Blog นี้สร้างมาเพื่อ เป็นสื่อกลางให้ผู้สนใจในการปฏิบัติ ได้มาศึษาหาความรู้ และ แนะนำสถานที่ปฏิบัติให้แก่ผู้สนใจ และ ช่วยนักปฏิบัติผู้กำลังหลงทาง ให้เจอทางออก และ เข้าถึงซึ่งความเป็นจริงของสภาวะ

19 มกราคม 2565

ท่านอาจารย์โพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมน

 ท่านอาจารย์โพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมน




พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร ฯโพธิ์แจ้งมหาเถระ อดีตเจ้าคณะใหญ่ สงฆ์จีนนิกาย รูปที่6 ประธานคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกายรูปที่1

เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิ์แมนคุณาราม เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิ์เย็น กาญจนบุรี เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิทัตตาราม ศรีราชา ชลบุรี



ก่อนมรณภาพ เมื่อ วันที่ 25 เดือน กันยายน พ.ศ.2529 ท่านดำรงสมณะ ศักดิ์พระราชาคณะชั้นสัญญาบัตร(ชั้นธรรมพิเศษ) ฝ่ายวิปัสสนา ในราชทินนามพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนพิเนตุ วิเทศธรรมประสาท นวกิจพิลาสประยุกต์ ทำนุกจีนประชาวิสิฐ


กำเนิด พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร มีนามเดิมว่าอึ้ง ธง เกิดในครอบครัวขุนนาง เมื่อวันที่ 16 เดือน 6 ปืขาล ตามปฏิทินจีน ตรงกับปี พ.ศ. 2444 เมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน บิดาของท่านถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเยาว์ นางจางไทมารดาของท่านได้อบรมเลี้ยงดูท่านต่อมา เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษา ท่านเข้ารับราชการเป็นทหาร คนสนิทของประธานาธิบดีเจียง ไคเชก ต่อมาท่านเกิดเบื่อหน่ายทางโลกจึงตัดสินใจออกจากราชการในปี พ.ศ. 2470 จากนั้นจึงตัดสินใจเดินทางมาศึกษาและปฏิบัติธรรมในประเทศไทย



อุปสมบทและศึกษาพระธรรม
ท่านบรรพชาเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2471 ณ สำนักสงฆ์ถ้ำประทุน (เช็งจุ้ยยี่) อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยมีพระอาจารย์หล่งง้วนได้เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “โพธิ์แจ้ง” ท่านฝึกปฏิบัติกรรมฐานที่สำนักนั้นจนแตกฉาน และรักษาพระวินัยอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังช่วยรักษาประชาชนที่ป่วยไข้โดยใช้วิชาสมุนไพรตามที่เคยร่ำเรียนมา




พ.ศ. 2477 ท่านเดินทางไปประเทศจีน และได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ศกนั้น ณ วัดฮุ่ยกือยี่ มณฑลกังโซว มีพระคณาจารย์กวงย๊วกเป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ 2 ปีจึงเดินทางกลับประเทศไทย พ.ศ. 2484 ท่านเดินทางไปทิเบตเพื่อศึกษาวัชรยานกับนอรา รินโปเช (Nora Rinpoche) หรือ Gara Lama Sonam Rabten และได้รับอภิเษกเป็นวัชรธราจารย์ แล้วเดินทางกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2491 เดินทางไปประเทศจีนและศึกษาในนิกายวินัยกับพระปรมัตตาจารย์เมี่ยวยิ้ว ซึ่งเป็นสังฆปริณายกรูปที่ 18 และได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆปริณายกรูปที่ 19 ของนิกาย แล้วเดินทางกลับไทยในปี พ.ศ. 2493




มรณภาพ พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร มรณภาพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2529 เวลา 7.30 น. สิริอายุได้ 85 ปี 5 เดือน 11 วัน พรรษา 61




ก่อนท่านเจ้าคุณอาจารย์จะมรณะภาพท่านได้สั่งคณะศิษย์ไว้ว่าเมื่อถึงเวลาอันสมควร ก็ให้เปิดวัชระเจดีย์และอัญเชิญสรีระของท่านออกมาเพื่อให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2539 เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายองค์ปัจจุบัน ท่านเจ้าคุณเย็นเต็ก ได้ประกอบพิธีเปิดวัชระเจดีย์เมื่อผู้ร่วมในพิธีทุกท่านได้เห็นสรีระของท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นที่ อัศจรรย์อย่างยิ่ง สรีระของท่านยังคง สมบูรณ์ดี แม้เวลาจะผ่านไปนานถึงสิบปีแล้วก็ตาม





จากนั่นทำการปิดทองคำทั่วร่างแล้วนำไปประดิษฐาน ณ วิหารบูรพาจารย์ วัดโพธิ์แมนคุณารามเพื่อให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา






วัดโพธิ์แมนคุณาราม หรือ วัดโพวมึ้งป่ออึงยี่ เป็นวัดพุทธฝ่ายมหายาน สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทยค่ะ ที่สืบทอดหลักธรรมคำสอนต่างๆ มาจากนิกายเซน และเป็นศูนย์กลางหลักธรรมคำสอนของนิกายวินัยและนิกายมนตรายาน ของ วัชรยาน ทิเบต นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของคณะสงฆ์จีนนิกายของไทยด้วยค่ะ





สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 ตามหลักฮวงจุ้ย และเป็นลักษณะของรถม้าที่กำลังลากราชรถค่ะ โดยประตูทางเข้าวัด จะมีซุ้มประตู 5 ประตู เปรียบเหมือนม้า 5 ตัว ที่กำลังลากราชรถ นั่นก็คือ พระอุโบสถ




ซึ่งภายในจะมี พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า เป็นประธาน





ตัวพระอุโบสถ จะเป็นลักษณะที่ผสมผสานระหว่าง พุทธศิลป์ ไทย จีน และ ธิเบตรวมเข้าด้วยกัน เป็นรูปทรงแบบจีน พื้นหินขัดลายจีน ซึ่งเป็นฝีมือออกแบบของ เจ้าคุณโพธิ์แจ้งมหาเถระ อดีตเจ้าคณะใหญ่สงฆ์นิกายจีนค่ะ อุโบสถจะมี 3 ชั้น ยอดเป็นฉัตรเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนั้นก็จะมีหมู่พระพุทธรูป 1,000 องค์ ประดิษฐานอยู่บนเพดาน 3 ชั้นของอุโบสถ ส่วนฝาผนังทั้ง 2 ข้าง ก็จะเป็นจิตรกรรมกระเบื้องโมเสครูปพระอรหันต์กว่า 500 องค์







การเดินทาง ไปยัง วัดโพธิ์แมนคุณาราม
สามารถใช้ทางด่วนขั้นที่ 1 มาลงที่ ถนนสาธุประดิษฐ์ แล้วกลับรถทางขวา ผ่านเซ็นทรัลพระราม 3 ไปจนถึงถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 24 แต่ถ้ามาจากฝั่งสาธุประดิษฐ์ ก็ให้เข้าซอยสาธุประดิษฐ์ 19 หรือ ซอยวัดโพธิแมน ได้เลยค่ะ แต่ถ้าใครมาทางรถเมล์ ก็มาได้ทั้งสาย 519 102 62 67 77 180 22 หรือจะนั่งสาย 142 แล้วเข้าประตูวัดทางซอยนราธิวาส 24

__________________________________________________________________


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม