถ้าจะทำสังฆทานอุทิศ กุศลให้เขาได้ไปผุดไปเกิด เขาจะยอมอโหสิกรรมให้หรือไม่ เพราะการ จองเวรจองกรรมกันอยู่เช่นนี้ ไม่มีทางที่จะหมดเวรหมดกรรม จะต้อง ผลัดกันรับผลกรรม อีกร้อยชาติพันชาติ ถ้าเขาไม่ยอม ก็ไม่มีทางจะ ช่วยกันได้ นอกจากให้คนไข้อโหสิกรรมเจ้าเวรนายกรรมให้หมด จะได้ดับ ชีวิตลงโดยไม่ยึดติดอาฆาตมาดร้ายกันต่อไป แต่ส่วนมากเขาก็ยอม เมื่อ เขายอม คนไข้ก็หายวันหายคืน ไม่ต้องรักษาอะไรกันมาก


บางคนป่วยเพราะธาตุในกาย ขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ใช้พลัง จิต เสริมธาตุที่ขาดให้สมบูรณ์สม่ำเสมอกับธาตุอื่น เขาก็จะหายเป็นปกติ ในไม่ช้า พลังจิตที่ว่านี้ ได้อาศัยกสิณเข้าช่วย ขาดธาตุใดก็เสริมธาตุนั้น เขาก็จะหายเจ็บป่วย






     แต่มีข้อแม้ว่า เมื่อหายแล้วเขาจะต้องมาฝึกทำสมาธิอย่างน้อย ๗ วัน ครั้นมาฝึกแล้ว ส่วนมากเขาก็จะยินดีปฏิบัติต่อไป เพราะได้รู้รสแห่ง ความสงบ ได้รู้ความจริงของชีวิตที่ต้องเจ็บป่วย ก็เนื่องจากกรรมที่ได้ กระทำมาในอดีต หรือความไม่เที่ยงแห่งสังขาร ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้อง แก่ ต้องเจ็บเป็นธรรมดา ความตายจะมาถึงเมื่อไร ไม่อาจรู้ได้ จึงควรอยู่ ในความไม่ประมาท รีบสร้างสมแต่ความดี มีการให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิ อันจะทำให้เกิดปัญญา มองเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็น สิ่งที่จะต้องเกิดต้องมี แก่ทุกผู้ทุกนาม


บางทีเขาไม่ได้มารักษา ใช้ดวงตามองไปเห็นว่า เขาพอจะมีชีวิต ทำคุณงามความดีต่อไปได้ ก็จะไปช่วยรักษาให้ หายแล้วเขาก็จะตามมา หาจนถึงวัด







     ทั้งหมดที่อาตมาได้สงเคราะห์ชาวบ้าน ทั้งที่อยู่ใกล้และไกล ล้วน กระทำไปด้วยจิตเมตตาอย่างเดียว ไม่มีสินจ้างรางวัล หรือเรียกร้องค่าครู ค่ารักษาใดๆ ทั้งสิ้น บางคนที่เขามีฐานะดี หายเจ็บป่วยแล้ว ก็เอาเงิน ทองข้าวของมาถวายเป็นอันมาก แต่อาตมาก็ไม่รับ เพราะไม่มีความจำเป็น ที่ต้องรับหรือต้องใช้ อาหารบิณฑบาตไปรับมาแล้ว ก็ฉันหนเดียว ยังเหลือเสียอีก อย่างวันพระก็เหลือมาก จึงเอาของเหลือจากพระเณร รูปอื่นๆ มารวมกัน ยกไปให้เด็กๆ ที่โรงเรียน



หากมีใครจะทำบุญจริงๆ ก็ให้เอาไปบริจาคสร้างโบสถ์ สร้างศาลา สร้างกุฏิ ทำสังฆทานอุทิศให้เจ้าเวรนายกรรม และเป็นบุญสะสมของ ตนเอง จึงมีผู้ศรัทธาเอาปัจจัยมาช่วยวัดมากขึ้น และถ้ามีเหลือ ก็แบ่ง เอาไปช่วยวัดอื่นๆที่ขัดสนบ้าง โดยเฉพาะอาหารแห้ง อาหารกระป๋อง ข้าวสาร มีมากจนไม่รู้จะเอาไปไหนหมด ก็ได้เจือจานแบ่งปันไปทาง วัดที่กันดาร



อาจารย์เจ้าอาวาสและภิกษุสามเณร ที่ได้รับการแบ่งปัน ท่านก็มา คิดว่า ทำไมวัดที่อาตมาอยู่ จึงมีผู้มาทำบุญมากมาย ส่วนวัดของตน กลับไม่มีใครสนใจ ทั้งที่เป็นวัดในพระพุทธศาสนาอย่างเดียวกัน บางวัน อาหารบิณฑบาต ก็ไม่พอขบฉัน พระเณรที่ทนลำบากไม่ไหว ถ้าไม่สึก หาลาเพศไป ก็จะต้องหาทางไปอยู่วัดอื่นที่ดีกว่า






     ปัญหานี้ มักจะเกิดขึ้นกับวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรไทย ทำให้ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่กระจายออกไปสู่พุทธบริษัทอย่าง ทั่วถึง วัดไหนมีพระดี สร้างศรัทธาให้ประชาชนได้ พุทธบริษัทก็จะ ไปรวมอยู่ด้วยเป็นกระจุก วัดไหนไม่มีพระดีที่จะสร้างศรัทธาแก่ประชาชน ก็ได้แต่เป็นหลวงตาเฝ้าวัดไปตามๆกัน และมีอยู่เป็นส่วนมากเสียด้วย


คำว่าพระดีนั้น บางทีก็ดีไม่จริง ดีอย่างปลอมๆ กลายเป็นนักธุรกิจ หาเงินเข้าวัดบ้าง เข้าตัวเองบ้าง ร่ำรวยจนต้องสึกหรือให้เขาจับสึกไปก็มี พระที่เป็นพระแต่ผ้าเหลืองเครื่องหมาย แต่ไม่ประพฤติปฏิบัติอยู่ในพระ ธรรมวินัย แอบอ้างผ้าเหลืองหากิน ก็มีอยู่เป็นอันมาก ทำให้ศาสนา เสื่อม ทำให้ประชาชนท้อแท้ ไม่ยอมเข้าวัด เป็นอุปสรรคขัดขวางการ สร้างสมคุณความดีของเขา




     สภาพความจริงดังกล่าวนี้ เป็นปัญหาใหญ่สำหรับพุทธศาสนา ถึงจะมีผู้รู้มองเห็นกันมาก ก็ไม่ทำให้ผู้มีหน้าที่ หาทางแก้ไขอย่าง จริงจัง กลับพากันเห็นเป็นเรื่องธรรมดาไป การเกิด การตาย และสิ่ง ที่ปรุงแต่งสมมติกันขึ้นทั้งนั้น แท้จริงก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่ออยู่กับ ชาวโลก อยู่ในแวดวงพระพุทธศาสนา ซึ่งมีคำสอนเป็นสัจธรรม เป็น ที่ยอมรับของผู้มีปัญญา และนับวันจะพากันยอมรับออกไปทั่วโลก ผู้ มีหน้าที่ก็จำเป็นจะต้องรู้จักแยกแยะความดีความชั่ว ว่าชอบด้วยธรรม วินัยหรือไม่ และควรจะรักษาสัจธรรมนั้นไว้อย่างไร จึงจะงดงามอยู่ใน จิตใจของสาธุชน


จริงอยู่สัจธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นของเกิดขึ้นมีอยู่ ไม่ว่าใครจะทำอย่างไร สัจธรรมก็คงเป็นอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่การเข้า ถึงนี้ซิ มหาชนจะเข้าถึงสัจธรรมได้หรือไม่


สังคมชาวโลกของเรา แม้จะเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุ จนเกินความ จำเป็น ก็จะอยู่ด้วยวัตถุอย่างเดียวไม่ได้ เพราะมนุษย์ชาวโลกยังมีความ คิดจิตใจ ที่จะต้องพึ่งพิงอาศัยอยู่ ความคิดจิตใจดังกล่าวนี้ แยกแยะออก ได้เป็นสองฝ่าย คือฝ่ายสร้างและฝ่ายทำลาย



ฝ่ายสร้าง ก็คือคุณงามความดี ความมีสามัคคีเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน เป็นสัจธรรมฝ่ายสัมมาทิฐิที่จะทำให้สังคมชาวโลก อยู่ กันได้ด้วยความสงบสุข

ส่วน ฝ่ายทำลาย นั้น ก็คือความชั่วร้าย ความคิดเบียดเบียน แย่งชิงผลประโยชน์ ฆ่าฟันกัน เป็นการตัดสินกันขั้นสุดท้าย ก็เป็น สัจธรรมเหมือนกัน ที่เป็นฝ่ายมิจฉาทิฐิ หรือพูดง่ายๆ ก็คือความดี กับความชั่ว



เจ้าความดีกับความชั่วนี้ ในโลกมนุษย์เรามันก็มีอยู่ทั้งสองอย่าง ขึ้นอยู่กับว่า อย่างไหนจะมีมากกว่ากัน เวลานี้โลกสงบสุขก็เพราะมี ความดี อยู่มากกว่าความชั่ว เมื่อใดความชั่วมากกว่าความดี โลกก็จะ สงบอยู่ไม่ได้ มนุษย์ก็จะฆ่าฟันทำลายกัน จนเกิดกลียุคด้วยอานาจของ กิเลสตัณหา โลภะ โทสะ โมหะ



พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า หรือถ้า มันมีอยู่ ก็ต้องคอยชำระล้างขจัดปัดเป่า ให้มันเบาบางหรือหมดไป ด้วย การรักษาศีล บำเพ็ญภาวนาสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ในการดำเนินชีวิตของคนเรา เมื่อละความชั่ว ก็ต้องไปทำความดี รักษา ความดีให้มากขึ้น เพื่อให้โลกร่มเย็นสงบสุข





     ด้วยเหตุนี้ สัจธรรมที่เป็นฝ่ายสัมมาทิฐิ จึงจะเป็นที่เราจะต้องระวัง รักษา ป้องกันไม่ให้ความชั่วเข้ามาทำให้เสียหาย ทำลายความเชื่อหรือ ศรัทธาของผู้ที่จะทำความดีให้ย่อยยับไป เพราะการทำความดี ต้อง อาศัยศรัทธาเป็นพื้นฐาน ศรัทธาในสิ่งที่ถูกที่ควร ศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติ ที่จะทำให้จิตใจตั้งอยู่ในความดี และศรัทธาเมื่อปฏิบัติตามแล้ว จะเป็น ประโยชน์สุขแก่ตน






     การที่มนุษย์สังคม จะทำความดีโดยอาศัยศรัทธาเป็นพื้นฐานเช่นนี้ ผู้มีหน้าที่จึงจำเป็นจะต้องหาทางแก้ไข อย่าให้วัดสักแต่เป็นวัด อย่าให้ พระสักแต่ว่าเป็นพระ ภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา ของพระบรม ศาสดา จะต้องรักษาศรัทธาของพระชาชนเอาไว้ ด้วยการปฏิบัติอยู่ใน ธรรมวินัย มีศีล สมาธิ ปัญญา ให้มหาชนศรัทธาอย่างทั่วถึง

อาตมาพูดอย่างตรงๆ เพื่อให้เอาไปคิด อันที่จริงพระตามชนบท ห่างไกลความเจริญ ท่านก็มาจากชาวไร่ชาวนา พื้นฐานความรู้ก็ไม่มาก ไปกว่าชาวไร่ชาวนาเท่าใดนัก แม้ท่านจะศรัทธาเข้ามาบวชในพระ ศาสนา แต่โอกาสที่จะหาความรู้ในทางปฏิบัตินั้นยังมีน้อยอยู่ ท่านจึง ไม่สามารถจะปฏิบัติถูกต้องได้ นอกจากทำไปตามประเพณีที่เขานิยมกัน ประเพณีบางอย่างไม่ชอบด้วยธรรมวินัย แต่เขานิยมมาเก่าก่อน อย่าง พระเณรทางเหนือ ฉันข้าวเย็นได้ ซ้ำร้ายถึงกับไปร่วมสำรับกับโยมที่ บ้าน โยมเองตอนบวชก็ประพฤติเช่นนี้ จึงพากันคิดว่าไม่ผิด เพราะ สมัยปู่ก็ทำกันมาอย่างนี้ ท่านยังหาว่าพระที่ไม่ฉันข้าวเย็นเป็นบาป เพราะทรมานตนเองให้เกิดทุกข์




     เมื่อมีปัญหาเช่นนี้ หลวงพ่ออาจารย์ ท่านมหาจำเริญ และอาตมาจึง มาปรึกษากันว่า ควรจะทำอย่างไร ก็เห็นว่าจะเริ่มต้นกับวัดที่อยู่ใกล้ๆ ก่อน โดยเฉพาะวัดในเขตตำบล ที่หลวงพ่ออาจารย์เป็นเจ้าคณะตำบล อยู่ ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๐ กว่าวัด ตามปกติก็มีภิกษุสามเณรในเขตตำบล มาเรียนนักธรรมบาลีกันอยู่แล้ว แต่ความสำคัญ ขึ้นอยู่กับเจ้าวัดซึ่งเป็น ประธานสงฆ์ เป็นผู้นำของชาววัดและชาวบ้าน จะต้องเป็นแบบฉบับ ให้ได้เสียก่อน

ความคิดในการปฏิบัติ ในศีล สมาธิ ปัญญา ได้แพร่ออกไปบ้าง แล้ว ภิกษุสามเณรที่มาเรียนนักธรรมบาลี ก็ได้มีชั่วโมงให้ปฏิบัติกรรมฐาน อยู่ด้วย ญาติโยมในตำบลก็สนใจที่จะปฏิบัติกันตามโอกาสที่เขามี ถ้าสมภารเจ้าวัดไม่คิดปฏิบัติเสียบ้าง ต่อไปก็จะไม่มีใครเข้าวัด หมดความ เลื่อมใส ท่านจะอยู่ได้อย่างไร

เมื่อเห็นกันเช่นนี้ หลวงพ่ออาจารย์ในฐานะเจ้าคณะตำบล จึง นิมนต์เจ้าอาวาสซึ่งอยู่ในเขตตำบลของท่าน มาชี้แจงทำความเข้าใจ

 
......................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม