Blog นี้สร้างมาเพื่อ เป็นสื่อกลางให้ผู้สนใจในการปฏิบัติ ได้มาศึษาหาความรู้ และ แนะนำสถานที่ปฏิบัติให้แก่ผู้สนใจ และ ช่วยนักปฏิบัติผู้กำลังหลงทาง ให้เจอทางออก และ เข้าถึงซึ่งความเป็นจริงของสภาวะ

5 พฤศจิกายน 2564

๖.ธรรมเกิด ปัญญาเกิด

ธรรมเกิดปัญญาเกิด 



ปีนั้นอายุอาตมาได้ ๑๙ ปีเต็ม พอออกพรรษา ท่านอาจารย์ บอกว่า


"ออกพรรษานี้ เณรจะไปธุดงค์กับอาจารย์ไหม?" อาตมาปีติยินดีอย่างบอกไม่ถูก ลุกขึ้นกราบแล้วตอบว่า


"ไปขอรับ" จากนั้นก็ไปหาโยมทั้งสอง บอกว่าจะออกธุดงค์กับท่าน อาจารย์ ขอบิณฑบาตกลด ๑ หลัง บริขารอย่างอื่นมีครบแล้ว โยม พ่อถามว่า



"ทำไมไม่รอให้บวชพระเสียก่อนค่อยไป ยังอายุน้อยนัก จะ ทนได้หรือ เพราะการเดินธุดงค์นั้นต้องเดินทางไกล บุกป่าฝ่าดง อดๆ อยากๆ" อาตมาได้ตอบท่านไปว่า "หลวงพ่ออาจารย์บอกว่า จะให้ไป ทดลองปฏิบัติดู ถ้าเห็นว่าทนไม่ไหว ก็จะพากลับ"


เป็นอันว่า โยมทั้งสองตกลงยินยอม จัดหากลดให้ตามที่ต้องการ แม้จะมีความห่วงใยในฐานะที่เป็นบุตร แต่ท่านก็รู้ว่า พระพุทธเจ้า ทรงสอนไว้อย่างไร กุลบุตรใด เมื่อบวชเข้ามาในพุทธศาสนาแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีญาติ ไม่มีบ้าน อาศัยป่าช้าเรือนร้างป่าเขาและถ้ำ เที่ยว ไปเพื่อหาทางหลุดพ้น ซึ่งโยมทั้งสองก็ได้แต่อนุโมทนา



ก่อนออกเดินทางสองวัน ท่านมหาจำเริญมากราบนมัสการ ท่านอาจารย์ ขอคำแนะนำแนวทางที่จะปฏิบัติกรรมฐาน ควรจะเริ่มต้น อย่างไร ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์อนุโมทนาด้วย ที่ท่านมหาได้หันเข้า มาสู่ทางปฏิบัติ และได้แนะนำว่า สัญญาความจำได้หมายรู้ ที่ได้เล่า เรียนมาในทางปริยัตินั้น ขอให้ปล่อยวางให้หมด จงเริ่มต้นด้วยกรรม ฐานให้ดีเสียก่อน เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ปัญญา


อนึ่งอย่าปฏิบัติแบบก้าวกระโดด อย่างที่สอนๆกันว่า พอทำ สมาธิได้ถึงขั้นอุปจารสมาธิแล้ว ก็พอแก่การที่จะนำกรรมฐานอื่นๆ มาพิจารณาให้เกิดปัญญา เช่น กายคตาสติ อาการ ๓๒ มาพิจารณา เป็นอย่างๆ การปฏิบัติอย่างนี้ เท่ากับเอาสัญญาความจำภายนอก ที่ได้เรียนทางปริยัติมาเป็นหลักพิจารณา ก็จะได้แต่ของนอกๆ ที่จดจำ หรือรู้อยู่แล้ว ไม่เกิดปัญญาจากภายในให้รู้ทะลุปรุโปร่งไปได้ เรียกว่า วนเวียนอยู่กับสัญญา อาการ ๓๒ มีอะไรบ้างก็รู้ แต่ไม่เห็นตัวอนิจจัง ชัดเจน นักปฏิบัติมาติดกันอยู่ตรงนี้ เพราะปฏิบัติแบบก้าวกระโดด ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะสมาธิแค่อุปจาระ มันยังไม่ตั้งมั่นพอ ยัง มีอารมณ์กิเลสแทรกเข้ามาเป็นบางขณะ หรือจะเรียกว่าญาณยังไม่ แก่กล้าพอ


ฉะนั้นผู้ปฏิบัติ จะต้องปฏิบัติกรรมฐานให้เต็มขั้นเสียก่อน คือให้ ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรือฌาน ๔ และต้องให้มีความชำนาญคล่อง แคล่วในการเข้าการออก นึกจะเข้าถึงอัปปนาสมาธิก็ได้ทันที ในสภาวะ แบบนี้ จะไม่มีอารมณ์กิเลสใดๆเข้ามาได้ จิตเป็นหนึ่ง คือเป็นเอกัคตา อุเบกขาไปเลย เมื่อจะทำปัญญาให้แจ้ง จึงถอดจิตออกมาสู่อุปจารสมาธิ แล้ว นำธรรมะอย่างใดอย่างหนึ่งมาพิจารณา เช่น พิจารณาอาการ ๓๒ ก็ เอาแต่ส่วนเล็บอย่างเดียว หรือเพ่งการเกิดดับก็เพ่งไปตามถนัด เพราะ เหตุที่จิตยังมีเชื้อของอัปปนาสมาธิ หรือเอกัคตาเนืองนองอยู่ ปัญญารู้ แจ้งก็จะเกิดขึ้นมาเอง


รู้อย่างไร? ก็รู้ว่าเล็บที่เราเพ่งเป็นอารมณ์นั้น มีภาพเปลี่ยน แปลงขึ้นมาให้เห็นตามความเป็นจริง หรือการเกิดดับ เราก็จะเห็น ภาพของการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย แม้กระทั่งตายลงไปแล้ว ร่างกายก็จะแปรปรวนไปให้เห็นว่า ผิวหนังมันขึ้นอืด พองเป่ง แตกปริ มีน้ำเหลืองไหล มีหนอนชอนไชเกิดขึ้น แล้วก็เห็นเข้าไปภายในตับ ไต ไส้ พุง เส้นเอ็น กระดูก


การเห็นอย่างนี้ บางคนก็เห็นโดยตลอด บางคนก็เห็นเป็นบาง ส่วน บางคนก็เห็นส่วนต่างๆ แยกออกมาเป็นส่วนๆ เป็นกองๆ แล้วก็ กลับรวมกันอีก แต่จะเห็นอย่างไรก็ตาม ท่านก็ให้เพ่งพิจารณาอยู่ ด้วยความมีสติ จนกระทั่งรู้แจ้งชัดว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็น อย่างไร ควรจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดหรือไม่ อันนี้จึงเรียก ว่า ปัญญาเกิดเอง ธรรมเกิดเอง เป็นธรรมชาติที่นำไปสู่ความจริง แท้แน่นอน


ท่านมหาจำเริญเรียนถามว่า "เมื่อธรรมเกิดเองเช่นนี้ จะถือว่า เป็นการบรรลุขั้นสูงสุด คือถึงความหลุดพ้นหรือยัง เพราะในสมัย พระ พุทธองค์ มีสาวกบางท่านได้ฟังธรรม ตรองตามจนเห็นจริงก็ได้บรรลุ พระอรหันต์"


ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ยิ้มตอบว่า พระสาวกที่ได้ฟังธรรมแล้ว สำเร็จเป็นอรหันต์เลยนั้น เป็นกรณีพิเศษ คือเป็นผู้ที่สร้างสมบุญ บารมีมาหลายภพหลายชาติจนเต็มเปี่ยมแล้ว หรือถ้าจะพูดถึงความ เบื่อหน่ายคลายกำหนัด ท่านก็เบื่อเสียจนล้นหัวอก จนแทบจะระเบิด ออกมา เบื่อมาหลายภพหลายชาติเช่นกัน ท่านเหล่านี้เพียงสะกิดนิด เดียวก็สามารถละวางหลุดพ้นได้ พระพุทธเจ้าท่านก็เคยเบื่อ เมื่อเห็น สนมกำนัล นางบำเรอ นอนด้วยอาการต่างๆ ดูดุจซากศพในป่าช้า เคย เกิดเบื่อเมื่อเห็นสภาพความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่ถูกปิดบังไม่ให้แลเห็น ตั้งแต่ยังเป็นพระราชกุมาร แม้เช่นนั้นกว่าจะตรัสรู้ได้ ก็ยังต้อง ใช้เวลาอีก ๖ ปี


พระยสกุลบุตร ก็เหมือนกัน ท่านมีบุญวาสนาบารมีมาก เกิดมา เป็นลูกเศรษฐี มีปราสาท ๓ ฤดูอยู่ มีนางบำเรอพรั่งพร้อม ตื่นขึ้นมา ในตอนดึก เห็นพวกนางบำเรอนอนไม่เป็นสมฤดี มีอาการต่างๆ ถ้า เป็นคนธรรมดาก็น้ำลายยืด แต่ท่านกลับเห็นว่าน่าเบื่อ น่าสังเวช เหมือนซากศพในป่าช้า แล้วอุทานออกมาว่าที่นี่วุ่นวายหนอ แต่งตัว ใส่รองเท้าได้ ก็ลงบันไดเดินเข้าไปในป่า จนพบพระพุทธเจ้าในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน


แต่สำหรับเราๆนี้ เราไม่รู้ว่าในชาติภพก่อนๆ เราได้สร้าง บุญบารมี เช่น ทาน ศีล ภาวนา มาแค่ไหน เต็มเปี่ยมหรือยัง หรือ เบื่อหน่ายคลายกำหนัด เพราะเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาเต็มอกหรือยัง เมื่อมาปฏิบัติจนกระทั่งเห็นธรรมเกิดขึ้น เอง ก็ให้ถือว่า ได้เห็นความจริงเป็นเบื้องต้นเท่านั้น เราจะต้องพาก เพียรอดทนปฏิบัติต่อไปอย่างไม่ลดละ


ทั้งนี้ก็เพราะธรรมที่เกิดขึ้นเอง อาจทำให้เกิดเบื่อหน่ายคลาย กำหนัดอย่างฉาบฉวย ไม่ถึงกับเบื่อย่างเต็มที่ จนละขันธ์ ๕ รูป นามลงไปได้เด็ดขาด เรียกว่า ตัดไม่ได้จริง ยังเบื่อไม่จริง เราต้องเฝ้า พิจารณา ดำเนินตามสติปัฏฐาน ๔ คือรูป เวทนา จิต ธรรม ซ้ำๆ ซากๆ จนมันเบื่อชนิดถอนรากถอนโคน เด็ดขาดลงไป ที่ว่าธรรมเกิด เอง ที่กล่าวมาแล้ว มันแค่เริ่มเบื่อรูปเท่านั้น ยังเบื่อไม่หมดด้วยซ้ำ ไป กาย เวทนา จิต ธรรม อะไรก็ยังไม่ได้พูดถึง


ฉะนั้น อย่าไปอยาก อย่าไปคิดอะไร ที่มันไกลตัวออกไป เอา เพียงปฏิบัติกรรมฐานให้เต็มขั้น มีสติตั้งมั่น คอยดูแต่ปัจจุบัน ใน กายในจิตของเราเท่านั้น พยายามทำจิตให้สะอาด ปราศจากอารมณ์ กิเลสที่วิ่งเข้าวิ่งออก แวบไปแวบมา ทำจิตให้สว่าง คือ ว่างเปล่า จนสงบระงับลง เพียงแค่นี้ก็จะเป็นฐานเบื้องต้น ให้ธรรม ให้ปัญญา เกิดตามมา ข้อสำคัญก็ขอให้ปฏิบัติต่อเนื่องกันไป อย่าทำๆ หยุดๆ ขาดช่วง ขาดจังหวะ


จากนั้น ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ก็แนะนำในการนั่ง ในการเดิน จงกรม ซึ่งถือว่าสำคัญมาก และแนะนำถึงการถือธุดงค์ว่า ไม่ใช่รู้ เฉพาะว่าธุดงค์มี ๑๓ อะไรบ้าง แต่ต้องเอามาปฏิบัติให้ได้ทุกข้อ การ ออกป่าเดินธุดงค์นั้น เป็นเพียงข้อหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีก ๑๒ ข้อ ถึงอยู่ ในวัดก็ปฏิบัติได้ บิณฑบาตฉันในบาตรหนเดียว ไม่รับอาหารหลังจาก ฉันแล้ว ล้วนเป็นธุดงค์ที่ทำได้ทั้งนั้น


ป่าหลังวัด มีต้นไม้ร่มเย็นมากมาย จะถืออยู่โคนไม้ก็ทำได้อีก ข้อสำคัญต้องเอามาฝึกทำดูว่า เราจะทำได้จริงหรือไม่ เท่ากับฝึก ตนเองให้อยู่ในกรอบขอบเขต เมื่อออกป่าไปหาวิเวกจริงๆ ซึ่งยาก ลำบากกว่าในวัด ก็จะเคยชินทำได้ไม่แปลกอะไร


ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ ได้ถือโอกาสปรารภว่า "ที่วัดนี้แต่เดิม เขาสร้างวัดและปฏิบัติกันมา แบบตามใจชาวบ้าน ไม่ได้ตามธรรมวินัย ลูกชาวบ้านที่เข้ามาบวช ก็บวชตามประเพณี ๑ พรรษาบ้าง ๓ พรรษาบ้าง ก็สึกหาลาเพศกันไป จะเอาธรรมวินัยมากำกับอย่าง เคร่งครัดก็ยาก กลัวชาวบ้านเขาจะเบื่อ ไม่มีใครอยากมาบวช เป็น สมภารไม่ตามใจชาวบ้านเขาก็ไม่ชอบ มักมีข้อขัดแย้งกันเสมอ


ลูกหลานใครสอบธรรมบาลีได้ ก็ถือว่ามีหน้ามีตา เอาไปเทียบ แข่งขันกับวัดอื่น ใครจะได้มากกว่ากัน มีการฉลองกันเอิกเกริก แต่ไม่ มีใครคิดถึงการปฏิบัติเลย กลายเป็นปริยัติสำคัญกว่าปฏิบัติไป เขาไม่ เคยรู้ว่าเป็นปริยัติแล้วไม่ปฏิบัติ มันมีทางลงนรกได้ทุกขณะ ภิกษุถือศีล ๒๒๗ ข้อ แต่เมื่อไม่ปฏิบัติแล้ว พิจารณาให้ดี จะเห็นว่าแค่ศีล ๕ ยังไม่ครบเลย มองเห็นนรกอยู่ชัดๆ ผมมาเป็นสมภารที่วัดนี้ ๘ ปี ยังแก้ไขอะไรให้เป็นไปตามธรรมวินัย ให้พระหันเข้ามาในทางศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้ เพราะเราตามใจชาวบ้านเขามาจนเคยตัว


ได้ ฟังท่านมหาบอกว่า จะหันมาในทางปฏิบัติบ้าง ผมก็ดีใจขออนุโมทนา ด้วย ขอให้ปฏิบัติไปให้รู้จริงเห็นจริงด้วยตนเอง ท่านก็จะรู้ว่า พระพุทธ ศาสนาของเราจะยั่งยืนต่อไปได้ ไม่ใช่ปริยัติอย่างเดียว จะต้องปฏิบัติด้วย


จุดประสงค์ของพระพุทธเจ้า ที่ให้การอุปสมบท ก็เพื่อให้บรรลุ ถึงความพ้นทุกข์ ไม่ใช่เรียนแล้วไม่ทำ ไม่ประพฤติปฏิบัติ มันสืบ อายุพระพุทธศาสนาไม่ได้จริง ทุกวันนี้ก็เห็นๆกันอยู่ ห่มผ้าเหลืองไป หลอกชาวบ้านเขากินเป็นของสนุก เดชะบุญที่ชาวบ้านเขายังอยู่ใน ฐานะยอมให้หลอกได้ มิฉะนั้นพุทธศาสนาคงจะถูกย่ำยีมากกว่านี้


หมั่นปฏิบัติเถอะท่านมหา ให้รู้ทั้งปริยัติและปฏิบัติด้วย ชาวบ้านเขา จะได้เชื่อถือ จะได้ร่วมมือกันทำวัดของเราให้อยู่ในธรรมวินัย ตาม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง" "ในเรื่องนี้ หลวงพ่ออาจารย์เคยมีโครงการไว้อย่างไรขอรับ" ท่านมหาเรียนถาม


"ก็ไม่ถึงกับเรียกว่าโครงการ มันฟังใหญ่โตเกินไป ผมเพียงแต่ คิดว่า วัดเราก็มีเนื้อที่กว้างขวางถึง ๑๐๐ กว่าไร่ จึงคิดจะแบ่งเป็น สองส่วน คือ แบ่งเป็นฝ่ายตามใจชาวบ้านส่วนหนึ่ง ฝ่ายตามใจ พระพุทธเจ้าส่วนหนึ่ง


ฝ่ายตามใจชาวบ้านก็คือเราไม่ทำลายความนิยมของเขา นิยม บวชตามประเพณีก็บวชให้ นิยมเรียนธรรมบาลีก็มีให้ การบวชการ สึกก็แล้วแต่เขา อีกส่วนหนึ่ง จะรับเฉพาะคนที่มีศรัทธา ต้องการเข้ามาปฏิบัติ จริงๆ เราจะรู้แน่ชัดว่าเขาศรัทธาจริงหรือไม่ ก็ต้องให้การบวชนั้นเป็นของ ยาก ก่อนบวชต้องมานุ่งขาวห่มขาว ถือศีล ๘ ก่อน ๓ เดือน ๖ เดือน สอนให้รู้ข้อวัตรปฏิบัติของพระ สอนให้รู้จักธุดงค์ สอนการ ปฏิบัติเบื้องต้นของพระ เมื่อบวชเข้ามาแล้ว จะได้เป็นพระแท้พระจริง มีอาการสำรวม แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยเขาสมัครใจ นอกจากนี้ก็รับภิกษุ ที่เคยปฏิบัติมาแล้ว จะได้มาช่วยกันได้


เมื่อแบ่งส่วนออกไปเช่นนี้ ก็จะได้เป็นแบบอย่างที่ดี ให้ส่วน ที่บวชตามประเพณี ตามใจชาวบ้าน ได้รู้ได้เห็น ใครคิดได้จนเกิดศรัทธา ก็จะได้ปฏิบัติตาม อีกอย่างก็จะให้ชาวบ้านเปรียบเทียบระหว่างพระปฏิบัติและ ไม่ปฏิบัติ อย่างน้อยเขาก็จะมองเห็นว่า ผู้มุ่งเข้ามาปฏิบัตินั้น เขา ตัดประเพณีสิ้นเปลืองค่าบวชลงไปได้มาก ไม่ต้องมีพิธีรีตอง ไม่ต้อง ทำขวัญนาค จากชีปะขาวก็บวชเลย ไม่มีการแห่แหน เลี้ยงดู กินเหล้า เมายา ซึ่งเป็นบาปมากกว่าบุญ เมาเหล้าเข้าวัด ไปไม่ถึงสวรรค์


แต่ที่ผมยังทำอะไรไม่ได้ ก็เพราะยังขาดกำลัง ได้แต่รอๆ อยู่ ต้องมีคนช่วย ต้องมีคนทำ นำชาวบ้านเขาได้ ตอนนี้ก็ใกล้เข้ามาแล้ว ท่านมหาเข้ามาปฏิบัติผมก็เบาใจ ผมเองก็คงอยู่ไม่นาน ได้ท่านมหา ทำแทนก็หมดห่วง"


แล้วท่านก็ชี้มาที่อาตมา บอกว่า "เณรนี้ไม่ใช่เณรธรรมดา ท่านมหาก็รู้ว่า เขาปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง มาแต่อายุได้ ๓ ขวบ จะ เรียนนักธรรม เขาก็มีความทรงจำสมบูรณ์ ไม่ต้องสอนก็สอบได้ถึง นักธรรมเอก ผมเคยได้ยินเณรสวดปาติโมกข์อยู่ในกุฏิ เข้าไปดูไม่เห็นมี หนังสือให้ใช้ท่องสักเล่ม เณรสวดออกมาได้เอง ไม่ติดขัด ต่อไปก็จะ เป็นกำลังสำคัญของท่านมหาอีกรูปหนึ่ง และเป็นกำลังสำคัญของ พระพุทธศาสนาด้วย เรื่องน้องสาวท่านมหาถูกช่วยไปที่โรงพัก เณร เขาก็บอกได้เช่นเดียวกับผมรู้"


ท่านมหาจำเริญ ท่านมีความรักความเอ็นดูสามเณรมาแต่ครั้ง มาบวชใหม่ๆ ยิ่งเห็นความสามารถอันอัศจรรย์ ตอนมาเรียนนักธรรม ก็ยิ่งชื่นชมยินดี บางครั้งถึงกับไว้วางใจให้ทำการสอนแทน จึงมีความ สนิทสนมกับสามเณรคืออาตมาเสมอมา เมื่อเห็นท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ บอกเช่นนั้น ก็หันไปยิ้มกับสามเณร พูดว่า


"กลับจากธุดงค์คราวนี้ หลวงพี่คงต้องขอเป็นศิษย์เณรบ้าง ในทางปฏิบัติ"


สามเณรตอบว่า "ผมจะเป็นอาจารย์สอนหลวงพี่ได้อย่างไร เคยแต่เป็นลูกศิษย์ ผมไม่กล้าสอนหลวงพี่หรอก"


"ทางพุทธศาสนาของเรา ท่านไม่ถืออาวุโสหรือวัยวุฒิ เป็นสำคัญ ท่านถือคุณธรรมสำคัญกว่า ในสมัยพุทธกาลสามเณร สอนพระเถระผู้เป็นพหูสูต ซึ่งเชี่ยวชาญธรรมวินัย ให้บรรลุพระอรหันต์ ก็มี ทำไมจะสอนหลวงพี่ไม่ได้ เพราะหลวงพี่เองเอาแต่เรียนปริยัติ ส่วนทางปฏิบัติไม่รู้เรื่องเลย คิดไปก็น่าเสียดายเวลา นับว่าบวชมา เปล่าโดยแท้"



"มันเป็นอนิจจังครับหลวงพี่ มนุษย์และสัตว์ต่างก็หมุนเวียน ไปตามกรรมของตน ชาติก่อนผมอาจเคยเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ของ หลวงพี่ มาชาตินี้ผมกลับมาเป็นลูกศิษย์ อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด อะไรจะดับก็ให้มันดับ หรือให้มันเป็นไปเถอะครับ อย่าไปหมายมั่น ปั้นมือ ว่ามันจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ถึงเวลาก็เป็นไปเอง หลวงพี่ คิดจะปฏิบัติธรรม ก็เป็นกุศลที่น่าอนุโมทนา แต่ก็ต้องระวัง เพราะ เป็นท่านมหานี่ ชาวบ้านเขาชื่นชม ไม่ว่าหญิงหรือชาย สาวๆก็อาจ นิยมมากเป็นพิเศษ หมั่นปฏิบัติวัตถาก หลวงพี่อย่าเผลอก็แล้ว กัน เดี๋ยวจะไม่ได้ปฏิบัติ"


ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ได้ยินสามเณรโต้ตอบกับท่านมหาจำเริญ ก็หัวร่อชอบใจ "ฟังไว้นะท่านมหา…ฟังไว้ เณรพูดได้หลักแหลมที เดียว มีท่าทางจะเป็นอย่างนั้นไหมละ ? " "ก็มีเค้าอยู่ขอรับ หลายคนเสียด้วย แต่ผมไม่ได้สนใจ หลีก เลี่ยงได้ก็หลีกเลี่ยง เพราะยังรักผ้าเหลืองอยู่"


"รักผ้าเหลืองอย่างเดียวไม่พอหรอก ต้องเอาทางปฏิบัติและ ธรรมวินัยเข้าช่วย ทางวินัยก็อย่ารับแขกสาวๆ ตามลำพัง ต้องให้ พระเณรมานั่งเป็นเพื่อนด้วย แม้กระนั้นก็อย่าคุยนาน ต้องหากิจวัตร ที่จะหลีกไปทำ เพื่อให้เขาจำเป็นต้องกลับไป ควรสำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้มาก ทางปฏิบัติก็ต้องเร่งทำสมาธิ ให้มาก เพื่อให้เกิดสติเท่าทันกิเลส ความยินดีกำหนัด ไม่นำไปปรุงแต่ง ให้เป็นเรื่องราวยาวออกไป ผู้หญิงมาทำตาหวานเยิ้มให้ ไม่ว่าใครก็อดคิดปรุงแต่งไม่ได้ว่า เขารักเรา พอมีคำว่ารักขึ้นหน้า มันก็เกิดความคิดปรุงแต่งกันไปใหญ่ ท่านจึงแนะนำให้พระเรา เข้าไปอยู่ในป่าช้าเสียบ้าง เป็นวัตรได้ยิ่งดี จะได้พิจารณาอสุภกรรมฐาน เห็นความตายเน่าเปื่อยผุพัง เปรียบ เทียบกับความสวยงาม ซึ่งที่สุดก็จะเป็นเช่นเดียวกัน"


"หลวงพ่ออาจารย์พูดเช่นนี้ ผมชักไม่ไว้ใจตัวเองเสียแล้ว อยาก ติดตามหลวงพ่อไปธุดงค์ด้วย"


"อย่าเอาถึงอย่างนั้นเลย" ท่านอาจารย์กล่าวพร้อมกับเสียหัวเราะ แล้วหันไปทางเณร "ว่าอย่างไรเณร ไปพูดให้ท่านมหาไม่ไว้ใจตัวเองเสียแล้ว" "หลวงพี่ครับ การไม่ไว้ใจตัวเอง เป็นความไม่ประมาท ผมมอง เห็นว่า ถ้าหลวงพี่จะพากเพียรปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่ช้าก็จะได้เห็น ธรรมที่เกิดขึ้นเอง จริตของหลวงพี่ คือ หมั่นพิจารณาอสุภกรรม ฐาน จึงจะได้ผล ไปถือธุดงค์ข้อที่ว่าอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ก็จะสิ้นเรื่อง กลางวันออกมาปฏิบัติกิจของคณะสงฆ์ กลางคืน ๖ โมงเย็นไปอยู่ ในป่าช้า ปลูกกระต๊อบขึ้นสักหลังหนึ่ง เคร่งครัดปฏิบัติถวายชีวิตต่อ พระพุทธเจ้า จะไม่มีอิตถีมาร หรือมารร้ายต่างๆมารบกวน"


ท่านมหาหันไปดูท่านอาจารย์ แล้วก็หันไปทางสามเณรถามว่า "เณร ว่าอย่างนั้นจริงๆหรือ เอาล่ะ หลวงพี่จะทำตาม"

 
...........................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม