Blog นี้สร้างมาเพื่อ เป็นสื่อกลางให้ผู้สนใจในการปฏิบัติ ได้มาศึษาหาความรู้ และ แนะนำสถานที่ปฏิบัติให้แก่ผู้สนใจ และ ช่วยนักปฏิบัติผู้กำลังหลงทาง ให้เจอทางออก และ เข้าถึงซึ่งความเป็นจริงของสภาวะ

7 เมษายน 2553

อัศจรรย์..พระชัยมงคลคาถา ( พาหุงมหาการุณิโก )


เมื่ออาตมาได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว



คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้วฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใสอาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่าวกับอาตมาว่า


สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว


“ฉันคือ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็นเจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่า และประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทยจากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว”




ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่าเราเองนั้นกำหนดจิตด้วยกรรมฐานมีสติอยู่เสมอ เรื่องฝันฟุ้งซ่านเป็นไม่มี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชัยมงคล และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ แล้วจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น




อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร. กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัว ไปอีกวันหนึ่ง เพื่อที่อาตมาจะได้นำ พระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กับวัดอัมพวันซึ่งพังลงน้ำ ที่ ก๋งเหล็ง เป็นคนรวบรวมเอามาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ ๆ แต่แตกหักพังทั้งนั้นหลายสิบปี๊บ อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง



วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึงก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง มีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านไม้ก็ยอมตาย คนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น. อาตมาลงไปภายในแล้วก็พบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริง ๆ อาตมาจึงได้พบว่าแท้ที่จริงแล้วสิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว ท่านได้จารึกถวายพระพร ก็คือบทสวดที่เรียกว่า “พาหุงมหาการุณิโก” ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า “เราสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว ศรีอโยธเยศ คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”


พาหุงมหากา (รุณิโก) คืออะไร


ถึงตอนนี้ผู้เขียนได้กราบนมัสการหลวงพ่อจรัญแล้ว เรียนถามท่านขึ้นด้วยความสนใจว่า พาหุงมหาการุณิโกคืออะไรขอรับหลวงพ่อ




อ๋อ ก็คือบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย พาหุงสหัส ไปจนถึง ทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึงมหาการุณิโกนาโถหิตายะ และจบลงด้วยภะวะตุ สัพพมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะสังฆานุภาเวนะสทาโสตถี ภะวันตุ เต อาตมาเรียกรวมกันว่า พาหุงมหากา




อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือ บทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว ได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้สวดเป็นประจำ เวลาอยู่กับพระมหาราชวัง และในระหว่างศึกสงคราม "จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลย" แม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคน ก็ทรงมีชัยเหนือกองทัพพม่า ด้วยการกระทำยุทธหัตถีมีชัยเหนือพระมหาอุปราชา ณ ดอนเจดีย์ปูชนียสถาน "แม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากันพระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิปาน แต่ก็มิได้ต้องพระองค์" ด้วยเดชะพาหุงมหากาที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง




อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมาด้วยความสบายใจ ถึงปากปล่องที่ลงไปเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ



ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร "เพราะพาหุงมหากานั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา" จากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคีรี จากองคุลิมาล จากนางจิญมานวิกา จากสัจจะกะนิครนธ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ "ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวันจะมีชัยชนะ มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน" มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ




ขอให้คุณโยมช่วยประชาสัมพันธ์ให้ด้วยนะว่า ให้สวดพาหุงมหากากันให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว ยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมาก ๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้ประเทศมีความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า

ไม่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้นที่พบความมหัศจรรย์ของบทพาหุงมหากา แม้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงพบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้




“เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้ว ก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้นแล้ว นิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ


โยมช่วยบอกญาติโยมด้วยนะ ว่า


สวดพาหุงมหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มาก ๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง สวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงสวดชินบัญชร
เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุณสมเด็จท่านให้สวดบูชาพระอรหันต์ของท่าน ต้องสวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชรให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลชีวิต”


หลวงพ่อจรัญได้พูดเรื่องพาหุงมหากานี้อย่างละเอียด แล้วท่องให้ฟังด้วยเพราะท่านต้องการให้ผู้เขียนได้จดจำและเอาไปบอกต่อกับท่านผู้อ่านต่อไป



ท่านผู้อ่านที่เคารพ วัดอัมพวันเป็นดินแดนแห่งความสงบร่มเย็นด้วยอำนาจแห่งสติปัฏฐาน การเจริญภาวนา การเดินจงกรม การละเว้นสิ่งที่พึงละพึงเว้น เป็นดินแดนแห่งธรรมะและการหลีกเร้นจากความวุ่นวายของโลกภายนอก เพื่อแสวงหาความสงบแห่งจิตใจ แต่การเข้าไปต้องด้วยศรัทธาอันน้อมนำเข้าไป ไม่ใช่เพราะขัดพวกพ้องไม่ได้หรือเสียไม่ได้


ประตูวัดอัมพวันเปิดต้อนรับผู้แสวงหาสมบัติมนุษย์ ผู้ที่เป็นผู้เจริญด้วยสติปัญญาและการรู้จักคำว่าการคารวะและการเห็นสมณะเป็นอุดมมงคล หลวงพ่อจรัญท่านยินดีให้ธรรมปฏิบัติ และตอบข้อข้องใจในสิ่งที่เป็นไปเพื่อความเจริญแห่งชีวิตของผู้ถามและแก่ส่วนรวมทั่วไป และโปรดอย่าลืมคติของหลวงพ่อว่า “มาได้ รอได้ ทนได้ พบได้ ได้ดี” มนุษย์สมบัตินั้น หลวงพ่อว่า แสวงหาได้ไม่ยากด้วยการภาวนาและการปฏิบัติกรรมฐาน


พระธรรมสิงหบุราจารย์

(หลวงพ่อ จรัญ)
เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี


ถวายพรพระนะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
(ว่า ๓ จบ )

๑. พุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ



๒. ธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ




๓. สังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

 
๔. พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ)

๑) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง คีรีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ๒) มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ๓) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ๔) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ๕) กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินาชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ๖) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง



วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ๗) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ๘) ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ๙) เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ




๕. มหาการุณิโก

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเกสีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณีธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณ



ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

 
คาถาชนะมาร

ปัญจะมาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสสิ ธัมมะจักกัง ปาวัตตะยิเอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง



บทกรวดน้ำ

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข



อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข



อิทัง เม ครุปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ครุปัชฌายาจริยา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข



อิทัง เม เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ เทวะตาโย ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลาย จงมีความสุข



อิทัง เม เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ เปตะโย ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข



อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข




บทแผ่เมตตา

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น



อะเวรา (โหนตุ) จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย



อัพยาปัชฌา (โหนตุ) จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย



อะนีฆา (โหนตุ) จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย



สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ





ที่มาและอานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือ (พาหุง มหาการุณิโก)

ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่า วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากาฯ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้ทัพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

*****************************************

3 เมษายน 2553

เรื่อง คุณแม่สุ่ม ศิษย์เอกของหลวงพ่อจรัญ


โยมสุ่ม ทองยิ่ง อาตมารู้ว่าจะต้องตายภายใน ๓ ชั่วโมง เลยเทศน์ให้ฟัง เทศน์จบเขาก็รีบเดินกลับกุฏิ อาเจียนออกมาเป็นเลือดแล้วก็ตาย เขาเข้าผลสมาบัติไปทันที เพราะเขาเตรียมไว้แล้ว อาตมาเคยสอนกรรมฐานแก่โยมคนนี้เมื่อสมัยยังเป็นสาว อายุ ๓๘ ปี ตอนตาย อายุ ๘๔ ปี ๖ เดือน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ โยมสุ่มเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย จะต้องตาย นายแพทย์บอกว่าหลวงพ่อ ปอดหมดแล้ว อาตมาจึงรับมาอยู่ที่วัด บอกให้เจริญกรรมฐานต่อไป ก็หายวันหายคืน เขาช่วยตัวเอง อาตมาไม่ได้เสกเป่าแต่ประการใด อยู่มาได้ ๑๕ ปี หมดเวลาแล้วจะต้องเดินทางต่อไป เขาก็รู้ตัว อาตมาก็เทศน์ให้ฟังเรื่อง ปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย พอ ๓ ชั่วโมง เขาก็ตายจากโลกไป



เรื่อง คุณแม่สุ่ม ศิษย์เอกของหลวงพ่อจรัญ

โดย เมือง ทองยิ่ง

  สมัยนั้นผมยังเป็นเด็กอยู่ อายุประมาณ ๑๓-๑๔ ปีเห็นจะได้ กำลังเรียนอยู่ชั้น ม.๒ ที่โรงเรียนชละเอมวิทยา สิงห์บุรี ผมสังเกตเห็นว่า คุณแม่พายเรือไปกับแม่ช้อย (คุณยายของผม) และคนแก่อีกประมาณ ๒-๓ คน ไปวัดอัมพวันทุกวันพระ บ้านผมอยู่เหนือวัดอัมพวันขึ้นมาไกลโขทีเดียว ประมาณ ๘ กิโลเมตร นัยว่าไปรับกรรมฐานกัน ตกกลางคืนประมาณสองทุ่มคุณแม่ก็นั่งและเดินจงกรมสลับกันไป พอประมาณตีสี่ผมก็เห็นคุณแม่นั่งและเดินอีก ที่เห็นเพราะเรานอนรวมกันทั้งครอบครัว มีผม พี่สาวสองคน คุณแม่และคุณพ่อ ส่วนมากคุณพ่อมักจะนอนนอกมุ้ง ตอนแรก ๆ ผมก็นึกสงสัยว่าคุณแม่ทำอะไร แทนที่จะหลับจะนอน กลับต้องมาอดหลับอดนอนอย่างนี้ เกรงว่าจะเสียสุขภาพ เพราะคุณแม่เป็นคนขยัน ตอนกลางวันทำงานทั้งวัน ปลูกผักถากหญ้าไปตามเรื่อง พอกลางคืนก็นั่งและเดิน ไม่เคยเว้นเลยแม้แต่คืนเดียว




ผมอดรนทนไม่ได้จึงต้องถาม ก็ได้รับคำตอบว่า ไม่ไปรับกรรมฐานจากหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวันมาต้องปฏิบัติให้ได้ เพราะทุกวันพระคุณแม่ต้องไปสอบอารมณ์กับหลวงพ่อแล้วก็กลับมาปฏิบัติต่อ เกิดอะไรขึ้นระหว่างปฏิบัติก็ต้องจดไว้ แล้วนำไปถามหลวงพ่อในวันพระต่อไป ตอนนั้นชื่อของหลวงพ่อจรัญยังไม่มีความหมายกับผมเท่าใดนัก บางครั้งยังนึกไม่พอใจเสียอีกที่ท่านมาเป็นเจ้าของหัวใจของคุณแม่อีกคนหนึ่ง เพราะคุณแม่ทุ่มเทกับการปฏิบัติกรรมฐานอย่างมาก จนทำให้ผมมีความรู้สึกว่าคุณแม่ทอดทิ้งคุณพ่อ ผมรักคุณพ่อและเห็นใจคุณพ่อ ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ผมเข้าข้างคุณพ่อเสมอ เป็นความคิดตามประสาเด็ก




บางครั้งก็คิดว่าคุณแม่ตัดช่องน้อยเฉพาะตัว เอาสบายคนเดียว หาได้รู้ไม่ว่าที่คุณแม่ไปวัดอัมพวันทุกวันพระนั้น เป็นการกระทำที่เสียสละทั้งกำลังกายและใจ เพื่อที่จะนำพวกเราที่ดวงตายังมืดมิดอยู่ให้สว่างได้ในอนาคต และคุณแม่ก็ทำได้จริง ๆ ทำให้พวกเราได้พบกับแสงสว่างแห่งชีวิตในที่สุด ซึ่งความสำเร็จทั้งปวงของคุณแม่นี้ก็ด้วยบุญบารมีและพลังความสามารถของหลวงพ่อจรัญ ที่ได้สั่งสอนชี้นำให้ปฏิบัติ ประกอบกับความพยายามอย่างสูงสุดและบุญกุศลที่คุณแม่ได้สร้างสมมาทั้งชาตินี้และในอดีตชาติ





ชื่อหลวงพ่อจรัญเริ่มเข้ามาในความรู้สึกของผมเรื่อย ๆ ผมเป็นคนสนใจทางพระ เห็นคุณแม่ปฏิบัติก็ซักถามอยู่เรื่อย ๆ แล้วก็ได้คำตอบที่แปลก ๆ หลายเรื่อง เช่น การอดนอนกลางคืนเพราะปฏิบัติ ก็บอกว่า ไม่รู้สึกอ่อนเพลียทั้ง ๆ ที่ทำงานทั้งวัน ถามว่าได้อะไรจากการนั่งกรรมฐานบ้าง คุณแม่บอกว่า หลวงพ่อท่านว่าได้ทั้งครอบครัว กุศลผลบุญที่คุณแม่นั่งกรรมฐาน จะได้แก่สามีและลูกด้วย




ตอนนั้นผมก็ยังไม่ค่อยเชื่อนัก เพราะยังไม่ศรัทธาหลวงพ่อ และยังไม่เคยได้สัมผัสหลวงพ่อด้วยตนเองเลย ในภายหลังเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วจึงได้ตระหนักว่าคำกล่าวนี้เป็นจริงทุกประการ






คุณแม่มีศรัทธาและยึดมั่นในหลวงพ่อจรัญเป็นที่สุด สมัยนั้นหลวงพ่อท่านมีเวลาสอบอารมณ์ผู้ปฏิบัติทุกคนในวันพระ คุณแม่จะจดจำทุกขั้นตอนที่หลวงพ่อบอกแล้วกลับมาปฏิบัติที่บ้านด้วยความพยายามและอดทนจริง ๆ ผมมานึก ๆ ดูแล้ว คนที่จะประสบความสำเร็จในทางสายนี้ได้ต้องเป็นผู้ที่มีวิริยะอุตสาหะสูงสุด ต้องไม่วอกแวก ศรัทธาและยึดมั่นในทางสายนี้ ปฏิบัติตามแนวคำสอนนี้อย่างแน่วแน่ทุกขั้นตอน เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะสำเร็จกันง่าย ๆ หลวงพ่อจรัญท่านพูดเสมอว่า นั่งกันเดี๋ยวเดียวก็คุยแล้วว่า ได้ขั้นนั้นขั้นนี้ สำเร็จนั่นสำเร็จนี่ ผมดูตัวอย่างจากคุณแม่ของผมแล้ว เห็นว่าไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ๆ คุณแม่ฝึกปฏิบัติทุกวันไม่ขาด ตั้งแต่สองทุ่มถึงห้าทุ่ม ตีสี่ถึงหาโมงเช้า เป็นเวลาถึงสิบปีกว่า ท่านจะนั่งสมาธิได้อย่างแนบแน่น เริ่มนั่งตั้งแต่ ๕ นาที ๑๐ นาที ๑๕ นาที เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ มีนาฬิกาไว้ดูอยู่ตลอดเวลา




บางครั้งผมเห็นคุณแม่นั่งตัวตรง บางครั้งท่านก็นั่งขัดสมาธิหงายท้อง เดี๋ยวก็ค่อย ๆ นั่งตัวตรง ผมถามว่า ทำไมคุณแม่ต้องนั่งหงายท้อง ท่านบอกว่าสมาธิแรงกว่าสติ พอเผลอสติก็หงายท้องเลย ทั้ง ๆ ที่ยังขัดสมาธิอยู่ พอรู้ตัวก็ต้องใช้สติกำหนดขึ้นนั่งท่าเดิม เรื่องหนึ่งที่ผมเห็นเป็นเรื่องอัศจรรย์ก็คือ การกำหนดเวลานั่งได้ เช่น ต้องการจะนั่ง ๑ ชั่วโมง ๒ ชั่งโมง ๓๐ ชั่วโมง ๔๐ ชั่วโมง ก็สามารถกำหนดได้ โดยการอธิษฐานจิต เช่นจะนั่ง ๒ ชั่วโมง ก็อธิษฐานว่าจะขอนั่งสมาธิ ๒ ชั่วโมง (มีวิธีอธิษฐาน) เมื่อเริ่มนั่งสัก ๒-๓ นาที ก็จะเกิดสมาธิแนบแน่นและสมาธิจะคลายเมื่อถึงเวลา ๒ ชั่วโมง (จากคำบอกเล่าของคุณแม่) ผมเห็นว่าผู้จะปฏิบัติได้อย่างนี้ต้องผ่านการฝึกปฏิบัติมาอย่างมากกับการนั่งโดยกำหนดเวลา ผมได้เห็นการนั่งโดยกำหนดเวลาของคุณแม่บ่อย




วันหนึ่งท่านก็บอกว่าหลวงพ่อให้นั่ง ๓๐ ชั่วโมง เพราะคุณแม่กำลังจะเลื่อนไปปฏิบัติขึ้นต่อไป จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับบุญกุศลของคุณแม่เอง คุณแม่เข้าไปนั่งสมาธิในห้องซึ่งไม่เคยมีใครเข้าไปใช้นอนเลยเพราะร้อนอบอ้าว คุณแม่เริ่มนั่งตั้งแต่หนึ่งทุ่มของวันหนึ่งและออกจากสมาธิเวลาตีสองของวันรุ่งขึ้น ครบเวลา ๓๐ ชั่วโมงพอดี โดยไม่ได้เคลื่อนไหวไปไหนเลย คุณแม่บอกว่าไม่รู้สึกหิวหรือต้องการขับถ่ายใด ๆ ระหว่างที่คุณแม่นั่งนั้นพวกเราก็เป็นห่วง คอยไปแอบดูทางหน้าต่าง แต่ตอนกลางคืนไม่มีใครกล้าเข้าไป ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๓ หลวงพ่อได้ให้คุณแม่ไปนั่งสมาธิที่วัดอัมพวันเป็นเวลา ๓๐ ชั่วโมง เพื่อเป็นการทดสอบ คุณแม่ก็นั่งได้ ตอนนั้นคุณแม่อายุได้ ๔๕ ปี ผมคิดว่าการนั่ง ๓๐ ชั่วโมงนั้นก็สูงสุดแล้ว แต่เมื่อปี ๒๕๓๐ หลวงพ่อให้คุณแม่นั่ง ๔๐ ชั่วโมง ท่านก็ยังทำได้




เรื่องหนึ่งที่ทำให้ผมเริ่มสนใจและศรัทธาหลวงพ่อ ก็คือเรื่องการสอบอารมณ์ คุณแม่เล่าว่าเมื่อเวลานั่งสมาธิกันหลาย ๆ คน หลวงพ่อก็จะนั่งสอบอารมณ์ของแต่ละคนไปด้วย แม้แต่เวลาคุณแม่นั่งที่บ้าน ท่านก็สามารถสอบอารมณ์ได้ คุณแม่บอกว่าเวลานั่งสมาธิจะเกิดนิมิตต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ ซึ่งจะต้องจดบันทึกไว้ แล้วนำไปบอกหลวงพ่อทุกวันพระ หลวงพ่อจะเป็นผู้บอกว่าปฏิบัติถูกหรือผิด ควรแก้ตรงไหนที่ผิด จะเป็นเครื่องหมายบอกว่าผู้นั้นได้เดินทางมาถูกแล้วหรือไม่




มีอยู่ครั้งหนึ่งคุณแม่เล่าว่า หลวงพ่อให้นั่งสมาธิที่วัดพรหมบุรี หลวงพ่อก็นั่งคุมอยู่ด้วย คุณแม่บอกว่า เป็นการนั่งที่ทรมานที่สุดในชีวิต ใจแทบจะขาดเสียให้ได้ มีแต่ความทุกข์ทุรนทุราย จึงได้อธิษฐานจิตว่า ถ้าไม่ผ่านก็ขอถวายชีวิต หลังจากได้รับทุกขเวทนาจนถึงที่สุด ดวงใจก็ขาดวับไป เปรียบเสมือนสายว่าวขาดผึง เมื่อถูกพายุพัดแล้วมีความรู้สึกเหมือนนั่งอยู่ใต้ร่มโพธิ์ มีลมพัดเฉื่อยฉ่ำ รู้สึกเย็นชุ่มชื่น มีความสุขอย่างบอกไม่ถูก พอออกจากสมาธิก็พบว่า หลวงพ่อนั่งยิ้มแสดงความชื่นชมอยู่แล้ว ท่านบอกว่าคุณแม่ผ่านขั้นสำคัญที่สุดแล้ว แสดงว่าหลวงพ่อท่านหยั่งรู้ภาวะจิตของทุกคนได้เป็นอย่างดี




ผมเริ่มรู้จักหลวงพ่อจรัญมากขึ้น เมื่อตอนผมบวชเป็นพระภิกษุที่วัดศรีสาคร ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ๒๕๐๑ ประมาณ ๔๐ วัน คุณแม่ให้ผมไปรับกรรมฐานจากหลวงพ่อจรัญมาปฏิบัติ ผมเริ่มเรียนรู้ถึงแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อสอนว่าผมมีเวลาปฏิบัติน้อย ก็ให้ได้พื้นฐานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผมมีเวลาปฏิบัติอยู่ได้ ๑ เดือน ไม่ค่อยก้าวหน้าเพราะผมไม่ได้ประจำอยู่ที่วัดอัมพวัน แต่มีจิตน้อมนำและศรัทธาทางปฏิบัติของหลวงพ่อมาก จึงได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ หลังจากลาสิกขาแล้ว ผมกลับไปเรียนต่อที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และต่อที่ มศว.ประสานมิตร จนได้ปริญญาตรี (กศ.บ) ตลอดเวลาที่ผมศึกษาอยู่นั้น ผมใช้วิชาฝึกสมาธิของหลวงพ่อจรัญตลอดเวลาอย่างได้ผลดียิ่ง เช่น ก่อนจะอ่านตำรา ผมจะนั่งสมาธิก่อนประมาณ ๕ นาทีแล้วเริ่มดูหนังสือ จะสามารถทำความเข้าใจจดจำได้เป็นอย่างดี ผมพักอยู่ในหอพักประจำ ทั้งที่บ้านสมเด็จและที่ประสานมิตร ที่อ่านหนังสือมักมีเพื่อนมากมาย ผมใช้วิชาสมาธิช่วยจนสามารถที่จะศึกษาหาความรู้ได้ในทุกสถานการณ์ จะมีเสียงเอ็ดตะโรของเพื่อนหรืออากาศร้อนอบอ้าวก็ไม่เป็นปัญหา






หลักสำคัญที่หลวงพ่อจรัญให้ไว้สำหรับการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ก็คือการมีสติกำหนดรู้เท่าทันสภาวะของจิตอยู่ตลอดเวลา กำหนดรู้ทุกอิริยาบถของตัวเรา เมื่อได้ฝึกปฏิบัติจนเป็นกิจนิสัย แล้วก็สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี ถึงคราวสุขก็ไม่สุขจนเหลิง ถึงคราวทุกข์ก็ไม่ทุกข์จนเหลือทน ทำให้เป็นคนมีสติ ช่วยขจัดความโลภ โกรธ หลง ลงได้มาก ผมนำไปใช้กับการทนต่อทุกขเวทนา ซึ่งอาจจะเกิดจากกายหรือจิตใจก็ตาม จะรู้เท่าทันทุกข์ที่เกิดขึ้น แม้เรื่องที่เกิดขึ้นจะร้ายแรงเพียงใดก็ตาม ก็สามารถทำใจให้สงบ โดยใช้สติกำหนดรู้ แล้วค่อยหาวิธีแก้ไขไปตามเหตุผลที่ควรจะเป็น ใช้การแผ่กุศลจิตให้ทั้งมิตรและศัตรู โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ จนทำให้ความรู้สึกว่าโลกนี้ ผมมีแต่มิตรทั้งนั้น






มีเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างที่ผมได้รับฟังจากคุณแม่ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อ บางเรื่องอาจจะเป็นการบังเอิญ บางเรื่องก็เหลือเชื่อ ซึ่งผมก็มักจะบอกกับคุณแม่ว่าอย่าไปเล่าให้ใครเขาฟัง เพราะเขาอาจจะคิดว่าคุณแม่เพ้อฝัน หรืออวดอุตริมนุสธรรม เพราะระดับจิตใจของคนไม่เหมือนกัน ผมจะขอนำมาเล่าบ้างเพียงเพื่อให้เห็นว่า เมื่อได้ปฏิบัติถึงขั้นแล้วอาจจะเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างนี้ขึ้นได้ เรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองก็คือ ขณะที่ผมกำลังศึกษาอยู่ที่ มศว.ประสานมิตร ประมาณปี ๒๕๐๔ ผมวางแผนจะไปเที่ยวที่ มศว.บางแสน ในการแข่งขันกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ ตอนกลางคืนผมฝันว่า คุณแม่ไปหาที่หอพักของมหาวิทยาลัย รุ่งเช้าผมก็ไม่ติดใจอะไรนัก เตรียมตัวขึ้นรถจะไปกับเขา พอรถเคลื่อนออกไป ไม่รู้ว่ามีอะไรดลใจให้ต้องโดยลงจากรถ เดินกลับหอพักเสียเฉย ๆ ในใจก็นึกถึงความฝันตอนกลางคืน แต่ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะคุณแม่ไม่เคยไปที่ มศว.ประสานมิตรเลย และก็ไม่มีใครที่บ้านเคยไปด้วย ผมนั่งทำงานอยู่ประมาณเกือบเที่ยงวัน เพื่อนมาบอกว่า มีคนมาหา คอยอยู่ห้องโถง พอผมลงไปก็พบคุณแม่กับบุญมี (หลานสาว) ผมแทบไม่เชื่อสายตาตัวเองเลย ทั้งดีใจและตกใจว่า คุณแม่มาได้อย่างไรเพราะทั้งสองคนนั้นไม่เคยไปที่ มศว.ประสานมิตรเลย




ท่านเล่าให้ฟังว่าคิดถึงผม อยากจะมาเยี่ยม ตอนกลางคืนได้อธิษฐานจิตบอกว่า "ทิดเมือง พรุ่งนี้แม่จะไปเยี่ยมนะ ให้คอยรับด้วย" พอรุ่งเช้าก็ขึ้นรถไปกรุงเทพฯ กันแต่เช้า พอถึงตลาดหมอชิตก็ยังหวังว่าผมจะไปรับ แต่เมื่อคอยแล้วไม่เห็นผมไปรับ ก็ตัดสินใจจะขึ้นรถเมล์ไปหาเอง ไม่เคยมีใครไปที่ มศว.ประสานมิตรเลย แม้แต่ชื่อก็ยังไม่รู้จัก ถามเด็กรถว่า ไปวิทยาลัยสรรพสามิตไปทางไหน ลูกชายมาเรียนครูอยู่ที่สรรพสามิต พวกเด็กรถคงจะพอฟังได้ว่าคุณแม่ถามนั้นคือ มศว.ประสานมิตร ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นวิทยาลัยการศึกษาประสานมิตร เรียกกันสั้น ๆ ว่าประสานมิตร จึงบอกให้ขึ้นรถเบอร์ ๓๘ ให้นั่งไปจนสุดทางแล้วจึงลง แล้วให้ถามเด็กรถใหม่ว่าจะขึ้นรถคันไหนไปประสานมิตร เป็นที่น่าอัศจรรย์ คุณแม่ไปหาผมที่ประสานมิตรจนได้ ท่านที่เคยไป มศว.ประสานมิตรคงจะทราบว่าไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายเลยที่จะไปโดยรถเมล์ ครั้นจะขึ้นแท็กซี่ก็กลัวถูกหลอกลวง




หลวงพ่อบอกว่า ธรรมดาจิตของคนทั่วไปจะกระจัดกระจายฟุ้งซ่านไม่มีพลัง แต่เมื่อใดก็ตามที่เราสามารถ รวมจิตให้เป็นหนึ่งเดียว ก็จะมีพลังอำนาจมหาศาลซึ่งเรียกว่า พลังจิต สามารถทำอะไร ๆ ได้ อย่างที่เราไม่คาดคิดว่าจะเป็นไปได้ เช่น การใช้โทรจิต คือการติดต่อกันโดยใช้จิต หลวงพ่อเล่าว่า พระเครื่องที่ท่านสร้างนั้น ท่านสั่งช่างให้ทำโดยทางโทรจิต คุณแม่ก็เล่าถึง พลังจิต ที่เกิดขึ้นกับท่านอยู่หลายเรื่อง เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ท่านไปเที่ยวเขาวงพระจันทร์ที่จังหวัดลพบุรีกับคณะหลายคน ตอนนั้นท่านอายุ ๖๐ กว่าแล้ว ใครที่เคยไปขึ้นเขาวงพระจันทร์ก็คงจะทราบว่าสูงเพียงใด มีหลายคนที่พักคอยอยู่ข้างล่าง พวกอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือแม้แต่อ่อนกว่า ท่านก็ไม่มีใครกล้าขึ้น






คุณแม่คิดว่า เมื่อมาแล้วต้องลองขึ้นดูเพราะหลังจากนี้แล้วก็คงไม่ได้มีโอกาสได้ขึ้นอีกแล้ว จึงตัดสินใจเดินขึ้นไปตามบันไดกับเขา ระยะแรกๆ พวกหนุ่มๆ สาวๆ แรงดีก็แซงขึ้นหน้าไป เหลียวมองดูคุณแม่แล้วซุบซิบกันเหมือนกับจะบอกว่ายายแก่คนนี้จะขึ้นไปถึงยอดกับเขาหรือ ท่านเดินขึ้นอยู่พักใหญ่เห็นว่าเริ่มเหนื่อยแล้วก็ลองใช้การกำหนดจิตจนเกิดสมาธิ และเกิดพลังขึ้นในร่างกาย ทำให้มีความรู้สึกว่าเหมือนกับตัวเบาเดินขึ้นไปได้อย่างสบาย ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย แซงหน้าคนอื่นๆ ไปเรื่อยๆ แล้วผ่านกลุ่มเด็กหนุ่มที่นั่งพักอยู่ริมบันได มองดูท่านอย่างแปลกใจ เป็นเด็กหนุ่มกลุ่มเดียวกันกับที่ซุบซิบกันเมื่อตอนเดินแซงขึ้นหน้าท่านนั่นเอง คุณแม่เดินขึ้นไปจนถึงยอดเขาวงพระจันทร์ในเวลาอันรวดเร็ว ไม่มีใครตามทัน นั่งคอยอยู่พักใหญ่ พวกที่มาด้วยกันจึงได้ขึ้นไปถึง






คุณแม่ไม่ค่อยได้ใช้พลังจิตบ่อยครั้งนัก จะใช้ก็ต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น มีอยู่ครั้งหนึ่งตอนที่ผมจะไปดูงานที่ประเทศคานาดาเมื่อปี ๒๕๑๘ ตอนนั้นคุณแม่ยังอยู่ที่บ้าน จะมาวัดในวันพระเท่านั้น คุณแม่จะต้องไปส่งผมในวันรุ่งขึ้น แต่ไม่มีโอกาสจะได้บอกเล่ากับหลวงพ่อเลยเพราะยังไม่ถึงเวลามาวัด จึงทดลองใช้โทรจิตกับหลวงพ่อในตอนกลางคืนบอกว่า ไม่มีอะไรจะให้กับลูกเพื่อคุ้มครองตัวในการเดินทางไปเมืองนอก หลวงพ่อก็บอกคาถาให้ ๙ คำเอาไว้ป้องกันตัว คุณแม่จึงจดใส่กระดาษไว้ ตอนไปส่งผมที่สนามบินดอนเมือง ก็ส่งให้ผมแล้วบอกว่า หลวงพ่อให้คาถาไว้ป้องกันตัว ท่องให้ขึ้นใจจะป้องกันเหตุร้ายต่าง ๆ ได้ ผมก็ได้ใช้คาถานี้ตลอดการเดินทาง




มีอยู่ตอนหนึ่งของการเดินทางจากญี่ปุ่นไปเกาะฮอนโนลูลู เครื่องบินจะต้องบินเหนือมหาสมุทรเป็นเวลา ๑๐ ชั่วโมง เหลืออีก ๔ ชั่วโมง จะถึงฮอนโนลูลูก็เกิดพายุปะทะเครื่องบินสั่นไปทั้งลำ ผมมีความรู้สึกเหมือนนั่งเรือหางยาววิ่งปะทะลูกคลื่น ผมไม่เคยขึ้นเครื่องบินมาก่อนเลย ครั้งนั้นจึงเป็นประสบการณ์ครั้งแรกในชีวิต แต่ผู้ไม่รู้สึกกลัวหรือตื่นเต้น เพราะผมบริกรรมคาถาของหลวงพ่อ ทุกครั้งที่มีเหตุเสี่ยงอันตราย ผมรู้สึกปลอดภัยและทำใจได้ มีสติดี ไม่หวั่นไหว เพื่อนของผมที่ไปด้วยกัน บางคนนั่งหน้าซีดตัวสั่น เครื่องบินวิ่งฝ่าพายุอยู่เกือบชั่วโมงจึงพ้น ทุกคนรู้สึกโล่งอก ผมใช้คาถาของหลวงพ่อตลอดมาตราบจนทุกวันนี้ เนื่องจากผมยึดมั่นและศรัทธาในหลวงพ่อและคุณแม่มาก ทุกครั้งที่ผมจะใช้คาถานี้ จะมีความรู้สึกปลอดภัยและมีสติ




คาถามี ๙ คำคือ อุ มะ พัด พา ยะ อุ พัด อะ หัง


"คาถาแต่ละคำมีความหมายในตัวเอง ผมจำไม่ได้ ถ้าท่านอยากรู้คงจะต้องถามหลวงพ่อเอาเอง"




ในเรื่องการไม่ชอบอิทธิปาฏิหาริย์ของคุณแม่นั้น เป็นหนทางที่ทำให้คุณแม่ได้หลุดพ้นจากการยึดติดและพอใจในพลังอำนาจมาแล้ว ท่านเล่าให้ฟังว่าสมัยที่ท่านปฏิบัติในระยะแรก ๆ ท่านมีความรู้สึกว่าท่านมีพลังจิตสูงมาก นั่งเพียง ๒-๓ นาที ก็เกิดสมาธิแนบแน่น มีพลังนึกอยากจะรู้อะไรเห็นอะไรก็รู้ได้เห็นได้ทันที ท่านระลึกชาติย้อนหลังได้ถึง ๗ ชาติ สามารถรู้อดีต รู้ปัจจุบัน รู้อนาคต ได้อย่างฉับพลัน หลวงพ่อบอกว่าท่านกำลังอยู่ในระยะของการเข้าสมถกรรมฐานซึ่งผู้ปฏิบัติทุกคนจะต้องผ่านสมถกรรมฐานก่อน




ส่วนมากคนจะคิดว่าตนสำเร็จแล้วเพราะจะเกิดอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย เนื่องจากเป็นระยะที่มีพลังจิตสูงมาก อยู่ยงคงกระพัน เหาะเหินเดินอากาศ นั่งทางในสามารถรู้ได้ทุกอย่าง เมื่อมีอิทธิปาฏิหาริย์คนก็จะศรัทธา ลาภสักการะก็จะตามมา จิตใจที่เคยมั่นอยู่กับการปฏิบัติธรรม ก็จะคลอนคลายไม่สามารถเดินทางไปสู่การหลุดพ้นได้ ระยะที่ คุณแม่ตัดสินใจไม่ยึดติดในอิทธิปาฏิหาริย์ใด ๆ หลังจากผ่านขั้นนี้แล้ว ท่านบอกว่าพลังอำนาจก็ลดลง เสื่อมลง ท่านก็ปฏิบัติต่อไปในแนวทางที่ได้ตั้งใจไว้ หลวงพ่อบอกว่าเป็นการปฏิบัติไปสู่วิปัสสนากรรมฐาน นั่นเอง




หลวงพ่อเคยพูดเสมอว่า ท่านไม่ได้สอนวิปัสสนากรรมฐานเฉพาะคนธรรมดาเท่านั้น ท่านยังสอนผีและเทวดาด้วย ครั้งแรกผมฟังก็ยังไม่เชื่อสนิทนัก แต่เมื่อผมคุยกับคุณแม่แล้วก็เชื่อว่าเป็นจริง เพราะคุณแม่ก็มีประสบการณ์ในการสอนผีเหมือนกัน ท่านบอกว่าคนที่ตายไปแล้ว บางคนที่เคยรู้จักกันเคยมาปฏิบัติธรรมก็มาหา บางคนคุณแม่ชักชวนมาปฏิบัติธรรมก็มาปฏิบัติ บางคนก็ไม่มา บางคนก็มาอยู่เฉย ๆ ไม่ปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานจิตของแต่ละคน คุณแม่บอกว่าผีนั่งสมาธิได้ดีกว่าคน นั่งนาน อดทน คุณแม่ชวนมาปฏิบัติธรรมวิปัสสนาอยู่ด้วยหลายคน นาน ๆ ไปพวกเขาก็บอกว่า จะไปจุติแล้วก็หายไป บางครั้งขณะที่คุณแม่นั่งสมาธิอยู่ก็มีผีเป็นจำนวนมากมาหาเพื่อขอรับส่วนบุญกุศลและขอเรียนวิปัสสนากรรมฐาน




หลวงพ่อนับว่าเป็นหมอชั้นเยี่ยม ท่านไม่เพียงแต่จะรักษาจิตของคนเท่านั้น ท่านยังสามารถรักษาร่างกายของคน โดยใช้พลังจิตได้อีกด้วย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ คุณแม่ได้ป่วยเป็นหวัด มีอาการไอ เหนื่อยมาก ตอนนั้นคุณแม่ยังอยู่บ้าน มาวัดเฉพาะวันพระ ผมจึงพาคุณแม่ไปตรวจที่โรงพยาบาลขุนสวรรค์ สิงห์บุรี คุณหมอวิชัยสั่งให้เอ๊กซเรย์พบว่า ปอดข้างซ้ายมีสีขาวทั้งหมด แสดงว่าเป็นน้ำท่วมปอด จึงได้สั่งให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลทรวงอก นนทบุรี ผลการตรวจ หมอเจาะเอาน้ำออกมาได้ถึง ๑.๓ ลิตร หมอสงสัยว่าคุณแม่อยู่ได้อย่างไร ไม่แสดงอาการ เพราะปอดมีน้ำขนาดนี้ต้องเหน็ดเหนื่อยมาก หมอได้เจาะชายโครงด้านซ้าย เพื่อตัดเนื้อหุ้มปอดไปตรวจด้วย




คุณแม่บอกว่า ตอนเขาเจาะชายโครงนั้น ท่านเข้าสมาธิแล้วนิมิตว่าเป็นการใช้กรรมอันเกิดจากท่านฆ่างูเหลือมตัวหนึ่ง ผมยังจำเหตุการณ์ตอนนั้นได้ดี งูเหลือมยาวราว ๓ เมตรครึ่ง มากินเป็ดตอนกลางคืน คุณพ่อถือฉมวกลงไปดู ตามด้วยคุณแม่ ผม และพี่สาว งูเหลือมเห็นแสงตะเกียงจึงเลื้อยหนีเข้าป่ากระชาย คุณพ่อไม่กล้าแทง เงื้อฉมวกอยู่ คุณแม่โมโหจึงคว้าฉมวกแทงเอง ถูกค่อนหางของงู ผมเห็นงูดิ้นและพันด้ามฉมวกเป็นเกลียวน่ากลัว พวกเราตีงูเหลือมจนตาย




ผลจากการตรวจน้ำจากปอดและเนื้อหุ้มปอด ปรากฎผลว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายที่ปอดข้างซ้าย ถ้าไม่รักษาจะตายภายใน ๕ เดือน ถ้ารักษาอาจจะอยู่ได้ ๑ ปี เพราะขณะนั้นมะเร็งได้กินถึงเยื่อหุ้มปอดแล้ว ผมตกใจมาก พี่สาวสองคนนั่งร้องไห้ คุณแม่ยังไม่ทราบ เพื่อความแน่ใจจึงให้ลูกของน้าเอาฟิล์มไปให้เพื่อนที่สถาบันมะเร็งดู ก็ได้รับคำตอบเหมือนกัน ผมได้มากราบนมัสการให้หลวงพ่อทราบ ท่านก็บอกว่าทราบแล้วเป็นที่ปอดข้างซ้าย ท่านก็พยายามช่วยอยู่ เมื่อเอาน้ำออกแล้วคงจะดีขึ้น ผมให้คุณแม่พักรักษาตัวอยู่ราว ๒ สัปดาห์




คุณแม่เล่าว่ามีอยู่คืนหนึ่ง ท่านนอนอยู่ได้ยินเสียงแตรรถ จำได้ว่าเป็นเสียงรถหลวงพ่อ สักครู่หลวงพ่อมายืนอยู่ข้างเตียงบอกว่าไม่เป็นไรจะช่วยแล้วก็เดินกลับไป คุณแม่ดีใจมากที่หลวงพ่อมาเยี่ยม ดูอาการดีขึ้นมาก ผมพาคุณแม่ไปพักที่บ้านของผม (บ้านพักครู ร.ร.สิงห์บุรี) ต้มยาแผนโบราณให้กินหลายขนานรวมทั้งของคุณหมอสมหมายด้วย ราว ๓ เดือนก็พาไปเอ็กซเรย์ที่พญาไทเอ็กซเรย์ ปรากฎผลว่าเหมือนเดิม ผมปรึกษาหมอสมหมาย ท่านบอกว่ายาแผนโบราณต้องใช้ควบคู่กันกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง ผมจึงไปซื้อมา ๑ ชุด ราคา ๖,๕๐๐ บาท จะให้คุณหมอสมหมายรักษา ยาชุดนี้ขณะใช้จะทรมานคนไข้มาก รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน ผมจะร่วง และก็ไม่รู้ว่าจะหายหรือไม่ ผมมาตรึกตรองดู เห็นว่าคุณแม่อายุมากแล้ว ตอนนั้นอายุ ๗๐ ปี จะทรมานท่านเปล่า ๆ ถ้าใช้ยาแล้วท่านตายไป คนก็จะบอกว่าเป็นเพราะผมทำ




เมื่อผมไปหาหลวงพ่อ ท่านก็บอกว่า ให้คุณแม่มาอยู่วัด ท่านจะช่วยรักษาทางจิตให้ แล้วให้กินยาสมุนไพรควบคู่ไปด้วย ผมจึงให้คุณแม่มาอยู่วัด ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๒๖ เป็นต้นมา ผมมอบยาชุดนั้นให้คุณหมอไป




ตอนนั้นคุณแม่ยังไม่ทราบว่าท่านเป็นมะเร็ง ผมได้แต่บอกว่าเป็นเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ให้คุณแม่รักษาตัวเองแล้วหลวงพ่อจะช่วยอีกแรงหนึ่ง ท่านก็ปฏิบัติมาตลอด มีอยู่ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านนั่งสมาธิ มีความรู้สึกว่า ร่างกายเจ็บแปลบปลาบไปหมด และเหมือนมีอะไรพุ่งออกไปจากตัวท่านทุกสาระทิศ คุณแม่ระลึกได้ว่า หลวงพ่อกำลังช่วยรักษา หลังจากนั้นท่านก็รู้สึกดีขึ้นและหายเป็นปกติ ขอบตาที่เคยดำคล้ำก็หายไป หลวงพ่อบอกว่าคุณแม่ได้ตายไปแล้ว แต่ด้วยบุญบารมีที่ท่านได้สร้างสมมาจากการปฏิบัติธรรม และช่วยสั่งสอนให้คนปฏิบัติธรรม จึงช่วยให้มีชีวิตขึ้นใหม่ คุณแม่มาทราบว่าท่านเป็นมะเร็งประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เพราะหลวงพ่อได้เล่าให้ผู้เป็นมะเร็งคนหนึ่งฟังว่า การนั่งสมาธิสามารถรักษามะเร็งให้หายได้ ตัวอย่างเช่น แม่สุ่ม เป็นต้น ชายคนนั้นจึงมาถามคุณแม่ว่า เป็นมะเร็งหรือ หลวงพ่อบอกว่ารักษาหายแล้วใช่ไหม คุณแม่จึงทราบตอนนั้นเองว่าท่านเป็นมะเร็ง




ผมเคยจะคิดพาคุณแม่ไปเอ็กซเรย์ว่าคุณแม่หายแล้วหรือยัง ปรึกษาหลวงพ่อแล้ว ท่านบอกว่า อย่าไปตรวจเลย เดี๋ยวเห็นโน่นเห็นนี่แล้วทำให้ไม่สบายใจ แม่ใหญ่อายุมากแล้ว อย่าไปทรมานแกเลย แกยอมสละชีวิตเพื่อพระศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะเป็นจะตายก็คงไม่เสียดายชีวิต ซึ่งก็เป็นจริงอย่างที่หลวงพ่อพูด คุณแม่ไม่เคยกลัวตาย ถือเป็นเรื่องธรรมดา ท่านอุทิศชีวิตเพื่องานของหลวงพ่อ งานอันยิ่งใหญ่ที่จะช่วยขจัดอวิชชาของมนุษย์ ให้เข้าใจหลักปฏิบัติธรรมอันถูกต้องและแท้จริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณแม่รู้ดีแล้วว่าเมื่อท่านตายไปแล้วท่านจะไปอยู่ที่ไหน คงจะเป็นเพราะบุญบารมีของคุณแม่ที่ได้สร้างสมมาประกอบกับพลังจิตของหลวงพ่อที่พยายามรักษา และ ยาแผนโบราณที่คุณแม่รับประทานทุกวัน จึงช่วยให้คุณแม่ยังคงมีชีวิตอยู่มาตราบเท่าทุกวันนี้ เป็น แม่ใหญ่ ของผู้ใคร่ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เป็นกำลังสำคัญของหลวงพ่อที่จะช่วยกันสืบทอดพระศาสนาต่อไป






หลวงพ่อจรัญนั้น นอกจากท่านจะส่งเสริมในเรื่องการปฏิบัติธรรม แล้วท่านยังส่งเสริมในส่วนการศึกษาอีกด้วย ท่านมีความประสงค์อยากให้สถานศึกษาต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์จากวัดอัมพวันในการอบรมบ่มนิสัยเยาวชนให้มากที่สุด ในส่วนของโรงเรียนสิงห์บุรีนั้นท่านให้ความสนใจมาก เพราะถือว่าเป็นโรงเรียนใหญ่และท่านเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนสิงห์บุรี ท่านให้ความเมตตาและช่วยเหลือโรงเรียนสิงห์บุรีตลอดมา ท่านมีส่วนช่วยให้โรงเรียนสิงห์บุรีสมัยผู้อำนวยการ ชลิต เจริญศรี ได้รับบริจาคหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด ๒๕๐ KVA จากนายห้างสมเจตน์ เจ้าของบริษัทศิริวัฒน์ ราคา ๑๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๖






สมัยที่ผมมาเป็นผู้อำนวยการของโรงเรียนสิงห์บุรี หลวงพ่อได้ให้ความเมตตาตลอดมา รับเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในงานทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสร้างประปาขึ้นใช้เองในโรงเรียนเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๓ ได้รับเงินบริจาคประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ท่านยังบริจาคเงินติดตั้งตู้น้ำเย็นให้นักเรียนดื่มอีก ๒ ที่ เป็นเงิน ๗๐,๐๐๐ บาท และช่วยเป็น ประธานในงานทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสร้างห้องสมุดของโรงเรียนสิงห์บุรี เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ ได้รับเงินบริจาคประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท หลวงพ่อมีส่วนช่วยสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่โรงเรียนสิงห์บุรีอย่างมาก นับเป็นบุญของนักเรียนโรงเรียนสิงห์บุรีที่มีหลวงพ่อช่วยดูแลให้ความอนุเคราะห์เสมอมา ขออำนาจแห่กุศลผลบุญที่หลวงพ่อได้สร้างสมมา โปรดจงเป็นพลวปัจจัยดลบันดาลให้หลวงพ่อมีพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง หายจากโรคาพยาธิทั้งมวล ได้เป็นที่พึ่งของพวกเราผู้ใฝ่ในธรรมทุกคน




บันทึก

อันที่จริงผมตั้งใจจะเขียนเรื่อง "หลวงพ่อจรัญที่ผมรู้จัก" แต่เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วผมรู้เรื่องของหลวงพ่อจรัญผ่านทางคุณแม่ของผม ผมจึงจำเป็นต้องเขียนเรื่องของท่านทั้งสองควบคู่กันไป บางเรื่องที่เกิดขึ้นนานมาแล้ว ผมอาจจะจดจำผิดเพี้ยนไปจากความจริงบ้าง ก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ เรื่องของคุณแม่นั้นยังมีอีกมากมายซึ่งผมไม่มีโอกาสที่ซักถามพูดคุยด้วย เป็นประสบการณ์ที่ท่านได้รับระหว่างการปฏิบัติ ได้เรียนรู้ด้วยตัวท่านเอง และยังจดจำได้เป็นอย่างดียิ่ง




ประสบการณ์ของคุณแม่สุ่ม

(นับเป็นบุญที่คุณแม่สุ่มกรุณาเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาให้ฟัง จึงถือโอกาสบันทึกต่อท้ายไว้ ณ ที่นี้ด้วย)


สมพร แมลงภู่ - ๕ ก.ค. ๓๕





ถางกิเลส
    สมัยเมื่อมาอยู่วัดอัมพวันใหม่ ๆ หลวงพ่อสั่งให้ลับมีดให้คม เอาไว้ถางกิเลส ฟันให้ดะไปเลย พบกอไผ่ก็ฟันเข้าไป ฉันกลับมานั่งกรรมฐาน ราว ๆ ตี ๓ เห็นเป็นกอไผ่จริง ๆ อยู่ข้างถนนหน้าวัดอัมพวัน สมัยก่อนนั้นมีจริง ๆ ฉันก็ฟันเสียจนทะลุเป็นทางไปเลย พอฟันทะลุแล้ว ก็ผ่านไปได้ ไปพบปลายไม้ไผ่สระอยู่ ก็นึกขึ้นมาได้ว่า อ๋อ นี่หลุดจากโน่นแล้ว ยังจะมีนี่อีกหรือ ยังมีไม้หักขวางอีก จึงเดินเลี่ยงปลายไม้ไป เดินเข้าทางไปเลย เพราะเห็นทางแล้ว เดินตามทางไปเรื่อย ๆ พบบ้านหลังหนึ่งไม่มีคนอยู่ มีเสียงบอกว่า ที่เห็นเป็นเมืองนิพพาน ฉันก็เหลียวดูไปรอบ ๆ มองไม่เห็นขอบฟ้า ป่าไม้ ต้นไม้สักต้นก็ไม่มี มีแต่ทราบเป็นแก้วใสละเอียด อ่อนนิ่มเท้าเวลาเดิน บ้านเป็นไม้เก่าชั้นเดียว






   ฉันนั่งดู ๆ อยู่ เห็นพระเดินมา จึงลงนั่งพนมมือ ใจรู้สึกว่าไม่ใช่พระธรรมดา เป็นพระอรหันต์ ฉันก็ไหว้ท่านจนสุดแถวนับได้ ๑๑ องค์ พอสุดแถวฉันก็เดินต่อท้ายเลยรวมเป็น ๑๒ เดินตามท่านไปทางทิศเหนือ ดูตะวันยังอยู่สูง แต่แดดไม่ร้อนเลย สว่างแต่ไม่ร้อน เดินมาเย็นตลอด ตามท่านไปจนเลี้ยวโค้งกลับ ฉันก็รู้ว่ากำลังนั่งกรรมฐานอยู่ในกุฏิ






ระลึกชาติ

หลวงพ่อท่านบอกว่า ฉันเคยทำกรรมฐานมา ๗ ชาติแล้ว มาชาตินี้ปฏิบัติได้ครบ ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ท่านก็บอกถึงแล้ว ฉันก็เลยนั่งย้อนไปดูจึงได้รู้ว่า




ชาติที่ ๑ (ถอยหลังไป ๖ ชาติ) เกิดเป็นผู้ชาย เคยฝึกพุทโธ ใช้ธูปจุดเวลาปฏิบัติ มองเห็นก้านธูปเต็มสุ่มเลย ได้อธิษฐานในชาตินั้น ขอให้พบอาจารย์ที่สอนในทางวิปัสสนา เพราะที่ทำอยู่ขณะนั้นเป็นสมถะ จึงได้มาพบในชาติที่ ๗ ซึ่งเป็นชาติปัจจุบัน


ชาติที่ ๒ เกิดเป็นเทวดา เป็นผลจากกุศลที่เคยปฏิบัติเมื่อชาติก่อน


ชาติที่ ๓ เกิดเป็นเทวดาชั้นต่ำลงมา เพราะไม่ได้เจริญกุศลเพิ่มขึ้น ได้จุติเป็นเทวดาเฝ้าพระทวารในวังกรุงศรีอยุธยา เจ้าวังนี้มีพระราชธิดาสวยงามมาก เกิดมีจิตปฏิพัทธ์ในพระราชธิดา เลยถูกเทพเบื้องบนสาปให้เกิดเป็นผู้หญิงตลอดไป


ชาติที่ ๔ เกิดเป็นผู้หญิงอยู่ในวังเมืองสุโขทัย ชาตินี้ได้เคยสอนกรรมฐานให้แก่คนจำนวนมาก เวลาเสร็จจากการรบทัพจับศึกก็มานั่งปฏิบัติกรรมฐานกัน ชาติปัจจุบันจึงมีผู้คนมาปฏิบัติกันมาก


ชาติที่ ๕ เกิดเป็นผู้หญิงอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา สิ้นชีวิตเมื่ออายุ ๑๗ ปี


ชาติที่ ๖ เกิดเป็นผู้หญิงอยู่ใกล้วัดพรหมบุรี มีลูก ๔ คน สามีเป็นโรคคันทั้งตัวเน่าเฟะ ฉันบอกให้เขากลับไปอยู่บ้านกับพ่อแม่เถอะ ไม่ต้องห่วงลูกหรอก ฉันจะเลี้ยงเอง เขาก็ร้องไห้กลับไปอยู่กับแม่ ตอนนั้นกำลังสร้างศาลาวัดพรหมบุรี สามีได้ลักเชือกก้านมะพร้าวของวัดมา พอเขาไปอยู่กับแม่แล้ว ฉันก็นำไปคืนวัดหมด ชาตินี้อายุ ๔๐ กว่าก็ตาย


ชาติที่ ๗ (ปัจจุบัน) พ่อแม่แต่งงานกันเดือน ๑๒ เขาไปยกช่อฟ้าที่วัดพรหมบุรี เขาเดินคู่กันมา พ่อก็สวย แม่ก็สวย พ่อนุ่งโจงกระเบนใส่เสื้อป่าน รู้สึกรักเขามาก เหมือนเห็นก่อนตาย เพราะที่บ้านกับวัดพรหมบุรีไม่ไกลกัน พอตายแล้วก็เกิดเลย ตอนเกิด เกิดที่บางงา อ. พรหมบุรี ตอนที่นั่งดูอยู่นั้นเห็นลูกชายคนโตก็ตาย และมาเกิดแล้ว เป็นทหารมาอยู่กับลูกสาวคนโต ลูกสาวก็ให้มาช่วยฉัน และขอให้ฉันบวชให้ ฉันก็เลยดูว่าคนนี้เป็นอย่างไรถึงสนิทสนม เรียกแม่ใหญ่ทุกคำ เขาบอกว่าต้องบวชให้เขานะ เพราะในอดีตนั้นพอมีลูกชาย จิตมีสัญญาจะต้องบวชลูก แต่ยังไม่ทันบวช ฉันก็ตายเสียก่อน ลูกอีก ๒ คนก็เคยพบ เขาเคยมาหาอยู่ทางภาคอีสาน มาช่วยทำงาน ลูกผู้หญิงยังมีชีวิตอยู่ ตอนที่ดูนั้นอายุ ๘๐ กว่าแล้ว ยังอยู่ที่บางงา สามีได้มาเกิดเป็นสุนัขอยู่ที่ตลาดสิงห์บุรี ฉันเห็นเข้าก็นึกรักและสงสาร เพราะเป็นขี้เรื้อนและเป็นแผลทั้งตัว พอพามารักษาก็หาย เวลาฉันเดินจงกรมเขาก็เดินด้วย เวลานั่งก็มานั่งด้วย จึงนั่งดูรู้ว่าเป็นสามีเมื่อชาติที่แล้ว ตามมาให้เราใช้หนี้ที่ให้เขากลับไปอยู่กับแม่ ไม่ได้ดูแลรักษาเขา คนที่พบกันในชาตินี้ส่วนใหญ่ เคยพบกันเมื่อชาติที่ ๔ รู้สึกมีความผูกพันกับสถานที่วัดอัมพวันมาก ทรัพย์สมบัติทีฝังไว้เห็นหมด พระทองคำมีเยอะ ทรัพย์สมบัติเขาเคลื่อนที่ได้ เขามีเจ้าของเฝ้าอยู่ ที่เห็นหลวงพ่อว่าจริงทั้งนั้น หลวงพ่อขอก็ไม่ให้ ถ้าให้ต้องมีตัวตายตัวแทน



เข้าผลสมาบัติ

หลังจากที่ฉันนั่งกรรมฐานที่บ้านตามคำสั่งของหลวงพ่อซับไปซ้อนมา วันนี้นั่ง ๑ ชั่วโมง วันที่สองนั่ง ๒ ชั่วโมง ไปถึง ๑๐ ชั่วโมง แล้วก็ย้อนไป ๑ ชั่วโมงใหม่อีก ทำอย่างนั้นอยู่ ๔ ปี หลวงพ่อได้สั่งให้ไปที่เรือนยายแต้ม อยู่ฝั่งตรงข้ามบ้านฉันที่บางมอญเพื่อทดลองให้นั่งกรรมฐานตามที่หลวงพ่อสั่ง ในวันนั้นหลวงพ่อให้ฉันนั่งคนเดียว กำหนดจิตที่พองยุบ จิตดับที่พองยุบ พอจิตเข้าแล้วตัวแข็งหมด นั่งไปได้ ๑๕ นาที หลวงพ่อให้แม่แพเอามือจับก่อน แล้วจึงให้เอาเข็มแทง ปรากฎว่าแทงไม่เข้า เลือดไม่ออก แข็งทั้งตัว




ตอนนั้นมีคนนั่งดูกันหลายคนเป็นกลุ่ม หมอชลอก็นั่งอยู่ด้วย เขากำลังสูบยาอยู่ เขาสูบเสียแดง ที่เห็นเพราะแสงมาเข้าตา เขาก็เอาบุหรี่นั้นเข้ามาแหย่ไปที่รูจมูก ควันขึ้นเพดาน ก็อัดไว้ไม่ให้ขึ้น ควันก็ออกมาข้างนอก รู้สึกร้อนนิดหน่อย แต่ไม่สำลัก เขานั่งหันหลังให้หลวงพ่อ ท่านจึงไม่เห็นที่หมอชลอเอาบุหรี่แหย่รูจมูกฉัน ฉันก็ไม่ได้บอกให้หลวงพ่อฟัง วันนั้นนั่ง ๒๐ นาที เป็นการทดลองกัน ก่อนหน้านี้ ฉันเคยเข้ามาหลายครั้งแล้ว




ครั้งแรกที่เข้าได้ตอนที่ปวดเต็มที่แล้วเจ็บก็ดับปุ๊บไป รู้สึกตัวเหมือนนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ เย็นสบาย สมัยอยู่วัดพรหมบุรี ครั้งต่อมาดับแบบดิ่งพสุธาเลยไปโผล่ที่เมืองบาดาล เห็นเป็นอุโมงค์และคูหาอยู่ข้างล่าง แลเห็นพระบรมสารีริกธาตุอยู่ใต้พื้นดิน มีไฟสว่างไสวแบบนีออน ติดอยู่รอบ ๔ ทิศ มองโล่งเข้าไป แลเห็นพระธาตุอยู่ทางทิศเหนือ ฉันก็เข้าไปเดินนมัสการ พอกราบเสร็จก็เลิกกรรมฐานพอดี




ต่อมาหลวงพ่อให้มาปฏิบัติที่โบสถ์ ท่านให้ยืนกำหนด ให้ฉันปฏิบัติคนเดียว ให้มีคนยืนสองข้าง ท่านกลัวว่าจะล้ม ปรากฎว่าไม่ล้ม ตอนที่ทดลองนั้น ไม่ได้เดินจงกรม กำหนดยืนหนอ พอตั้งอธิษฐาน ขอให้สมาธิแน่วแน่จิตเข้าผลสมาบัติกี่นาที เขาก็ดับไปตามที่กำหนด กำหนดพองหนอ ยุบหนอ ๓-๔ ครั้ง จิตก็เข้าเลย หลวงพ่อและคนอื่น ๆ ได้แต่ยืนดูเฉยๆ




ต่อจากนั้นหลวงพ่อท่านให้ทำที่บ้าน ๒๐ ชั่วโมง ๒๘ ชั่วโมง แล้วก็ออกมา อยู่วัดอย่างมาก ๓๐ ชั่วโมง เวลานั่งกรรมฐานที่บ้าน ไม่มีใครกล้าเข้าไปดู ฉันจะอธิษฐานที่บ้านคราวละ ๓๐ ชั่วโมง พอครบกำหนดแล้ว จิตจะคลายออกเอง ก่อนเข้าจะบอกลูกหลานไว้ก่อน


ขณะที่จิตเข้าอยู่ ๓๐ ชั่วโมง ตอนนั้นไม่เห็นอะไร แต่มีสติอยู่กับตัวตลอด ไม่รับอารมณ์อะไรเลย มันซึ้งอยู่ในตัวเรา แรก ๆ จะไม่ได้ยินเสียง แต่ตอนหลังได้ยิน พออายุ ๔๕ ปี หลวงพ่อให้มานั่งที่วัด ศาลาหลังเก่า ๓๐ ชั่วโมง ตั้งแต่ ๖ โมงเย็นถึง ๖ ทุ่มของวันรุ่งขึ้น เห็นเจ้าของวัดเป็นพระมาบอกว่า พอแล้ว ให้เลิกได้ แต่ฉันบอกว่ายังไม่ถึง ท่านก็ให้เห็นนาฬิกาบอกเวลา ๖ ทุ่ม แต่ฉันไม่เลิก พอครบกำหนดจิตจะออกเอง กายกับจิตเขาจะรู้เวลาของเขาเอง จะค่อย ๆ คลายออก แสดงว่าท่านมาทดลองเรา




ต่อจากนั้นฉันก็ปฏิบัติมาจนแก่จนมาอยู่ที่กุฏิปัจจุบันนี้ ก็คิดว่าจะยังนั่งได้หรือเปล่า จึงได้นั่งดู ไม่ได้ อธิษฐานจิตว่า จะกำหนดเวลาเท่าไร จิตคลายออกเมื่อไรก็สุดแล้วแต่ ปรากฎว่าฉันนั่งไป ๓๖ ชั่วโมง ไม่มีปีติอะไร มาช่วยหลังอายุ ๗๕ ก็นั่งอีก ปรากฎว่านั่งไป ๔๘ ชั่วโมง ปีนี้อายุ ๗๘ แล้วนั่งไป ๔๐ ชั่วโมง นั่งโดยไม่ได้อธิษฐานจิต ให้เขาออกของเขาเอง




เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ตอนนั้นอายุ ๗๕ ปี ขณะที่เข้าผลสมาบัติอยู่นั้น เห็นพระจุฬามณี มีดอกไม้ธูปเทียนเต็มไปหมด มีคนเฝ้าอยู่คนหนึ่งคอยเข็นรถนำไปทิ้ง เป็นเครื่องดอกไม้ธูปเทียนที่เขาใส่มือคนก่อนที่จะตาย เมื่อตายแล้วก็ไปไหว้ที่พระจุฬามณี ปีนี้ พ.ศ. ๒๕๓๕ เห็นพระจุฬามณีอีก ดูโน่นดูนี่ดูจนทั่ว ไม่มีผู้คน ไม่มีเครื่องดอกไม้ธูปเทียนเหมือนเมื่อก่อน ใจนึกว่าเมื่อก่อนทำไมมีดอกไม้ธูปเทียนมากมาย เดี๋ยวนี้ไม่มี ก็มีเสียงตอบมาว่า เดี๋ยวนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว เครื่องบินตกตายก็มี ตายในโรงพยาบาลก็มี ถูกรถชนตายกลางถนนหนทาง ตายเรี่ยราดไปหมดแล้ว ไม่มีเตรียมของใส่มือหรอก ที่นั่นถึงไม่มีของดอกไม้ธูปเทียน





เมื่อหันหน้าไปทางทิศเหนือ แลเห็นพระบรมสารีริกธาตุและเห็นมาลัยดอกพุดที่เคยร้อยถวายหลวงพ่อบูชาพระธาตุที่กุฏิท่าน คล้องอยู่ที่เจดีย์ เมื่อตอนนั่งได้ ๔๘ ชั่วโมงก็เห็นดอกไม้ในห้องเต็มไปหมด กำหนดอย่างไรก็ไม่หาย พอออกจากกรรมฐานแล้วก็ไปกราบหลวงพ่อ หลวงพ่อไม่ได้ลงมาพบก็เลยกลับ ไม่ได้เล่าให้หลวงพ่อฟัง กลับมาที่ห้องก็สว่างโล่งไปหมดทั้งห้อง เห็นเป็นตัวหนังสือข้างฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน ตัวสวยไม่ใช่หนังสือไทย และไม่ใช่หนังสือขอม เขาบอกว่าเป็นหนังสือเทพ อ่านออกคำว่า "แล้ว" ตัวเดียว การเข้าผลสมาบัติจะมีกำลัง ไม่หิวโหย ไม่ปวดเมื่อย ไม่มีอะไรล้ำปีติก็ไม่ล้ำสมาธิ เสมอเท่ากันหมดเลย มีความสุขไม่ยินดียินร้าย เป็นขั้นอุเบกขา แต่รู้แล้วก็วาง จิตของเรามีจิตเดียว ไม่มีอะไรเข้ามากระทบเลย


ขณะที่เข้าผลสมาบัติ มีความรู้ผุดเป็นขั้น ๆ ผุดแต่ที่ดี แต่ไม่มีปีติ เขาผุดขึ้นมาสอนเรา จิตที่รู้อยู่นั้นไม่ใช่รู้แค่ญาณเดียว มีชั้นหยาบ ละเอียด และละเอียดเข้าไปอีก ชั้นนิพพานละเอียดเข้าไป การเข้าผลสมาบัติอย่างหนึ่ง เข้านิโรธสมาบัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง เสวยอารมณ์นิพพานอีกอย่างหนึ่ง เข้านิโรธสมาบัตินั้นไม่มีตัวตน

..............................................................................

2 เมษายน 2553

เทวดาสอน..บทสวดเมตตาพรหมวิหารภาวนา





(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี)

ความเป็นมาบทสวดเมตตาพรหมวิหารภาวนา หรือเมตตาใหญ่


    บทสวดมนต์มหาเมตตาครอบจักรวาลนี้ มีต้นเรื่องมาจากแม่ชีก้อนทอง คือ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ แม่ชีก้อนทอง ปานเณร มาอยู่ที่วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ในสมัยนั้นไม่มีสำนักแม่ชี อาตมาจึงจัดให้พักบนศาลาการเปรียญ ซึ่งมีห้องพักอาศัยอยู่ ๒ ห้อง
   
    แม่ชีก้อนทองตั้งใจเจริญวิปัสสนากรรมฐานใช้เวลา ๑ ปี มีเทวดาจากต้นพิกุลที่ถูกสาปจากสวรรค์มาสถิตอยู่ที่ต้นพิกุล เป็นเวลา ๑๐๐ ปี มาสอนบทสวดมนต์มหาเมตตาใหญ่ หรือมหาเมตตาครอบจักรวาลในเวลา ๒๔.๐๐ น. ทุกคืน
  
    จนแม่ชีซึ่งอ่านหนังสือไม่ออกจำได้หมด อาตมาได้หาตำรามาตรวจสอบการสวดมนต์ มหาเมตตาใหญ่ว่ามีอยู่ที่ไหนบ้าง จึงทราบว่าบทสวดมนต์นี้อยู่ท้ายบทมหาพุทธาภิเษก ไม่มีในหนังสือสวดมนต์ธรรมดา และปัจจุบันใช้สวดในงานมหาพุทธาภิเษกเท่านั้น

   เวลาต่อมาอาตมาต้องการพิสูจน์ความจริงว่าบทสวดมนต์ที่มีอยู่กับการสวดมนต์ของแม่ชีก้อนทองจะตรงกันอย่างไรบ้าง ได้ทราบว่ามีตำราพุทธาภิเษกของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสส เทโว) วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร จึงไปขอยืมตำรา ให้แม่ชีก้อนทองสวดมนต์เมตตาใหญ่ตั้งแต่ต้นจนจบไม่มีผิดแม้แต่ตัวเดียว อาตมาจึงเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์


อานิสงส์ของการสวดมนต์เมตตาใหญ่ การสวดมนต์นี้มีอานิสงส์มาก ผู้ใดสวดทุกคืนก่อนนอนแล้วจะเกิดมงคลกับทุกคนในบ้านนั้น ศัตรูจะแพ้ภัย จะมีแต่เมตตาธรรมทำให้คนร้ายกลายเป็นคนดีได้ บุตรธิดามีแต่เมตตากันจิตใจย่อมเป็นกุศลตลอดกาล อยู่เย็น เป็นสุขตลอดกาลไม่มีอบายภูมิ แน่นอน คิดอะไรสมความปรารถนาทุกประการ





นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ฯ ( ๓ จบ )


เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฎฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฎิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะฯ






(๑) สุขัง สุปะติ
(๒) สุขัง ปฎิพุชฌะติ
(๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ
(๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ
(๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ
(๖) เทวะตา รักขันติ
(๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วากะมะติ
(๘) ตุวะฎัง จิตตัง สะมาธิยะติ
(๙) มุขะ วัณโณ วิปปะสีทะติ
(๑๐) อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ
(๑๑) อุตตะริง อัปปะฎิวิชฌันโต พรหมะโลกูปะโค โหติฯ


เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฎิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิ สังสา ปาฎิกังขาฯ


อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ


กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตีหา กาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ


ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโต วิมุตติฯ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ ทะสะหา กาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ


กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ


(๑) สัพเพ สัตตา (สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง) อะเวรา (อย่ามีเวรแก่กันและกันเลย) อัพยาปัชฌา (อย่าผูกพยาบาทอาฆาตกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่าข่มเหงรังแกกัน) อะนีฆา (อย่ามีความทุกข์กายทุกข์ใจ) สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ (จงรักษาตนให้เป็นสุขเป็นสุขเถิด)


(๒) สัพเพ ปาณา (สัตว์มีลมปราณทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ ภูตา (ภูตผีทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ปุคคะลา (บุคคลทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา (สัตว์ในร่างกายเราทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ






อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ


(๑) สัพพา อิตถิโย (สัตว์เพศหญิงทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๒) สัพเพ ปุริสา (สัตว์เพศชายทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อะริยา (สัตว์เจริญทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ อะนะริยา (สัตว์ไม่เจริญทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


(๕) สัพเพ เทวา (เทวดาทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๖) สัพเพ มะนุสสา (สัตว์มีใจสูงทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


(๗) สัพเพ วินิปาติกา (สัตว์นรกทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ




อิเมหิ สัตตะหา กาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศตะวันออก) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศตะวันตก) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศเหนือ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศใต้) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันออกเฉียงใต้) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันตกเฉียงใต้) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศเบื้องต่ำ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศเบื้องบน) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ







(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ







(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ







(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ







(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ







(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ






(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ






(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ




(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ







(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ





(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ



(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ




อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ อุปะฆาตังวัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา


อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะ หากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโต สัพพะพยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ


เมตตา พรหมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.
 
 
..............................................................




บทความที่ได้รับความนิยม